ชุมนุมเทวาดา
02/02/15
ชุมนุมเทวาดา

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,

(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี ชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่ง
สถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน บนต้นไม้
และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบก
และที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย
จงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ที่เรากล่าวอยู่นี้,)

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

(ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้
เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ฯ)


บทนะมะการะสิทธิคาถา
02/02/15
บทนะมะการะสิทธิคาถา

          บทนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต
เป็นบทนมัสการเก่า ที่พระสงฆ์ ใช้เจริญ
พระพุทธมนต์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
สัมพุทเธ
     สัมพุทเธ  อัฏฐะวีสัญจะ  ทะวาทะสัญจะ
สะหัสสะเก  ปัญจะสะตะสะหัสสานิ  นะมามิ
สิระสา  อะหัง  เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ
อาทะเรนะ  นะมามิหัง  นะมะการานุภาเวนะ
หันตะวา  สัพเพ  อุปัททะเว  อะเนกา
อันตะรายาปิ  วินัสสันตุ  อะเสสะโตฯ
     สัมพุธเธ  ปัญจะปัญญาสัญจะ
จะตุวีสะติสะหัสสะเก  ทะสะสะตะสะหัสสานิ
นะมามิ  สิระสา  อะหัง  เตสัง  ธัมมัญจะ
สังฆัญจะ  อาทะเรนะ  นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ  หันตะวา  สัพเพ
อุปัททะเว อะเนกา  อันตะรายาปิ  วินัสสันตุ
อะเสสะโตฯ
     สัมพุธเธ  นะวุตตะระสะเต
อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก  วีสะตะสะหัสสานิ
นะมามิ  สิระสา  อะหัง เตสัง  ธัมมัญจะ
สังฆัญจะ  อาทะเรนะ  นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ  หันตะวา  สัพเพ
อุปัททะเว อะเนกา  อันตะรายาปิ
วินัสสันตุ  อะเสสะโตฯ

คำแปล
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า
๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า
ขอนอบน้อม พระธรรมด้วย  พระสงฆ์
ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
ด้วยความเคารพ  ด้วยอานุภาพ
แห่งการกระทำความนอบน้อมจงขจัดเสีย
ซึ่งสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง
แม้อันตรายทั้งหลาย เป็นอเนกจงพินาศไปสิ้น
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า
๑,๐๒๔,๐๕๕  พระองค์ด้วยเศียรเกล้า
ขอนอบน้อม พระธรรมด้วย  พระสงฆ์
ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม
จงขจัดเสีย ซึ่งสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง
แม้อันตรายทั้งหลาย
เป็นอเนกจงพินาศไปสิ้น
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า
๒,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า
ขอนอบน้อม พระธรรมด้วย  พระสงฆ์
ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ด้วยความเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม
จงขจัดเสียซึ่งสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง
แม้อันตรายทั้งหลาย
เป็นอเนกจงพินาศไปสิ้น เทอญฯ

นะมะการะสิทธิคาถา
(แบบใหม่)
คาถานมัสการพระรัตนตรัยให้สำเร็จในสิ่งปรารถนา  สมเด็จ พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส   ทรงนิพนธ์
โย จักขุมา*
โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฎโฐ
สามัง วะ พุทโธ สุคะโต  วิมุตโต
มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต
ปาเปสิ เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง
พุทธัง วะรันตัง สิระสา  นะมามิ
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุฯ
ธัมโม  ธะโช  โย วิยะ  ตัสสะ  สัตถุ
ทัสเสสิ โลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง
นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะ ธารี
สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณฯ
ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุฯ
สัทธัมมะเสนา สุคะตานุโค โย
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะเชตา
สันโต  สะยัง สันตินิโยชะโก จะ
สะวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติฯ
สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
พุทธานุพุทธัง  สะมะสีละทิฏฐิง
ตันเตชะสา  เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
สัพพันตะรายา  จะ  วินาสะเมนตุฯ

คำแปล
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด  มีพระปัญญาจักษุขจัดมลทินคือโมหะได้แล้ว  ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยพระองค์เอง  เสด็จไปดีหลุดพ้นอย่างประเสริฐแล้ว  ทรงเปลื้องหมู่ชนที่สามารถแนะนำได้  ให้พ้นจากบ่วงมารนำมาให้ถึงความเกษมด้วย  ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐพระองค์นั้น  ผู้เป็นที่พึ่งและเป็นผู้นำชาวโลก  ด้วยเดช       พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น  ขอท่านจงประสบชัยชนะและขออันตราย    ทั้งปวงจงพินาศไปฯ
พระธรรมใด  เป็นประหนึ่งธงชัยของพระศาสดาพระองค์นั้น  ชี้ทางแห่งความบริสุทธิ์แก่โลก  นำหมู่สัตว์ก้าวข้ามยุคเข็ญ  คุ้มครองชนผู้ประพฤติธรรม  ผู้ประพฤติดีแล้วย่อมนำความสงบสุขมาให้  ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระธรรมอันประเสริฐนั้น  อันทำลายเสียซึ่งโมหะ  ระงับความเร่าร้อนลงเสียได้  ด้วยเดชพระธรรมนั้น  ขอท่านจงประสบชัยชนะ  และขออันตรายทั้งปวงจงพินาศไปฯ
พระสงฆ์ใด  เป็นกำลังประกาศพระสัทธรรม  ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างพระบรมศาสดาผู้เสด็จไปดีแล้ว  ผจญเสียซึ่งอุปกิเลสอันลามกของโลก  เป็นผู้สงบเองด้วย  ทั้งยังสามารถแนะนำผู้อื่นให้เข้าถึงความสงบได้ด้วย  เผยแผ่พระธรรมที่พระบรมศาสดาประกาศดีแล้วให้มีผู้รู้ตาม  ข้าพระพุทธเจ้า  ขอน้อมนมัสการพระสงฆ์ผู้ประเสริฐนั้น  ผู้ตรัสรู้ตาม พระพุทธเจ้า  มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน  ด้วยเดชพระสงฆ์นั้น  ขอท่านจงประสบชัยชนะ  และขออันตรายทั้งปวงจงพินาศไป  เทอญฯ


นะโมการะอัฏฐะกะ
02/02/2015
นะโมการะอัฏฐะกะ

นโม อรหโต สมฺมา               สมฺพุทฺธสฺส มเหสิโน
นโม อตฺตมธมฺมสฺส               สฺวากฺขาตสฺเสว เตนิธ
นโม มหาสงฺฆสฺสาปิ              วิสุทฺธสีลทิฏฺฐิโน
นโม โอมาตฺยารทฺธสฺส            รตนตฺตยสฺส สาธุกํ
นโม โอมกาตีตสฺส                ตสฺส  วตฺถุตฺตยสฺสปิ
นโมการปฺปภาเวน                วิคจฺฉนฺตุ อุปทฺทวา
นโมการานุภาเวน                 สุวตฺถิ โหตุ สพฺพทา
นโมการสฺส เตเชน                วิธิมฺหิ โหมิ เตชวา ฯ

คำแปล

     ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่
     ขอนอมน้อมแด่พระธรรมอันสูงสุดในศาสนานี้ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว
     ขอนอมน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้มีศีลและทิฏฐิอันบริสุทธิ์
     การนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า อ (ย่อมาจาก อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสา) อุ (ย่อมาจาก อุตฺตมธมฺมสฺส) ม (ย่อมาจาก มหาสงฺฆสฺส) เป็นการดี
     ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยทั้ง ๓ นั้น อันล่วงพ้นโทษต่ำช้าด้วยอำนาจแห่งการนอบน้อม ขออุปัททวะทั้งหลายจงพินาศไปด้วยอานุภาพแห่งการนอบน้อม  ขอความสวัสดีจงมีตลอดกาลทุกเมื่อ
     ด้วยเดชแห่งการนอบน้อม ขอเราจงมีเดชในมงคลพิธีเถิด


มังคะละสุตตัง
02/02/15
มังคะละสุตตัง
บทขัดมังคะละสุตตัง

เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ โลกันตะเร วา
ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุระคะณะคะหะณัพยาวะฏา สัพพะกาลัง
เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะกะมะเย เมรุราเช วะสันโต สันโต
สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมัคคัง สะมัคคัง ฯ

สัพเพสุ จักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน
ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติสาธะกัง
สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา สะมัคคา สาสะเน ระตา
ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ วิเสสะโต
สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ สัพพะทา
สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน
อะนีฆา สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ

ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง
จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง
กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง นาวะ พรัหมะนิเวสะนา
ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง
ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา
เอวะมาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณามะ เห ฯ



(คำแปล) บทขัดมังคะละสุตตัง
เทพเจ้าเหล่าใด เป็นภุมมเทวดา แลมิใช่ภุมมเทวดาก็ดี ผู้มีจิตอันรำงับ มีพระไตรรัตน์เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก ซึ่งอยู่ในโลกนี้หรือในระหว่างโลก ผู้ขวนขวายในการถือเอาซึ่งหมู่แห่งคุณสิ้นกาลทั้งปวง ขอเทพเจ้าเหล่านั้น จงมา อนึ่ง ขอเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ ณ เขาเมรุราชแล้วด้วยทองอันประเสริฐ จงมาด้วย ขอเทพเจ้าเหล่าสัปบุรุษ จงมาสู่ที่สมาคม เพื่อฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ เป็นธรรมอันเลิศ เป็นเหตุแห่งความยินดี

ยักษ์ทั้งหลาย แลเทพเจ้าทั้งหลาย พรหมทั้งหลายในจักรวาลทั้งหมด จงมาด้วยบุญอันใดให้สำเร็จสมบัติทั้งปวงอันเราทั้งหลายกระทำแล้ว ขอเหล่าเทพเจ้าทั้งสิ้น จงอนุโมทนา ซึ่งบุญอันนั้นแล้วพร้อมเพรียงกันยินดีในพระศาสนา เป็นผู้ปราศจากความประมาท ในอันที่จะรักษาพระศาสนา แลโลกเป็นพิเศษ ขอความเจริญจงมีทุกเมื่อ ขอเทพเจ้าทั้งหลาย จงอภิบาลแม้ซึ่งพระศาสนา แลโลกในกาลทุกเมื่อ
ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายพร้อมด้วยบริวารทั้งหลายของตน จงเป็นผู้มีสุขสำราญ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ สบายใจพร้อมด้วยญาติทั้งหมด

มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดามาดำริหามงคลอันใดสิ้น ๑๒ ปี มนุษย์แลเทวดาเหล่านั้นในหมื่นจักรวาล แม้เมื่อคิดหาสิ้นกาลนาน ก็มิได้รู้ซึ่งมงคลอันนั้น ด้วยกาลมีประมาณเท่าใด โกลาหลเกิดแล้ว ตราบเท่าที่อยู่แห่งพรหม สิ้นกาลมีประมาณเท่านั้น สมเด็จพระโลกนาถได้เทศนามงคลอันใด เครื่องยังลามกทั้งสิ้น ให้ฉิบหายไป นรชนทั้งหลายนับไม่ถ้วน ได้ฟังมงคลอันใดแล้ว พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
เราทั้งหลาย จงกล่าวมงคลอันนั้น อันประกอบด้วยคุณ มีอย่างนี้เป็นต้นเทอญ.

มังคะละสุตตัง

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา
เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ

- อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
- เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ


(คำแปล) มังคะละสุตตัง

ข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีครั้งนั้นแลเทพดาองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งนัก ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดานั้นยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า

หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงเทศนามงคลอันสูงสุด

- ความไม่คบชนพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ ความบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑ การงานทั้งหลายไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑ ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน ๑ ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ ความเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑ ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่มีโศก ปราศจากธุลีเกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
- เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.


กะระณียะเมตตะสุตตัง
Monday, February 02, 2015
กะระณียะเมตตะสุตตัง
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ
ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา

ทีฆา วา เย มะหันตา วา
มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง
อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

**เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา
สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
ทัสสะเนนะ สัมปันโน

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ

*******************************

กรณียเมตตสูตร(แปล)
- กุลบุตรผู้ฉลาด พึงกระทำกิจที่พระอริยเจ้าผู้บรรลุแล้วซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่สงบระงับได้กระทำแล้ว
- กุลบุตรนั้งพึงเป็นผู้องอาจ ซื่อตรงและประพฤติตรงดี เป็นผู้ที่ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนโยน ไม่มีมานะอันยิ่ง
- เป็นผู้สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย เป็นผู้ประพฤติทำให้กายและจิตเบา
- มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันสงบนิ่ง มีปัญญาฆ่ากิเลส เป็นผู้ไม่คะนอง กาย วาจา ใจ และไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
-ไม่พึงกระทำกรรมที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายติเตียน ผู้อื่นว่าทำแล้วไม่ดี
- พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข
มีจิตเกาะพระนิพพานแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย
และจงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขทุกเมื่อเถิด
-ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ทั้งที่มีตัณหาเครื่องทำใจให้สะดุ้งอยู่ และผู้มั่นคงคือไม่มีตัณหาแล้ว ทั้งที่มีกายยาว ใหญ่ปานกลาง หรือกายสั้น หรือผอม อ้วน เป็นผู้ที่เราเห็นแล้วก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี อยู่ในที่ไกลหรือในที่ไม่ไกล ทั้งที่เกิดมาในโลกนี้แล้ว
และที่ยังกำลังแสวงหาภพเป็นที่เกิดอยู่ดี จงเป็นเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขเถิด


- สัตว์อื่นอย่าพึงรังแกข่มเหงสัตว์อื่น อย่าพึงดูหมิ่นใครในที่ใด ๆ เลย
- ไม่ควรปรารถนาให้กันและกันมีความทุกข์ เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความเคียดแค้นกันเลย
- มารดาย่อมตามรักษาบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด
- กุลบุตรพึงเจริญเมตตาจิตในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวงทั้งหลายแม้ฉันนั้น
- บุคคลพึงเจริญเมตตาให้มีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น
- ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง การเจริญเมตตาจิตนี้เป็นธรรมอันไม่แคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู
- ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงเพียงใด
- ก็สามารถตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกิริยาอย่างนี้ว่า เป็นการเจริญพรหมวิหารในศาสนานี้
- บุคคลผู้ที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงความเห็นผิด เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยความเห็นคือปัญญา
- นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความเข้าไปนอนในครรภ์เพื่อเกิดอีกโดยแท้แลฯ


โมระปะริตตัง
02/02/15
โมระปะริตตัง
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ


(คำแปล) โมระปะริตตัง
พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง อุทัยขึ้นมา
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าทั้งหลาย
อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้า อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้า

ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้า
จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธรรม นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว
จึงเที่ยวไป เพื่ออันแสวงหาอาหาร

พระอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทองยังพื้นปฐพีให้สว่าง ย่อมอัสดงคตไป
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าทั้งหลาย
อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้า อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้า

ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้า
จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธรรม นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว
จึงสำเร็จความอยู่แล.


วัฏฏะกะปะริตตัง
02/02/15
วัฏฏะกะปะริตตัง
อัตถิ  โลเก สีละคุโณ                คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก
สัจจัง  โสเจยยะนุททะยา       ความสัจ  ความสะอาดกาย และ
                                                ความเอ็นดูมีอยู่ในโลก
เตนะ  สัจเจนะ  กาหามิ            ด้วยคำสัจนั้น ข้าพเจ้าจักกระทำ
สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง            สัจจะกิริยาอันเยี่ยม
อาวัชชิตวา  ธัมมะพะลัง          ข้าพเจ้าพิจารณาซึ่งกำลังแห่งธรรม
สะริตวา  ปุพพะเก  ชิเน         และระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลาย
                                                ในปางก่อน
สัจจะพะละมะวัสสายะ            อาศัยกำลังแห่งสัจจะ
สัจจะกิริยะมะกาสะหัง              ขอกระทำสัจจะกิริยา
สันติ  ปักขา  อะปัตตะนา        ปีกทั้งหลายของข้ามีอยู่  แต่บินไม่ได้
สันติ  ปาทา  อะวัญจะนา        เท้าทั้งหลายของข้ามีอยู่  แต่เดินไม่ได้
มาตา  ปิตา  จะ  นิกขันตา       มารดาและบิดาของข้าออกไปหาอาหาร
ชาตะเวทะ  ปะฎิกกะมะ           ดูก่อนไฟป่า   ขอท่านจงหลีกไป
สะหะ  สัจเจ  กะเต  มัยหัง       ครั้นเมื่อสัจจะ อันเรากระทำแล้ว
มะหาปัชชะลิโต  สิขี                 เปลวไฟอันรุ่งเรืองใหญ่
วัชเชสิ  โสฬะสะ  กะรีสานิ       ได้หลีกไป  พร้อมกับคำสัตย์
อุทกัง  ปัตวา  ยะถา  สิขี          ประหนึ่งเปลวไฟอันตกถึงน้ำ
สัจเจนะ  เม  สะโม  นัตถิ         สิ่งไรเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี
เอสา  เม  สัจจะปาระมีติ.        นี้เป็นสัจจะบารมีของเราดังนี้แล


อาฏานาฏิยะปะริตตัง
02/02/15
อาฏานาฏิยะปะริตตัง
วิปัสสิสสะ  นะมัตถุ           
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้า  จงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า
จักขุมันตัสสะ  สิรีมะโต       
    ผู้มีจักษุ  ผู้มีสิริ
สิขิสสะปิ  นะมัตถุ           
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้า  จงมีแด่พระสิขีพุทธเจ้า
สัพพะภูตานุกัมปิโน                   
    ผู้มีปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
เวสสะภุสสะ  นะมัตถุ           
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้า  จงมีแด่พระเวสสะภูพุทธเจ้า
นะหาตะกัสสะ  ตะปัสสิโน           
    ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว  ผู้มีตบะ
นะมัตถุ  กะกุสันธัสสะ       
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า
มาระเสนัปปะมัททิโน           
    ผู้ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนามาร
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ       
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระโกนาคมนะพุทธเจ้า
พราหมะณัสสะ  วุสีมะโต       
    ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว  ผู้มีพรหมจรรย์    อันอยู่จบแล้ว
กัสสะปัสสะ  นะมัตถุ           
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า
วิปปะมุตตัสสะ  สัพพะธิ       
    ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
อังคีระสัสสะ  นะมัตถุ           
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้า   จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า
สักยะปุตตัสสะ  สิรีมะโต       
    ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราช   ผู้มีสิริ
โย  อิมัง  ธัมมะมะเทเสสิ       
    พระพุทธเจ้าพระองค์ใด    ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้
สัพพะทุกขาปะนูทะนัง       
    เป็นเครื่องบรรเทาเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง
เย  จาปิ  นิพพุตา  โลเก       
    อนึ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด  ที่ดับกิเลสแล้วในโลก
ยะถาภูตัง   วิปัสสิสุง           
    เห็นแจ้งธรรมตามเป็นจริง
เต  ชะนา  อะปิสุณา           
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น  เป็นผู้ไม่มีความส่อเสียด
มะหันตา   วีตะสาระทา              
    เป็นผู้ใหญ่     ผู้ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว
หิตัง   เทวะมะนุสสานัง    ยัง  นะมัสสันติ  โคตะมัง               
    เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย       ผู้นอบน้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้า
    พระองค์ใด    ผู้เป็นโคตมโคตร   ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูล           
    แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
วิชชาจะระณะสัมปันนัง    มะหันตัง  วีตะสาระทัง
    ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ  เป็นผู้ใหญ่   ผู้มีความครั่น
    คร้ามปราศจากไปแล้ว
วิชชาจะระณะสัมปันนัง    พุทธัง  วันทามะ  โคตะมันติ
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย   ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น   ผู้โคตม
    โคตร    ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา  และจรณะเป็นอันดีแล้วแล.


สักกัตตะวา
02/02/15
สักกัตตะวา
สักกัตตะวา พุทธะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระพุทธรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
หิตัง เทวะมะนุสสานัง
เป็นประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทธะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงพินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี
สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี

สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระธรรมรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
ปะริฬาหูปะสะมะนัง
เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระธรรมรัตนะ
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
ขอภัยทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี

สักกัตตะวา สังฆะระตะนัง
เพราะทำความเคารพพระสงฆรัตนะ
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อันเป็นดั่งโอสถอันอุดมประเสริฐ
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
สังฆะเตเชนะ โสตถินา
ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลายจงินาศไป
โรคา วูปะสะเมนตุ เต
ขอโรคทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี


อังคุลิมาละปะริตตัง
02/02/15
อังคุลิมาละปะริตตัง
ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตาฯ  เตนะ สัจเจนะ  โสตถิ  เต โหตุ โสตถิ  คัพภัสสะ
ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตาฯ  เตนะ  สัจเจนะ โสตถิ  เต โหตุ โสตถิ  คัพภัสสะ
ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตาฯ เตนะ  สัจเจนะ โสตถิ เต  โหตุ โสตถิ  คัพภัสสะ


โพชฌังคะปะริตตัง
02/02/15
โพชฌังคะปะริตตัง
โพชฌังโค  สะติสังขาโต    ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
    โพชฌงค์ 7  ประการ คือ   สติสัมโพชฌงค์,
    ธรรมะวิจะยะสัมโพชฌงค์,
วิริยัมปีติ  ปัสสัทธิ    โพชฌังคา  จะ  ตะถาปะเร
    วิริยะสัมโพชฌงค์   ปีติสัมโพชฌงค์   ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์,
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา    สัตเตเต  สัพพะทัสสินา     
มุนินา  สัมมะทักขาตา    ภาวิตา  พะหุลีกะตา
    สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์   เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้า  
    ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้ว                    
    อันบุคคลมาเจริญและทำให้มากแล้ว
สังวัตตันติ  อะภิญญายะ    นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
    ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง     เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อพระนิพพาน
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ    โสตถิ  เต  โหนตุ  สัพพะทา
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้    ขอความสวัสดี  จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกัสมิง  สะมะเย  นาโถ    โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
    ในสมัยหนึ่ง  พระโลกนาถเจ้า    ทอดพระเนตร พระโมคคัลลานะ         
    และพระกัสสปะ
คิลาเน  ทุกขิเต  ทิสวา     โพชฌังเค  สัตตะ  เทสะยิ
    เป็นไข้ได้รับความลำบากถึง  ทุกขเวทนาแล้ว
    ทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการให้ท่านทั้ง 2 ฟัง
เต  จะ  ตัง  อะภินันทิตวา     โรคา  มุจจิงสุ  ตังขะเณ 
    ท่านทั้ง 2 ก็เพลิดเพลินพระธรรมเทศนานั้น
    หายโรคในบัดดล
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ    โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา                          
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้    ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกะทา  ธัมมะราชาปิ          เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ครั้งหนึ่งแม้พระธรรมราชาเอง        ทรงประชวรเป็นไข้
จุนทัตเถเรนะ  ตัญเญวะ    ภะณาเปตวานะ  สาทะรัง
    รับสั่งให้พระจุนทเถระ  แสดงโพชฌงค์นั้นถวายโดยความเคารพ   
สัมโมทิตวา  จะ  อาพาธา    ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
    ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย    หายจากพระประชวรนั้นโดยพลัน
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ    โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา               
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้   ขอความสวัสดี  จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ปะหีนา  เต  จะ  อาพาธา    ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง               
    ก็อาพาธทั้งหลายนั้น   อันพระมหาฤๅษีทั้ง 3 องค์ หายแล้ว
    ไม่กลับเป็นอีก
มัคคาหะตะกิเลสาวะ         ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง                             
    ดุจดังกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว      ถึงซึ่งความไม่เกิดอีก
    เป็นธรรมดาฉะนั้น
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ    โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา ฯ
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้    ขอความสวัสดี  จงมีแก่ท่าน
    ทุกเมื่อเทอญ


นัตถิเม สะระณัง
02/02/15
นัตถิเม สะระณัง
บทที่น้อมระลึงถึงคุณพระรัตนตรัย  อ้างเป็นสัจวาจา  เพื่อให้เกิดชัยมงคล
นัตถิ   เม   สะระณัง   อัญญัง          พุทโธ   เม   สะระณัง   วะรัง
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ         โหตุ   เต   ชะยะมังคะลังฯ
นัตถิ   เม   สะระณัง   อัญญัง  พุทโธ   เม   สะระณัง   วะรัง
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ         โหตุ   เต   ชะยะมังคะลังฯ
นัตถิ   เม   สะระณัง   อัญญัง  พุทโธ   เม   สะระณัง   วะรัง
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ         โหตุ   เต   ชะยะมังคะลังฯ

คำแปล
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี      พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
ของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้   ของชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี       พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
ของข้าพเจ้า  ด้วยคำสัตย์นี้   ของชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี      พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
ของข้าพเจ้า  ด้วยคำสัตย์นี้   ของชัยมงคลจงมีแก่ท่าน


ยังกิญจิ ระตะนัง
02/02/15
ยังกิญจิ ระตะนัง
บทที่น้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย 
ซึ่งเป็นรัตนะที่มีพลานุภาพสู้สุดกว่า
รัตนะทั้งมวลในโลก  เพื่อให้เกิดความสวัสดีมงคล

        ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก   วิชชะติ วิวิธัง
ปุถุ ระตะนัง   พุทธะสะมัง นัตถิ         ตัสสะมา
โสตถี ภะวันตุ เตฯ
               ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก         วิชชะติ วิวิธัง 
ปุถุ  ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ          ตัสสะมา 
โสตถี ภะวันตุ เตฯ
        ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก             วิชชะติ วิวิธัง 
ปุถุ  ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ           ตัสสะมา 
โสตถี  ภะวันตุ เตฯ   
คำแปล
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย  บรรดามีในโลก
รัตนะนั้นเสมอด้วย
พระพุทธเจ้าหามีไม่  เพราะเหตุนั้น
ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีทั้งหลาย
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย  บรรดามีในโลก
รัตนะนั้นเสมอด้วย
พระธรรมเจ้าหามีไม่  เพราะเหตุนั้น
ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีทั้งหลาย
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมากมาย  บรรดามีในโลก
รัตนะนั้นเสมอด้วย พระสงฆ์เจ้าหามีไม่ เพราะเหตุนั้น
ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีทั้งหลาย


อะภะยะปะริตตัง
02/02/15
อะภะยะปะริตตัง
ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ  ฯ
ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ  ฯ
ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ  ฯ


เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
02/02/15
เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
.......
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ
สัพเพ เทวานุโมทันตุ
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ
ภาวะนาภิระตา โหนตุ
........ สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา........
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ


ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ

..........ขอสัตว์ทั้งปวง ที่ประสบทุกข์ จงพ้นจากทุกข์
ที่ประสบภัย จงพ้นจากภัย และที่ประสบความโศก
จงพ้นจากความโศกเสียได้เถิด และขอเทวดาทั้งปวง จงได้อนุโมทนา
ซึ่งบุญสมบัติอันข้าพเจ้าทั้งหลายได้สร้างสมไว้แล้วนี้ เพื่อความสำเร็จ
แห่งสมบัติทั้งปวงมนุษย์ ทั้งหลาย จงให้ทานด้วยใจศรัทธา รักษาศีล
ตลอดกาลทั้งปวง ทวยเทพทั้งหลาย ที่มาชุมนุมแล้วขอเชิญกลับเถิด
.........พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงถึงพร้อม ด้วยพละธรรม
ด้วยเดชแห่งพละธรรมของ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และ
ด้วยเดชแห่งพละธรรม ของพระอรหันต์ทั้งหลายขอให้ข้าพเจ้า
จงคุ้มครองรักษา ความดีไว้ได้โดยประการทั้งปวงเทอญ


อิติปิ โส
02/02/15
อิติปิ โส
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเนยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
อัญชะลีกะระนีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )


บทถวายพรพระ
02/02/15
บทถวายพรพระ
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)มหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)


นักขัตตะยักขะภูตานัง
02/02/15
นักขัตตะยักขะภูตานัง (มงคลจักรวาลใหญ่)
สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ
สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพ แห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง ผู้มีบุญญาธิการอันกำหนดมิได้ ด้วยพระฤทธิ์อันใหญ่ และพระคุณอันใหญ่ อันสำเร็จด้วยพระสิริ พระปัญญาเป็นเครื่องตั้งมั่น พระปัญญาเป็นเครื่องรู้ พระเดชและพระชัยผู้สามารถห้ามเสียซึ่งสรรพอันตราย
อะสีตยาพยัญชะนานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐
อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งมงคล ๑๐๘ ประการ
ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ
เกตุมาลานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเกตุมาลา
ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระบารมี ๑๐ ประการ
ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระอุปปารมี ๑๐ ประการ
ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระปรมัตถปารมี ๑๐ ประการ
สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งศีล สมาธิ ปัญญา
พุทธานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธรัตนะ
ธัมมานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมรัตนะ
สังฆานุภาเวนะ        ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆรัตนะ
เตชานุภาเวนะ                  ด้วยอานุภาพแห่งพระเดช
อิทธานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระฤทธิ์
พะลานุภาเวนะ       ด้วยอานุภาพแห่งพระกำลัง
เญยยะธัมมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระเญยยธรรม
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน
นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งโลกุตตรธรรม ๙ ประการ
อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ
อัฎฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่พระสมาบัติ ๘ ประการ
ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระอภิญญา ๖ ประการ
จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณในสัจจะ ๔
ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณมีกำลัง ๑๐ ประการ
สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตา พระกรุณา พระมุทิตา พระอุเบกขา
สัพพะปะริตตานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตรทั้งปวง
ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย
ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาวินัสสันตุ
เหล่าโรค โศก อุปัทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทั้งปวง ของท่าน จงสิ้นสูญไป
สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ
แม้เหล่าอันตรายทั้งปวง จงสิ้นสูญไป
สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ
สรรพดำริทั้งหลายของท่านจงสำเร็จด้วยดี
ฑีฆายุตา ตุยหัง โหตุ
ความเป็นผู้มีอายุยืนจงมีแก่ท่าน
สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทาฯ
ท่านจงเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความเป็นอยู่สิ้น ๑๐๐ ปี ทุกเมื่อ
อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะ
กา เทวะตา
เทพเจ้าทั้งหลาย ผู้คุ้มครองสถิตย์อยู่ในอากาศและบรรพตไพรสณฑ์ ภูมิสถาน
แม่น้ำคงคามหาสมุทร
สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุฯ .
จงตามรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อ เทอญฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา                  ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ                 ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา                  ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ                  ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง       ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา                  ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุภาเวนะ                  ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต     ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน

นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา,
ความป้องกัน บาปเคราะห์ทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตได้มีแล้ว
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว,
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตร จงกำจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตเหล่านั้น
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา,
ความป้องกัน บาปเคราะห์ทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตได้มีแล้ว
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว,
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตร จงกำจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตเหล่านั้น
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา,
ความป้องกัน บาปเคราะห์ทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตได้มีแล้ว
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเวฯ
ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตร จงกำจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งหลาย แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร และยักษ์ และภูตเหล่านั้น


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
Monday, February 02, 2015
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง (มงคลจักรวาลใหญ่)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง            ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา              ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ             ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต            ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง            ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา              ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ              ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต            ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง            ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวตา              ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุภาเวนะ             ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต            ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน


ทำวัตรเช้า
02/02/15
บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ) พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

พุทธาภิถุติง
(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส ตะถาคะโต,
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด ;
อะระหัง ,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทโธ ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ;
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ;
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ;
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ;
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ;
ภะคะวา,
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ;
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง,
สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ;
โย ธัมมัง เทเสสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว ;
อาทิกัลยาณัง,
ไพเราะในเบื้องต้น,
มัชเฌกัลยาณัง, ไพเราะในท่ามกลาง,
ปะริโยสานะกัลยาณัง, ไพเราะในที่สุด,
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ,
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง,
พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ) ;
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ;
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบรำลึกพระพุทธคุณ)

ธัมมาภิถุติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ;
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น ;
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ;
(กราบรำลึกพระธรรมคุณ)

สังฆาภิถุติง
(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ;
ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;
อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ;
(กราบรำลึกพระสังฆคุณ)

รตนัตตยัปปณามคาถา
(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.)

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป ;
โย มัคคะปากามะเภทะภินนะโก,
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด
โลกุตตระ โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น ;
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย ;
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด ;
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี ;
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.

สังเวคปริกิตตนปาฐะ

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ;
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ;
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ ;
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ : -
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า : -
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ;
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ;
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ;
เสยยะถีทัง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-
รูปูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ;
เวทะนูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ;
สัญญูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ;
สังขารูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ;
วิญญาณูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ ;
เยสัง ปะริญญายะ,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง,
ธะระมาโน โส ภะคะวา,
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;
เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตติตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :-
รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา,
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้.
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ,
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ; ชาติยา,โดยความเกิด;
ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่และความตาย ;
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ, โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย ;
ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว ;
ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว ;
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ . จะพึ่งปรากฏชัด แก่เราได้.

สำหรับพระภิกษุและสามเณรสวด

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น
สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัสมิง ภะคะวะติ พรัห์มะจะริยัง จะรามะ
ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พรัห์มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ ฯ

สำหรับอุบาสก อุบาสิกาสวด

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ;
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

สัพพปัตติทานคาถา

ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม
เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกา
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้า
ได้ทำในบัดนี้ และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว

เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย
ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐา วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน
คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ เช่น
มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น ก็ดี; ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว
หรือไม่ได้เห็น ก็ดี สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลาง ๆ หรือเป็นคู่เวรกันก็ดี

สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เตภุมมา จะตุโยนิกา
ปัจเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว
สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโลก, อยู่ในภูมิทั้งสาม, อยู่ในกำเนิดทั้งสี่,
มีขันธ์ห้าขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว มีขันธ์ ๔ ขันธ์ กำลังท่องเที่ยวอยู่ใน
ภพน้อยภพใหญ่ ก็ดี

ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง
เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง
สัตว์เหล่าใด รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว สัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด
ส่วนสัตว์เหล่าใดยังไม่รู้ส่วนบุญนี้ ขอเทวดาทั้งหลายจงบอกสัตว์เหล่านั้นให้รู้

มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะเหตุนา
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา
เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ จงถึงบทอันเกษม กล่าวคือพระนิพพาน
ความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์เหล่านั้น จงสำเร็จเถิด


ทำวัตรเย็น
02/02/15
บททำวัตรเย็น
เมื่อเข้าประชุมพร้อมกันแล้ว เวลาผู้เป็นหัวหน้าทำสักการะ พึงนั่งคุกเข่าประณมมือ
ครั้นเสร็จแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าพึงกล่าวคำอภิวาทว่านำดังต่อไปนี้:-
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ถูกถ้วนแล้ว,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ
ข้าพเจ้าอภิวาทซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ดีแล้ว. (กราบ ๑ ครั้ง)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ
ข้าพเจ้านมัสการซึ่งพระธรรม. (กราบ ๑ ครั้ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ ฯ
ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระสงฆ์. (กราบ ๑ ครั้ง)
(หัวหน้าว่าคำบูชา)
ยะมัมฺหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา อุททิสสะ ปัพพะชิตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ ฯ
(คำแปล)
เราเป็นผู้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นสะระณะ, พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ใดเป็นศาสดาของเรา, และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, เราตั้งใจบูชาซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, พร้อมทั้งพระธรรมพร้อมทั้งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้.
หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ อะภิคายิตุง ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ
พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส ฯ
เชิญเถิด บัดนี้เราจงทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอันเป็นส่วนเบื้องต้น
และทำนัยอันเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธคุณเพื่อขับสรรเสริญด้วยวาจา.

คำนมัสการ
(รับพร้อมกัน)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ หน)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

พุทธานุสสติ
(คำระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลฺยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต ฯ
ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามอย่างนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเฟื่องฟุ้งไปว่า,
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ถูกถ้วนแล้ว
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
ทรงประกอบด้วยวิชชาและจะระณะ,
สุคะโต, เสด็จไปดีแล้ว,
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้แจ้งโลก,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
คู่มือสวดมนต์ 19
เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า,
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูสอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ, เป็นผู้รู้แล้ว,
ภะคะวาติ, เป็นผู้มีโชค ดังนี้.
(หยุดระลึกถึงพระพุทธคุณ)

ธัมมาภิคีติง
(คำขับสรรเสริญพระธรรม)
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส ฯ
เชิญเถิด เราจงทำการขับสรรเสริญพระธรรม.
สฺวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรมประเสริฐด้วยอำนาจที่ประกอบด้วยคุณ มีความเป็นธรรมที่ตรัสดีแล้ว
เป็นต้น,
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
พระธรรมใดต่างโดยมรรคผลและนิพพาน,
ธัมโม กุโลกะปะตะนาตะทะธาริธารี,
ป้องกันผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว,
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมเครื่องขจัดความมืดนั้น,
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใดเป็นสะระณะอันเกษมสูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย,
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง ฯ
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๒ นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
ธัมมัสสาหัสฺมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นเจ้านายของข้าพเจ้า,
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม ฯ
พระธรรมเป็นผู้กำจัดทุกข์และดำรงประโยชน์ของข้าพเจ้า.
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายและถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม,
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง ฯ
ข้าพเจ้าไหว้อยู่จักประพฤติตามความที่พระธรรมเป็นธรรมดี.
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน ฯ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา .
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ(วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอยู่ได้ก่อสร้างบุญใดไว้ในที่นี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ
ขออันตรายแม้ทั้งหมด อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชของบุญนั้น.
(พึงหมอบกราบว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
กรรมชั่วใดอันข้าพเจ้าทำแล้วในพระธรรมด้วยกายหรือวาจาใจ,
ธัมโม ปฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัน,
ขอพระธรรมจงรับโทษนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม ฯ
เพื่อจะระวังต่อไปในพระธรรม

สังฆานุสสติ
คำระลึกถึงพระสงฆ์
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส ฯ
เชิญเถิดเราจงทำนัยอันเป็นเครื่องระลึกถึงพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติซื่อตรง,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติเป็นธรรม,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติชอบยิ่ง,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คือจัดเป็นสี่คู่ เป็นบุรุษบุคคลแปด,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อาหุเนยโย, ควรนับถือ,
ปาหุเนยโย, ควรต้อนรับ.
ทักขิเณยโย ควรแก่ทักษิณา
อัญชะลิกะระณีโย, ควรทำอัญชลี,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
(หยุดระลึกถึงพระสังฆคุณ)

สังฆาภิคีติ
คำขับสรรเสริญพระสงฆ์
(หัวหน้านำ)
หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส ฯ
เชิญเถิดเราจงทำการขับสรรเสริญพระสงฆ์.
(ว่าพร้อมกัน)
สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์เกิดจากพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีปฏิบัติดีเป็นต้น,
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่พระอริยบุคคลผู้ประเสริฐแปดจำพวก,
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิตอาศัยพระธรรมมีศีลเป็นต้น,
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง ฯ
ข้าพเจ้าไหว้ซึ่งพระอริยสงฆ์ผู้บริสุทธ์ดีแล้วนั้น,
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์ใดเป็นสะระณะอันเกษมสูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย,
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง ฯ
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๓ นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
สังฆัสสาหัสฺมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นเจ้านายของข้าพเจ้า,
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม ฯ
พระสงฆ์เป็นผู้กำจัดทุกข์และดำรงประโยชน์ของข้าพเจ้า.
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายและถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์,
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง ฯ
ข้าพเจ้าไหว้อยู่จักประพฤติตามความที่พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว.
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน ฯ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา .
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ(วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์อยู่ ได้ก่อสร้างบุญใดไว้ในที่นี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ
ขออันตรายแม้ทั้งหมด อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชของบุญนั้น.
(พึงหมอบกราบว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมชั่วใดอันข้าพเจ้าทำแล้วในพระสงฆ์ด้วยกายหรือวาจาใจ,
สังโฆ ปฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัน,
ขอพระสงฆ์จงรับโทษนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ
เพื่อจะระวังต่อไปในพระสงฆ์.
(จบแล้วพึงนั่งราบ)

อะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐะ
(หัวหน้าว่านำ)
หันทะ มะยัง อะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตฺวา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง, ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ
ปะฏิฆาตายะ, อุณฺหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัส-
สานัง ปะฏิฆาตายะ, ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง ฯ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตฺวา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต, โส เนวะ ทะวายะ นะ
มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ, ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา ยาปะนายะ
วิหิงสุปะระติยา พฺรัหฺมะจะริยานุคคะหายะ, อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ ฯ ยาตฺรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ
ผาสุวิหาโร จาติ ฯ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตฺวา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง ฯ ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ
ปะฏิฆาตายะ, อุณฺหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัส-
สานัง ปะฏิฆาตายะ, ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง ฯ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตฺวา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ปะริภุตโต,
โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
อัพฺยาปัชฌะปะระมะตายาติ ฯ

เทวะตาอุยโยชะนะฯ

ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา      ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา      โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ      สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ เทวานุโมทันตุ      สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ      สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
ภาวะนาภิระตา โหนตุ      คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตต.       ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ      รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ

ขอสัตว์ทั้งปวง ที่ประสบทุกข์ จงพ้นจากทุกข์
ที่ประสบภัย จงพ้นจากภัย และที่ประสบความโศก
จงพ้นจากความโศกเสียได้เถิด และขอเทวดาทั้งปวง จงได้อนุโมทนา
ซึ่งบุญสมบัติอันข้าพเจ้าทั้งหลายได้สร้างสมไว้แล้วนี้ เพื่อความสำเร็จ
แห่งสมบัติทั้งปวงมนุษย์ ทั้งหลาย จงให้ทานด้วยใจศรัทธา รักษาศีล
ตลอดกาลทั้งปวง ทวยเทพทั้งหลาย ที่มาชุมนุมแล้วขอเชิญกลับเถิด
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงถึงพร้อม ด้วยพละธรรม
ด้วยเดชแห่งพละธรรมของ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และ
ด้วยเดชแห่งพละธรรม ของพระอรหันต์ทั้งหลายขอให้ข้าพเจ้า
จงคุ้มครองรักษา ความดีไว้ได้โดยประการทั้งปวงเทอญ

ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ

(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส.)

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า,
วะระธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย, จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา.
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า.

อุททิสสนาธิฏฐานคาถา

อิมินา ปุญญะ กัมเมนะ ->   ด้วยบุญนี้ อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา ->   อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจาริยูปาการา จะ ->   แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ->   ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา ->   สูรย์จันทร์ แลราชา
คุณะ วันตา นะ ราปิ จะ ->   ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหมะ มารา จะอินทาจะ ->   พรหมมาร และอินทราช
โลกะ ปาลา จะ เทวะตา ->   ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ->   ยมราช มนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ->   ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขีโหนตุ ->   ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้าาอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม ->   บุญผองที่ข้าพเจ้าทำ จงช่วยอำนวยศุภผล
สุขัง จะติวิธัง เทนตุ ->   ให้สุข สามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง ->   ให้บรรลุถึง นิพพานพลัน
อิมินา ปุญญะ กัมเมนะ ->   ด้วยบุญนี้ที่เราทำ
อิมินา อุททิเสนะ จะ ->   แลอุทิศให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ->   เราพลันได้ ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะ เฉทะนัง ->   ตัวตัณหา อุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา ->   สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง ->   กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ->   มลายสิ้น จากสันดาน
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว ->   ทุก ๆ ภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา ->   มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญาอันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา ->   พร้อมทั้งความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง ->   โอกาสอย่าพี่งมี แก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม ->   เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง ความเพียรจม
พุทธาธิปะ วะโร นาโถ ->   พระพุทธเจ้าผู้ บวรนารถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม ->   พระธรรมเป็นที่ พึ่งอันอุดม
นาโถ ปัจเจกะ พุทโธ จะ ->   พระปัจเจ กะพุทธสมทบพระ
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง, ->   สงฆ์เป็นที่พึ่งผยอง,
เตโสตตะมานุภาเวนะ ->   ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุมา ->   ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ ->   ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโร กาสัง ละภันตุ มา. ->   อย่าเปิด โอกาสแก่หมู่มารเทอญ.


อาราธนาศีล ๕
02/02/15
อาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ
สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต
วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ
ยาจามะ ฯ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัต
ถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ


รับศีล ๕
02/02/15
รับศีล ๕
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธะสะ (นะโม 3 จบ)

มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

(อาราธนาศีล 5)
ปาณา ติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
อทินนา ทาณา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
กาเม สุมิฉา จารา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
มุสา วาทา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

อิมินา ปัญจะสิกขา สมาธิยามิ
อิมินา ปัญจะสิกขา สมาธิยามิ
อิมินา ปัญจะสิกขา สมาธิยามิ

(พระสวดรับรองว่า)
ศีเลนะสุขคติงยันติ (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข)
ศีเลนะโภคะสัมปะทา (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์)
ศีเลนะนิพพุติงยันติ (และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลศ เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง)
ตัสสมา ศีลัง วิโสทะเย (ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษนักที่เธอทั้งหลายพึงยึดถือเป็นหลัก ประจำชีวิต ประจำจิตใจ ปฏิบัติ ให้ได้ ดังนี้ แล)


อาราธนาธรรม
02/02/15
อาราธนาธรรม
พรัหมา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ กัตอัญชะลี
อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันธีตะ สัตตาปปะรักชักขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ


อาราธนาพระปริตร
02/02/15
อาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะ
ทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพา
หายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ
ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัต
ติสิทธิยา สัพพะโรคะ- วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง ฯ


ยะถา วาริวหา
02/02/15
ยะถา วาริวหา
บทที่เริ่มต้นว่า “ยถา” มีชื่อเรียกว่า บทอนุโมทนารัมภคาถา หมายถึง คาถาที่เริ่มก่อนการอนุโมทนา กล่าวคือ ก่อน ที่พระสงฆ์จะอนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว พระสงฆ์จะกล่าวบทอนุโมทนารัมภคาถานี้ เพื่อให้อุบาสกอุบาสิกาได้เตรียมตัวตั้งใจรับพรสืบไป บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้

ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ
เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ
อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ
สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา

แปลเป็นไทยได้ว่า “ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันนั้น ขออิฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริทั้งปวงจงบริบูรณ์ เหมือนดังพระจันทร์วันเพ็ญ (และ) เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสว”


สัพพี
Monday, February 02, 2015
สัพพี
ส่วนบทที่เริ่มต้นว่า “สัพพี” มีชื่อเรียกว่า บทสามัญญานุโมทนาคาถา หมายถึง คาถาที่พระสงฆ์ใช้สวดทุกครั้งที่อนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้

สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ
มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

แปลเป็นไทยได้ว่า “ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวงจงหายไป อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการอภิวาทเป็นปรกติ อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์”.


บทแผ่ส่วนกุศล
02/02/15
บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ , สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร ,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า , ขอให้มารดาบิดา ของข้าพเจ้ามีความสุข ,
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ , สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ,
ขอส่วนบุญนี้ จงเสร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า , ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข ,
อิทัง เม คะรุปัชฌายาจะยิยานัง โหตุ , สุขิตา โหนตุ คะรุปัชฌายาจะริยา ,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่ ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ของข้าพเจ้า , ขอให้ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ ของ ข้าพเจ้ามีความสุข ,
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ , สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา ,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ เทวดา ทั้งหลายทั้งปวง , ขอให้เทวดาทั้งหลาย ทั้งปวง มีความสุข ,
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ , สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ เปรต ทั้งหลายทั้งปวง , ขอให้เปรตทั้งหลาย ทั้งปวง มีความสุข ,
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ , สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี ,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายทั้งปวง , ขอให้ เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข ,
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ , สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา ,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง มีความสุขกันทุกทั่วหน้ากันเทอญ.


คำกรวดน้ำ
02/02/15
คำกรวดน้ำ(แบบย่อ และแบบเต็ม)
กรวดน้ำย่อ
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอผลบุญกุศลนี้จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด

กรวดน้ำอิมินา (ของเก่า)
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา อาจะริยูปะการา จะ มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ พรัมมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม สุขัญ จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิสเสนะ จะ ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะ เฉทะนัง เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว อุชุจิตตัง สติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา มารา ลภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม พุทธาธิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง เต โสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ทะสะปุญญานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ
ผู้ใดได้บำรุงพระสงฆ์สามเณร เสมือนหนึ่ง ได้สืบต่อพระพุทธศาสนา ได้กุศลแรง คำกรวดน้ำ ของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชูอุดหนุนคุณบิดามารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร และมิตรรักสนิท เพื่อนสรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาล ท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ ชั้น จาตุมมะหาราชิกาเบื้องบนสูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม และเบื้องล่างต่ำสุดตั้งแต่โลกันตมหานรก และอเวจีขึ้นมาจนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และ เทพยดาทั้งหลาย ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยมยักษ์ คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้ได้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญฯ พุทธัง อะนันตัง ธัมมัง จักกะวาลัง สังฆัง นิพพนานะปัจจะโย โหนตุ


คำอธิฐาน
“ขอผลบุญทั้งหมดนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ แต่ถ้าหากข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพาน ที่นี้ ขอคำว่า “ไม่สำเร็จ ไม่มีทรัพย์ ไม่มีสุข” จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้า”
บทสวดมนต์