หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์
02/03/15
หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์- ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาดั้งเดิมของชนเผ่าอริยกะหรืออารยัน ในสมัยพุทธกาลเป็นศาสนาพราหมณ์แต่ในปัจจุบันเป็นศาสนาฮินดู ในศาสนาพราหมณ์คำว่า ธรรม แปลได้หลายอย่าง คือแปลว่าหน้าที่ก็ได้ แปลว่าสิ่งที่ควรทำก็ได้ นอกจากนี้ยังแปลได้ว่า ความเจริญ ความรู้ของจริงการรู้ความถูกต้อง และรู้ตรรกศาสตร์หลักธรรมสำคัญในศาสนามีดังนี้
พระธรรมศาสตร์ มีอยู่ ๑๐ ประการ
๑.ธฤติ คือ ความพอใจ คล้ายกับคำว่าสันโดษ มีความพยายามอยู่ด้วยความมั่นคงเสมอ ความรู้สึกยินดี และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่โดยปราศจากความโลภ
๒.กษมา ความอดกั้นหรือความอดทน มีความพากเพียร พยายาม อดทน โดยถือเอาเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง
๓.ทมะ คือการระงับจิตใจ รู้จักข่มใจของตนด้วยความสำนึกในเมตตา และมีสติอยู่เสมอไม่ปล่อยให้หวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ง่ายๆ
๔.อัสเตยะ คือ ไม่ลัก ไม่ขโมย
๕.เศาจะ คือความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ
๖.อินทริยนิครหะ คือการปราบปรามอินทรีทั้ง ๑๐ ได้แก่ ประสาทความรู้สึกทางความรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง กับประสาทความรู้สึกทางการกระทำ ได้แก่ มือ เท้า ทวารหนัก ทวารเบา และลำคอ
๗. ธี เหมือนกับธิติ ธีร หรือพุทธิ ได้แก่ปัญญา สติ ความคิด ความมั่นคง
๘.วิทยา คือ ความรู้ทางปรัชญาศาสตร์ คือรู้ลึกซึ้ง และมีความรู้เกี่ยวข้องกับชีวะ กับมายาและกับพรหม
๙. สตยะ คือ ความจริง ความเห็นอันสุจริต ความซื่อสัตย์ต่อกัน จนเป็นที่ไว้ วางใจกัน เชื่อใจกันได้
๑๐.อโกรธะ คือ ความไม่โกรธ มีความอดทน สงบเสงี่ยม รู้จักทำจิตใจให้สงบ
พระตรีมูรติ เทพเจ้าฝ่ายชายที่สูงที่สุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ตรีศักติ เทพเจ้าฝ่ายหญิงในศาสนาพราหมณ์ฮินดู