ประวัติความเป็นมาของศาลพระภูมิ
เท่าที่เคยได้ยินมา เรื่องที่มาของพระภูมินี้มีมาทั้งในฝ่ายพุทธและฝ่ายฮินดู เนื้อหาโดยรวมละม้ายคล้ายกันมีจุดต่างๆกันบ้างนิดหน่อย แต่ก็อาจจะถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันได้ ดังจะเล่าต่อไปนี้ ในฝ่ายฮินดูนั้นว่ากันมาว่า ในครั้งโบรานกาลนานมานั้น มีเมืองใหญ่เมืองหนึ่งชื่อว่า กรุงพาลี มีพระราชาผู้ปกครองพระนามว่า ท้าวทศราช มีพระมเหสีชื่อว่าสันทรทุกเทวี มีพระโอรส 9 พระองค์คือ พระชัยมงคล พระนครราช พระเทเพล พระชัยสพ พระคนธรรพน์ พระธรรมโหรา พระเทวเถร พระธรรมมิกราช และพระทาษธาราเห็นพระนามพระโอรสของท่านท้าวทศราชแล้ว คงรู้สึกคุ้นๆและเคยได้ยินมาบ้างนะครับ ทั้งท้าวทศราชและราชโอรสของพระองค์มีอิทธิฤทธิ์และเก่งกล้าสามารถกันมากและว่ากันว่าท้าวทศราชได้เป็นผู้ปกครองเหล่ามวลมนุษย์ทั้งหลาย แต่ด้วยความที่หลงในอำนาจอิทธิฤทธิ์ของตนที่ไม่อาจมีมนุนษย์ผู้ใดเปรียบได้ จึงกดขี่ข่มเหงอาณาประชาราษฏร์ พากันเดือดร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง นานวันเข้าความนั้นก็ไปถึงพระอินทร์ องค์อินทร์ท่านจึงมีพระบัญชาให้พระวิษณุหรือพระนารายณืลงมาปราบท้าวทศราช ข้างพระนารายณ์เมื่อองค์มหาเทพมีรับสั่งนั้น พระองค์จึงอวตาลลงมาเป็นพราห์มน้อย แล้วไปเข้าเฝ้าท้าวทศราช ครั้งท้าวทศราชเห็นพราหมณ์น้อยก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ถามพราหมณ์น้อยว่า พราหมณ์น้อยประสงค์สิ่งใดเป็นเครื่องบูชาศัการะ พราหมณ์จึงตอบว่า ขอเพียงที่สามก้าวเดินก็พอแล้ว แต่หากท่านท้าวทศราชจะถวายก็ขอให้หยาดน้ำอุทกธาราประกาศเป็นคำสัตย์ให้สามโลกรับรู้ ท้าวทศราชเห็นเป็นที่อันเพียงน้อยนิดจึงตอบรับคำ หยิบขวดน้ำจะหยาดน้ำอุทกธาราสู่พระธรณี เวลานั้นเองพระศุกร์ซึ่งเป็นคุรุของท้าวทศราชรู้แจ้งว่าเป็นอุปของพระนารายณ์จึงเรียบแปลงร่างมีอุดรูปากขวดน้ำอุทกธารานั้น ข้างพราหมณ์น้อยเห็นเช่นนั้นจึงเด็ดเอาหญ้าคาแยงเข้าไปในปากรูของขวด ปลายหญ้าแทงลูกนัยตาของพระศุกร์เจ็บปวดแสนสาหัสจนทนไม่ได้ พระศุกร์เลยต้องหลบหนีไป บัดดลนั้นน้ำอุทกธาราจึงไหลออกจากปากขวดหยาดลงกระทบพระธรณี คำสัตย์ของท้าวทศราชแจ้งไปทั่วทั้งสามโลก พราหมณ์น้อยก็คืนร่างกลับเป็นมหาเทพ ก้าวเพียงสามก้าวก็กินเอาอนาบริเวณกรุงพาลีสิ้น ท้าวทศราชเห็นดังนั้นก็ตกใจก้มกราบขอขมาพระนารายณ์ แต่เพราะเหตุแห่งผิดบาปของท้าวทศราช พระนารายณ์จึงไล่ท้าวทศราช พระมเหสี และ บรรดาพระโอรสของพระองค์ให้ออกจากกรุงพาลีอยู่มา เมื่อท้าวทศราชและครอบครัวของพระองค์ออกจากกรุงพาลีไปพำนักอยู่นอกเขตหิมพานต์ ก็ได้รับความทุกข์ยากลำบากมาก พระองค์ได้สำนึกในความผิดบาปที่ทำ ใคร่ครวญจนเกิดสัจจะแล้วจึงเดินทางไปหาพระรายณ์เพื่อขอให้พระรายณ์อภัยโทษให้ พระนารายณ์เห็นในสัจจะที่ท้าวทศราชสำนึกได้นั้น จึงอภัยโทษให้และให้หวนคืนสู่กรุงพาลีได้ แต่..ให้อาศัยอยู่ได้บนศาลที่มีเสาเพียงเสาเดียวเท่านั้นและให้มีหน้าที่คอยดูแลรักษาบนพื้นที่ที่เจ้าของกำหนด โอรสแต่ละพระองค์ของท้าวทศราช จะต้องมีหน้าที่คอยปกครองดูแลสถานที่ต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้
1.พระชัยมงคล ทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือเทพารักษ์โดยทรงสวมชฎาทรงสูง สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ
และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่างๆ
2.พระนครราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ซ้ายถือช่อดอกไม้ ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่างๆ
3.พระเทเพล หรือ พระเทเพน ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือหนังสือหรือคัมภีร์ ปกครองดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่างๆ
4.พระชัยศพน์ หรือพระชัยสพ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ขวาถือหอก พระหัตถ์ซ้ายวางแนบอยู่บริเวณพระสะเอว ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่างๆ
5.พระคนธรรพน์ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือผะอบ ปกครองดูแลพิธีวิวาห์, เรือนหอและสถานบันเทิงต่างๆ
6.พระธรรมโหรา หรือ พระเยาวแผ้ว ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายแพนหางนกยูง ปกครองดูแลโรงนา,ป่าเขา,ลำเนาไพรและเรือกสวนต่างๆ
7.พระเทวเถร หรือ พระวัยทัต หรือ พระเทวเถรวัยทัต ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ขวาถือธารพระกร ( ไม้เท้า ) ปกครองดูแลปูชนียสถาน,เจดีย์และวัดวาอารามต่างๆ
8.พระธรรมมิกราช หรือ พระธรรมมิคราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือพวงมาลา ปกครองดูแลกิจต่างๆ อันเกี่ยวกับพืชพันธุธัญญาหารทั้งปวงและพระราชอุทยาน
9. พระทาษธารา ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ไม่ได้ถืออะไร ปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง,คลองและลำธารต่างๆตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า
นี่เป็นเรื่องราวในฝ่ายฮินดู ในทางพุทธนั้นเนื้อเป็นเช่นเดียวกัน ต่างกันเพียงเปลี่ยนจากพระนารายณ์นั้นเป็นพระโพธิสัตต์
เอวัง..เรื่องราวของพระภูมิก็มีดังกล่าวมานี้แล
ศาลพระภูมิ
เป็นตัวแทนของพระชัยมงคล เป็นสิ่งที่คู่กับศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ถึง ความเหมือนและความแตกต่างอย่างหนึ่งของศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ กับศาลอื่นๆ ในสมัยโบราณเจว็ดจะทำมาจากไม้ หรือดินปั้นคล้ายแผ่นเสมา แต่ในปัจจุบันทำมาจากแผ่นทองเหลือง หล่อเป็นรูปลอยองค์ รูปทรงถอดแบบให้คล้ายคลึงกับเทวดา ในมือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือสมุด ซี่งการถือสมุด ในคติความเชื่อแบบเก่าเชื่อกันว่า สมุดเป็นตัวแทนแห่งสติปัญญา และยังหมายความถึงความรอบรู้ช่องทางการประกอบสัมมาอาชีพ ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต แต่พระชัยมงคลบางแห่ง มือซ้ายจะถือ ถุงเงิน ถุงทอง หมายถึงความร่ำรวย ดังนั้นในสมัยนี้ เราไม่ค่อยได้เห็นพระเจว็ดถือสมุดกันเท่าไรนัก ส่วนมากจะถือ ถุงเงินถุงทอง มากกว่า คำว่า เจว็ด ถ้าเราจะแปลความหมายกันตรง ๆ ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบัน กล่าวว่า เป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ หรือผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นใหญ่ แต่ไร้อำนาจ ส่วนความหมายตามที่ชาวบ้านเข้าใจ เจว็ดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และประดิษฐานอยู่ในศาลพระภูมิเท่านั้น
ในตำราหนังสือโบราณหลายเล่ม ยืนยันว่า รูปปั้นเจว็ดที่ยังไม่ผ่านพิธีกรรมจะเป็นแค่แผ่นไม้ หรือดินธรรมดา เท่านั้น ไม่มีปฏิหาริย์แต่อย่างใด และจะกลายเป็นพระภูมิหรือเทวดาที่เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการประกอบพิธีกรรมแล้วเท่านั้น
ดังนั้นเจว็ดก็เปรียบเหมือนรูปเคารพเทวดา ซี่งในอดีดจะบรรจงแกะปั้นประดิษฐ์ประดอยกันอย่างสวยงาม แฝงเร้นด้วยความศักดิ์สิทธิ์ แต่พอถึงปัจจุบันบอกได้เลยครับ ว่าคลายความขลังลงไปมาก
*** ข้อมูลจาก หมอดูกรุงสยาม
เจว็ด
เจว็ด
เบี้ยแก้ ก็คือ หอยประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในอ่าวไทยบ้านเรานี่เองครับ ครูบาอาจารย์ท่านใช้เป็นเครื่องแก้อาถรรพณ์ ในสมัยโบราญนานมาท่านใช้ทำของขลังสำหรับการแก้ของหรือแก้อาถรรพณ์ต่างๆ ท่านจึงเรียกว่า เบี้ยแก้ ใช้พกติดตัวป้องกันของไสย ป้องกันผีปีศาจ แต่เบี้ยแก้ที่เราใช้ในการตั้งศาลจะเป็นเบี้ยที่ยังไม่ได้เสก ผูดง่ายๆก็คือเป็นเบี้ยเปล่าไม่ได้อุดปรอทนั่นเอง
สำหรับเบี้ยแก้เสกหรือเบี้ยอุดปรอทนั้น โดยสรุปย่อๆโบราญท่านว่าให้ทำดังนี้ เลือกเบี้ยที่ครบอาการ 32 แล้วไปตามจับปรอทเป็น ท่านว่าปรอทเป็นมีลักษณะเป็นของเหลวสีเหมือนตะกั่วกลิ้งไปกลิ้งมาได้ ชอบกินของเน่าเสีย หากินอยู่ตามน้ำคลำ เมื่อเจอปรอทเป็นแล้วให้เอาไข่เน่ามาลงยันต์ แล้วเจาะเปลือกไข่ให้เป็นรูเล็ก แล้วเอาไปล่อปรอท พอปรอทเข้าไปกินไข่เน่า ก็จะออกมาไม่ได้ เมื่อได้ปรอทมาก็เอาไปใส่ในเบี้ย แล้วเอาชันโลงใต้ดิน อุดปากเบี้ยให้มิด เอาเชือกมาทักทบ ลงลักจีนทับอีกรอบ แล้วเอาไปเข้าพิธีปลุกเสก เป็นเสร็จพิธี
เบี้ยแก้
เบี้ยแก้
เบี้ยจั่น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น จะใช้เบี้ยจั่น แลกสินค้าแทนเงิน จนมาถึง พ.ศ.๒๓๑๐ ที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตกครั้งที่สอง จึงเลิกใช้เบี้ยที่เป็นหอยจริงๆ หันมาใช้เบี้ยที่ทำ จากทองเหลือง ตะกั่ว หรือ เงินแทน เป็นการเริ่มต้น ของการใช้เงินแลกสินค้า แทนเปลือกหอย แต่คำว่า เบี้ย ก็ยังมีใช้มาจนถึงปัจจุบัน เช่น คำว่า เบี้ยเลี้ยง เบี้ยกันดาร เป็นต้น ยังมีประวัติที่มาของเบี้ย จากประเทศอินเดียว่า เบี้ยจั่น นั้นมีทั้ง ตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้เกิดที่อินเดีย ส่วนตัวเมียเกิดที่ปากีสถาน ทั้งสองประเทศนี้ในอดีตเป็นประเทศเดียวกัน ในอดีตประเทศอังกฤษ ได้เข้ายึดครองประเทศอินเดีย อยู่เป็นเวลานาน ท่านคานธีได้เรียกร้องขอ เอกราชคืน จากประเทศอังกฤษ ในแบบที่เรียกว่า สัตยาเคราะห์ ( คือไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่ใช้กำลัง ) อังกฤษยินยอมคืนเอกราชให้ ใน วันที่ ๑๕ ส.ค. ๑๙๔๗ โดยสมบูรณ์แต่ก็ได้ แบ่งแยกอินเดีย ออกเป็นสองประเทศ คือ อินเดีย กับปากีสถาน ซึ่งในพื้นที่ ที่มีคนส่วนใหญ่เป็น ฮินดู ก็ให้ปกครองอินเดียไป ส่วนปากีสถานนั้น ปกครองโดยมุสลิม เป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ ทางอินเดียจะไม่ยอมให้ปากีสถานปกครองตนเอง เพราะว่า เคยเป็นของอินเดียมาก่อน แต่ชาวมุสลิมซึ่งเป็น คนส่วนใหญ่ในปากีสถาน ก็ไม่ยอมที่จะตก อยู่ใต้การปกครองของอินเดีย จึงทำให้ทั้งสองประเทศนี้ เกิดสู้รบกัน จนมาถึงทุกวันนี้ ครูบาอาจารย์ท่านเลย ถือเอาเคล็ดว่า ถ้าใครได้นำเอา เบี้ยจั่นตัวผู้ กับ เบี้ยจั่นตัวเมีย มารวมไว้ไนที่เดียวกันได้ ในที่นั้นจะไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันเลย จะมีแต่ความรักใคร่ปรองดองกันตลอดไป รวมถึงมีโชคลาภ เงินทอง ไหลมาเทมา กองอยู่ในที่นั้น เจ้าของสถานที่นั้น จะไม่มีคำว่า ตกอับ จะมีแต่ความสมบูรณ์ พูนผล ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป ครูบาอาจารย์ท่านจึงกำหนดว่า ในวัตถุมงคลที่จะใส่ไว้ใต้ศาล ต้องมีเบี้ยจั่นทั้งตัวผู้และตัวเมีย รวมอยู่ในวัตถุมงคลอีกหลายชนิด ที่จะใส่ไว้ใต้ศาลด้วย ห้ามขาดอย่างเด็ดขาด
*** ข้อมูลจาก หมอดูกรุงสยาม
ใบสีมา, ใบเสมา น. แผ่นหินที่ทําเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์, ใบพัทธสีมา ก็ว่า.
เสมา ๑ [เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพง เมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อย คอมีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา).
เสมา ๒ [เส-มา] น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Opuntia วงศ์ Cacta- ceae ลําต้นแบนอวบนํ้า มีหนามแข็งเป็นกระจุกทั่วไปคือ ชนิด O.elatior Miller และชนิด O. vulgaris Miller.
เสมา ๓ [สะเหฺมา] น. หญ้า. (ข. เสฺมา).
กรรภิรมย์ [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
ใบพัทธสีมา [-พัดทะ-] น. แผ่นหินที่ทําเป็นเครื่องหมายบอกเขต โบสถ์, ใบสีมา หรือ ใบเสมา ก็ว่า.
ใบสอ น. ใบเสมาบนกําแพงเมือง.
สีมา น. เขต, แดน; เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์ มักทําด้วยแผ่น หินหรือหลักหินเป็นต้น เรียกว่า ใบพัทธสีมา, ใบสีมา หรือ ใบเสมา ก็ว่า. (ป., ส.).
เสนาธิปัต น. ฉัตรผ้าขาวองค์ ๑ ใน ๓ องค์ ซึ่งเป็นชุดที่เรียกว่าพระกรรภิรมย์, เสมาธิปัต ก็ว่า.
เจว็ด [จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
ช่องตีนกา น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาท ใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
“ใบเสมา เครื่องหมายกำหนดเขตสีมาในพุทธสถาน”.
พระอุโบสถ อุโบสถ หรือโบสถ์ คือ อาคารหรือสถานที่เฉพาะสำหรับพระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ “สังฆกรรม” (กิจที่สงฆ์พึงทำ) หมายถึง กิจกรรมทางพระวินัยที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปทำร่วมกัน เช่น การบวช การกระทำอุโบสถ สวดปาฏิโมกข์ ปวารณา และให้ผ้ากฐิน เป็นต้น
การทำสังฆกรรมต้องทำภายในเขตสีมาซึ่งเป็นเขตที่กำหนดขึ้นมา ถ้าหากมีภิกษุล่วงเข้ามาภายในเขตสีมาขณะมีการทำสังฆกรรม ภิกษุรูปนั้นจะต้องเข้าร่วมสังฆกรรม แต่ถ้าภิกษุนั้นไม่ปรารถนาหรือไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมทำสังฆกรรมแต่ได้ก้าวล่วงเขตสีมาแล้วจะทำให้สังฆกรรมในครั้งนั้นเป็นโมฆะทันที ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการกำหนดเขตที่ชัดเจนเป็นสัญลักษณ์ระวังไม่ให้ก้าวล่วงเข้าไปในเขต คัมภีร์อรรถกถาได้กล่าวถึงสิ่งหรือวัตถุซึ่งควรใช้เป็นตัวแสดงเขต ๘ ชนิด คือ ภูเขา, ศิลา, ป่าไม้, ต้นไม้, จอมปลวก, หนทาง, แม่น้ำ, และน้ำ วัตถุซึ่งเป็นที่นิยมและพบได้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ ศิลา(หิน) โดยจะพบใบเสมาทำจากหินอยู่รอบอุโบสถในวัดต่างๆ
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ได้เก็บรักษาใบเสมาหินทราย พบที่วัดประเดิม ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร เป็นใบเสมาที่มีรูปแบบศิลปะในสมัยอยุธยา(พุทธศตวรรษที่ ๒๓) จากการค้นพบใบเสมาแสดงว่าในสมัยอยุธยาภายในวัดประเดิมมีสถาปัตยกรรม คือ อุโบสถ และอาจจะมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ด้วย แต่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นอาจจะพังหรือถูกรื้อถอนไปแล้ว และได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคีอื่นๆ ในวัดประเดิมและบริเวณใกล้เคียง เช่น เศียรพระพุทธรูป, ชิ้นส่วนพระหัตถ์ของพระพุทธรูป, และแนวกำแพงวัด เป็นต้น ชุมชนวัดประเดิมจึงเป็นชุมชนโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย
ไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์นี้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ก่อนทำการก่อสร้างนิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยใช้ไม้มงคล ๙ ชนิด ปักกับพื้นดิน ไม้ทั้ง ๙ ชนิด มีชื่อเป็นมงคลนาม ได้แก่ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้ขนุน ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ทองหลาง ไม้ไผ่สีสุก ไม้ทรงบาดาล ไม้สัก ไม้พะยูง และไม้กันเกรา
๑. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
๒. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
๓. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่างๆ
๙. ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตำเสา ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง
ไม้มงคล
๖. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
๕. ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุขกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย
๔. ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีทรัพย์สินเงิน มีเงินทองใช้ไม่ขัดสน
๗. ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ อำนาจบารมี คนเคารพนับถือและยำเกรง
๘. ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
ขั้นตอนการตั้งศาลพระภูมิ สิ่งที่ต้องคำนึงในการตั้งศาลพระภูมิ คือ สถานที่ตั้ง,ทิศทาง,วันและฤกษ์ตั้ง,ความสูงของศาลพระภูมิและผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
สถานที่สำหรับตั้งศาล มีหลักการพิจารณาดังนี้
1.ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน ไม่ใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน
2.หากไม่มีพื้นที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ ไม่ใช่พระภูมิเจ้าที่
3.จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านสะท้อนลงมาบังหรือทับ
4.ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
5.อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากจนเกินไป
6.อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
7.ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน
8.ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร
9.ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้จะเหมาะสมอย่างยิ่ง
10.ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย
ทิศทาง การหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทิศอีสาน เป็นทิศที่ดีที่สุด
ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นทิศที่ดีอันดับ 2
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเณย์ เป็นทิศที่ดีอันดับ 3
ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ คือ ทิศตะวันตกและทิศใต้
เมื่อหาทิศทางตั้งศาลได้แล้วจะต้องพูนดินให้สูง 1 คืบ เกลี่ยดินด้วยมือและทุบให้แน่น ห้ามใช้เท้าเด็ดขาด และเตรียมน้ำมนต์ไว้พรมบริเวณพื้นดินเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ น้ำมนต์ที่ว่านี้เรียกว่า "น้ำมนต์ธรณีสาร" น้ำมนต์ธรณีสารนี้ ทำได้โดยนำน้ำธรรมดาไปให้พระท่านสวดพระพุทธมนต์ทำเหมือนน้ำมนต์ทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ให้ท่านนำใบต้นธรณีสารมาใส่ลงในน้ำที่จะทำน้ำมนต์ในพิธีตั้งศาล
ความสูงของศาล
ขึ้นอยู่กับ ตัวเจ้าของบ้าน โดยให้ระดับฐานหรือชานชาลาพระภูมิอยู่เหนือระดับปาก (บางตำราว่าอยู่เหนือคิ้วพอดี) ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าบ้าน ก็ควรจะตั้งศาลพระภูมิขึ้นใหม่
การใช้ศาลพระภูมิร่วมกัน กรณีที่เป็นหมู่บ้าน,ชุมชนหรือตึกแถว ให้ยึดเอาความสูงจากเจ้าของผู้สร้างเริ่มแรกหรือหัวหน้าชุมชนนั้นๆ โดยให้เป็นตัวแทนเพื่อมาทำการยกศาลพระภูมิขึ้น บอกกล่าวและสักการะ ขอให้ท่านดูแลปกป้องรักษา ให้โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้อยู่อาศัยทุกคน
การปักเสาตั้งศาล
ต้องเตรียมหลุมให้เสร็จก่อนเริ่มพิธี (ค่อยมีพิธีในวันรุ่งขึ้น) โดยต้องเตรียมของดังนี้ พานครู 1 พาน ใช้สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึงหรือ 99 บาท
รายการของมงคลใส่หลุม (ปัจจุบันที่นิยมใช้)
1.เหรียญเงิน 9 เหรียญ
2.เหรียญทอง (เหรียญสลึงหรือ 50 สตางค์ก็ได้) 9 เหรียญ
3.ใบเงิน 9 ใบ
4.ใบทอง 9 ใบ
5.ใบนาค 9 ใบ
6.ใบรัก 9 ใบ
7.ใบมะยม 9 ใบ
8.ใบนางกวัก 9 ใบ
9.ใบนางคุ้ม 9 ใบ
10.ใบกาหลง 9 ใบ
11.ดอกบานไม่รู้โรย 9 ดอก
12.ดอกพุทธรักษา 9 ดอก
13.ไม้มงคล 9 ชนิด
14.แผ่น เงิน,ทอง,นาค 1 ชุด
15.พลอยนพเก้า 1 ชุด
ส่วนประกอบสำคัญของศาลพระภูมิ
จะเหว็ดศาลพระภูมิ หมายถึง รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิ จะมีลักษณะเป็นรูปพระภูมิอยู่ในแผ่นคล้ายแผ่นเสมา มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือถุงเงินหรือสมุด(หนังสือ) และการปลุกเสกจะเหว็ดให้เป็นองค์พระภูมิมีดังนี้ บรรจุธาตุทั้ง 6 คือ บรรจุพระพุทธคุณ,บรรจุพระธรรมคุณ,บรรจุพระสังฆคุณ ตลอดเทวคุณและวิญญาณธาตุเข้าไปในจะเหว็ด พอจบพิธีจากที่เรียกว่า "จะเหว็ด" เมื่อปลุกเสกแล้วก็จะเรียกว่า "พระภูมิ" บริวารของพระภูมิจะมี
ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
ตุ๊กตาช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
ละครยก 2 โรง
วันและฤกษ์ตั้งศาล
มีความสำคัญมาก ควรเลือกวันที่ดีและมีความเป็นสิริมงคลเพื่อให้ประสิทธิผลในทางมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนั้นสืบต่อไป วันเวลาฤกษ์มงคลในการตั้งศาลพระภูมิต่อไปนี้
ฤกษ์เวลาอันเป็นมงคล
วันอาทิตย์ เวลา 6.09 น. - 8.19 น.
วันจันทร์ เวลา 8.29 น. - 10.39 น.
วันอังคาร เวลา 6.39 น. - 8.09 น.
วันพุธ เวลา 8.39 น. - 10.19 น.
วันพฤหัสบดี เวลา 10.49 น. - 11.39 น.
วันศุกร์ เวลา 6.19 น. - 8.09 น.
วันเสาร์ เวลา 8.49 น. - 10.49 น.
วันต้องห้าม
เดือนอ้าย (ธันวาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือนยี่ (มกราคม) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 3 (กุมภาพันธ์) วันอังคาร
เดือน 4 (มีนาคม) วันจันทร์
เดือน 5 (เมษายน) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 6 (พฤษภาคม) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 7 (มิถุนายน) วันอังคาร
เดือน 8 (กรกฎาคม) วันจันทร์
เดือน 9 (สิงหาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 10 (กันยายน) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 11 (ตุลาคม) วันอังคาร
เดือน 12 (พฤศจิกายน) วันจันทร์
อย่างไรก็ขอทิ้งท้ายไว้สักนิดสำหรับใครที่คิดจะตั้งศาสพระภูมิไว้ในบ้าน หากตั้งศาลพระภูมิอย่างถูกหลักตามนี้แล้ว จะช่วยส่งผลให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในศาลพระภูมิปกป้องรักษาคุ้มภัยคนที่อยู่ในบ้านได้เป็นอย่างดีค่ะ
ข้อมูลจาก www.thaicontractors.com
ตั้งศาลพระภูมิอย่างไรให้ถูกหลักและเป็นมงคล
ชื่อพี่เลี้ยงหรือคนรับใช้พระภูมิ
พระภูมิท่านมีคนรับใช้หรือพี่เลี้ยง 3 คน การถวายเครื่องสังเวย ก็จะต้องออกชื่อพี่เลี้ยงทั้ง 3 นี้
ให้จัดการนำข้าวของ ถวายพระภูมิเป็นการส่วนตัว เช่นเดียวกับการที่เด็กวัด จัดอาหารเข้าไปประเคนพระฉันใดก็ฉันนั้น ชื่อพี่เลี้ยง คนที่ 1 นายจันทร์ คนที่ 2 นายทิศ คนที่3 นายอาจเสนถ้าจำไม่ได้จะเรียกว่า นายหลวง นายขุน นายหมื่น ก็ได้ผลเท่ากัน
เรื่องทิศทางของพระภูมิ
หากเราจะนำสิ่งของไปถวายพระภูมิ เช่น ดอกไม้พวงมาลัย อาหาร และน้ำ ตลอดกระทั่งเข้าไป จุดธูปเทียนบูชา หรือปัดกวาดทำความสะอาดศาลก็ตาม จะต้องเข้าทางทิศที่เป็นเท้า จงอย่าเข้าทางด้านหัวเป็นอันขาด และเรียกหรือออกชื่อให้นายทั้ง 3 ผู้เป็นพี่เลี้ยงหรือคนรับใช้ให้นำสิ่งของเหล่านี้ เข้าไปถวายพระภูมิอีกต่อหนึ่ง ก็จะเป็นสิริมงคลท่านจะอวยพรให้มีความสมบูรณ์พูลผลค้าขายกำไรงาม
วันอาทิตย์ พระภูมินอนเอาศีรษะไปทาง ทิศบูรพา (ตะวันออก) เอาเท้าไปทางทิศประจิม ( ทิศตะวันตก)
วันจันทร์ พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) เอาเท้าไปทางทิศพายัพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันอังคาร พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศ ทักษิณ (ใต้ ) เอาเท้าไปทางทิศอุดร(เหนือ)
วันพุธ พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้ ) เอาเท้าไปทางทิศ อีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันพฤหัสบดี พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศประจิม (ตะวันตก) เอาเท้าไปทางทิศบูรพา (ตะวันออก)
วันศุกร์ พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ ) เอาเท้าไปทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
วันเสาร์ พระภูมินอนเอาศีรษะ ไปทางทิศอุดร (เหนือ) เอาเท้าไปทางทิศทักษิณ (ใต้)
คาถาขอขมาพระภูมิ
** อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง **
พระคาถานี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโอภาสี แห่งวัดกลางสวน บางมด ฝั่งธนบุรี
รวมกับการขอขมาพระภูมิแล้ว จะเป็นการเพิ่มพลังจิตและพลังศรัทธา ทำให้องค์พระภูมิท่านใจอ่อน เกิดมีใจเมตตา อภัยในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราได้ก้าวก่ายหรือพลาดพลั้งกระทำในสิ่งที่ผิดลงไป
โดยจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
เครื่องสักการบูชาพระภูมิ
การสักการบูชาพระภูมินั้น มิได้เหมือนกันตลอดไป ย่อมที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไป ตามแต่เดือนที่ได้กำหนดดังนั้น การบูชา การจัดเครื่องสังเวยและสิ่งของที่จะต้องใช้ ให้ถูกต้องตามเจตนา ก็ยิ่งจะเป็นการเสริมสร้างสิริมงคลให้กับตนเอง และครอบครัวได้มากยิ่งๆ ขึ้นไป ตามแต่เดือนที่หมุนเวียน ดังต่อไปนี้
เดือน 5 และ เดือน 6 เจ้ากรุงพาลี ราชบิดาขององค์พระภูมิ ท่านแปลงเพศเป็นยักษ์
มีความดุร้ายเป็นที่สุด การจัดเครื่องสักการะในเดือนนี้ ต้องมี กุ้งพล่า ปลายำ เนื้อย่าง ( จะเป็นเนื้อหมูหรืออะไรก็ได้ ) แต่ให้เป็นของสด ของคาว ก็จะเป็นที่พอใจของท่าน หากตั้งศาลในเดือนดังกล่าวนี้ ก็ให้สูงเท่าปาก ใช้ผ้าแดงปู มีเหล้ายาสารพัด เทียนขาว 9 เล่ม และเครื่องสังเวยอื่นๆ
เดือน 7 และ เดือน 8 เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นพราหมณ์สวยสดงดงาม งดเนื้อสัตว์และของคาวสารพัด ใช้ผ้าขาวปู เครื่องสังเวยมังสวิรัติ
เดือน 9 และ เดือน 10 เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นราชสีห์ ชอบของสด ของคาว ใช้ผ้าเหลืองปูศาล จะเกิดลาภผลเหลือประมาณ ตามความต้องการทุกอย่าง
เดือน 11 และ เดือน 12 เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นช้าง ต้องมีหญ้าแพรก หญ้าปล้อง อย่างละ7 ใช้ผ้าดำปูศาล จะเกิดลาภผลสวัสดี ห้ามใช้ของคาว
เดือนอ้าย และ เดือนยี่ เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นนาคราช ให้ตั้งศาลสูงแค่สะดือ จะมีเกียรติยศและชื่อเสียงเลื่องลือไกล ของคาวทั้งหลายให้นำมาสักการะ
เดือน3 และ เดือน 4 เจ้ากรุงพาลี กลายเพศเป็นครุฑ ของสดของคาว กุ้งพล่า ปลายำ เป็นสิ่งบันดาลโชคลาภ โทษภัยจะหนีห่าง มีแต่ความสุขสำราญ
ในการจัดเครื่องสักการะนี้ จะต้องทำให้ถูกต้องตามาประสงค์ จึงจะเกิดลาภผล ดลช่วยให้พ้นภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง มีแต่โชคลาภนานาประการ
คาถาบูชาพระภูมิทุกวัน
*** ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญ ชันโต รัตตินเทวะ มะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปังกิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิ คุณูปเปตัง ปะริตตันตัม ภะณามะเห ***
หากตั้งศาลพระภูมิ ไว้ในเขตบ้าน จงใช้คาถานี้บูชาทุกๆ วัน จะเกิดสิริมงคลและบันดาลโชคลาภ ลาภผลนานานัปการ ถ้าหากสวดบูชาให้ครบตามกำลังวันได้ก็ดียิ่งๆ ขึ้นไป คือ
วันอาทิตย์ สวด 6 จบ
วันจันทร์ สวด 15 จบ
วันอังคาร สวด 8 จบ
วันพุธ สวด 17 จบ
วันพฤหัสบดี สวด 19 จบ
วันศุกร์ สวด 21 จบ
วันเสาร์ สวด 10 จบ
หากมีเวลาน้อยก็สวดวันละ 1 จบ หรือครั้งละ 1 จบก็ได้ โดยสม่ำเสมอกันทุกๆ วัน อย่าให้ขาด พร้อมทั้งดอกไม้ หรือพวงมาลัยสด ธูปเทียน จุดบูชาเป็นประจำ ก็จะบังเกิดผลดีตลอดไป
ส่วนประกอบสำคัญของศาลพระภูมิ
จะเหว็ดศาลพระภูมิ จะเป็นรูปพระภูมิอยู่ในแผ่นคล้ายแผ่นเสมา มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือถุงเงินหรือสมุด(หนังสือ) และการปลุกเสกจะเหว็ดให้เป็นองค์พระภูมิมีดังนี้ บรรจุธาตุทั้ง 6 คือ บรรจุพระพุทธคุณ,บรรจุพระธรรมคุณ,บรรจุพระสังฆคุณ ตลอดเทวคุณและวิญญาณธาตุเข้าไปในจะเหว็ดจากที่เรียกว่า จะเหว็ดเมื่อปลุกเสกแล้วก็จะเรียกว่า "พระภูมิ" บริวารของพระภูมิจะมี
ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
ตุ๊กตาช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
ละครยก 2 โรง
เครื่องประดับตกแต่ง จะประกอบด้วย
1 แจกัน 1 คู่
2 เชิงเทียน 1 คู่
3 กระถางธูป 1 ใบ
4 ผ้าผูกจะเหว็ด 1 ผืน
5 ผ้าพันศาล (ผ้าแพร 3 สี คือ สีเขียว,สีเหลืองและสีแดง) 1 ชุด
6 ฉัตรเงิน-ทอง 2 คู่
7 ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน
8 ผ้าขาว 1 ผืน
9 ทองคำเปลว -
10 แป้งเจิม 1 ถ้วย
11 ดอกบัว 9 ดอก
12 ดอกไม้ ี(มาลัย 7 สี ) 7 พวง
จะเหว็ด