ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง
02/02/15
ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง
........ เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง
วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะ
วัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ
นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน
คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง
อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

........ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา
คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ
มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต
สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ
เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะ
สะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

........ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ชาติปิ
ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ
โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว
ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา
นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ
กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ
ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ
อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ
สัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา
อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

........ อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทพปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญ
เญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง
อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ
นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ

........ อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ
สัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ
สัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะ
ปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

........ อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง
ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ
ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

........ อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะ
ปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ
อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะ
คามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุ
ทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะ
ปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา
อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

........ ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัส
สะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว
สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ
พราหมะณิยา ปายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมา
สัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ยะโต จะ โข เม
เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง
ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง
อะโหสิ ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก
สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ
มะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ
ปัจจัญญาสิง ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ปุทะปาทิ
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ
นัพภะโวติ ฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา
ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส
มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง
อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

........ ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา
สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยังบ อิสิปะ
ตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง
อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ
วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ

........ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯจาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง
สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะ
มะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะ
วะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะ
วะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะ
ปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปาริ
สัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปะโรหิตา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโร
หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรัหมา เทวา
สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา
เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวา
นัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสา
เวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริต
ตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภา
นัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะ
มะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ
สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง
สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา
สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา
สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เอตัมภะ
คะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุต
ตะรรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะ
เณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ
วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

........ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ
พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะ
หัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อะถะโข ภะคะวา
อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ
วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญ
ญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ



คำแปลธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง

จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี หน้า 97 - 113ซึ่งค่อนข้างจะแปลละเอียดและคาดว่าจะเป็นบทสวดเต็ม มาให้ครับ .. ถ้าคัดลอกผิดไปบ้าง..ขออภัยด้วย..ผู้ใดพบเห็นกรุณาเสนอแก้ด้วยนะครับ ;
บทสวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ
เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ
เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ
- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )
- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )
- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )
- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )
- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )

- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )
- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )
- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์
- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง
โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
[bตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ
อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ


อนัตตะลักขะณะสุตตัง
02/02/15
อนัตตะลักขะณะสุตตัง
(แบบไม่สวดแปล สวดเฉพาะด้ายซ้ายมือ คำแปลกำกับอยู่ด้านขวามือ
แบบสวดบาลีสลับแปลไทย หน้า ...ยังไม่ได้ทำ
ถ้าสวดภาษไทยอย่างเดียว อยู่ถัดไปหน้า .... )
หันทะ มะยัง อะนัตตะลักขะณะสุตตัง ภะณามะ เส ฯ
เอวัมเม สุตัง ฯ อันข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้ว่า
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ
พาราณะสิยัง วิหะระติ, ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อิสิปะตะเนมิคะทาเย.
ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญจะ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
วัคคิเย ภิกขู อามันเตสิฯ เรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ มาแล้วทรงตรัสว่า
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ฯ ภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา
รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้เป็นอัตตา คือ
อัตตา อะภะวิสสะ, ตัวตนเรา หรือตัวตนของๆ เราแล้วไซร้,
นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ ทั้งยังจะสั่งจะทำได้ดังใจปรารถนาในรูปว่า
รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ ขอให้รูปร่างกายของเราจงเป็นรูปร่าง
เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ ฯ อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นรูปร่างอย่างนั้นเลย
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว ก็เพราะเหตุใดแล ภิกษุทั้งหลาย รูปจึงเป็น
รูปัง อะนัตตา, อนัตตา รูปจึงไม่ใช่ตนหรือของๆ ตน
ตัสฺมา รูปัง อาพาธายะ รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ และไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนาในรูปว่า
รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ ขอรูปร่างกายของเราจงเป็นรูปอย่างนี้เถิด
เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ ฯ อย่าได้เป็นรูปร่างอย่างนั้นเลย
เวทะนา อะนัตตา ฯ เวทนา(คือความรู้สึก-อารมณ์) เป็นอนัตตา,
เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ก็หากว่าเวทนานี้เป็นอัตตา คือ
อัตตา อะภะวิสสะ, สุขหรือทุกข์เป็นตนหรือของๆ ตนจริงแล้วไซร้
นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ หรือรู้สึกไม่สบาย
สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ ย่อมเป็นสุขทุกข์ได้
จะบังคับได้ดั่งใจปรารถนา
เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โหตุ ว่าขอเวทนาของเราจงรู้สึกอย่างนี้เถิด
เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ ฯ อย่าได้มีความรู้สึกเป็นทุกข์เลย
ยัสฺมา จะ โข ภิกขะเว เพราะเหตุที่ว่า เวทนาเป็นอนัตตา คือ
เวทะนา อะนัตตา, ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆตน จึงบังคับไม่ได้
ตัสฺมา เวทะนา อาพาธายะ เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ-รู้สึกไม่สบาย
สังวัตตะติ, นะจะ ลัพภะติ และไม่ได้ตามใจปรารถนาในเวทนาว่า
เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนาโหตุ ขอให้เวทนาของเราจงรู้สึกอย่างนี้ๆ
เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติฯ อย่าได้รู้สึกอย่างนั้นๆ อย่าได้เป็นทุกข์เลย
สัญญา อะนัตตา ฯ สัญญา(ความจำได้-หมายรู้) เป็นอนัตตา,
สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว ถ้าหากว่าสัญญานี้เป็นอัตตา คือ
อัตตา อะภะวิสสะ, ความจำได้หมายรู้เป็นของๆตนแล้วไซร้
นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สัญญาจะไม่อาพาธ หรือทำให้เราลำบากใจ
สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ ย่อมบังคับสัญญาได้ตามปรารถนา
สัญญายะ, เอวัง เม สัญญา โหตุ ขอให้ความจำของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ ความจำของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสฺมา จะ โข ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ความจำนี้ เป็นอนัตตา
สัญญา อะนัตตา, คือ มิใช่ตัวตนหรือของๆ ตนหรือของใครๆ
ตัสฺมา สัญญา อาพาธายะ สัญญาความจำจึงเสื่อมเลือนหายไปได้
สังวัตตะติ, นะ จะ ลัพภะติ จึงบังคับไม่ได้ดั่งใจปรารถนาว่า
สัญญายะ, เอวัง เม สัญญา โหตุ ขอให้ความจำของเราเป็นอย่างนี้เถิด
เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ ความจำของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
สังขารา อะนัตตา ฯ สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) เป็นอนัตตา
สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความคิดเป็นตัวเรา
อัตตา อะภะวิสสังสุ, เป็นของๆ เราแล้วไซร้
นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังขารความคิดคงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
สังวัตเตยยุง, ไม่เป็นไปเพื่อให้เราทรมาณ-ลำบากใจ
ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ, จะทำคิดได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า
เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง ขอสังขารความคิดของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ อย่าได้เป็นอย่างนั้น อย่าคิดไปอย่างนั้นเลย
ยัสฺมา จะ โข ภิกขะเว ก็เพราะเหตุที่สังขารไม่ใช่ตัวตนเรา-ของๆเรา
สังขารา อะนัตตา, ความคิดดี ความคิดชั่ว นี้ไม่ใช่เรา-ของๆ เรา
ตัสฺมา สังขารา อาพาธายะ สังขารความคิดนี้ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
สังวัตตะติ, คือความคิดที่เป็นไป ทำให้เราไม่สบายใจ
นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ, และไม่ได้สังขารความคิดดั่งใจปรารถนาว่า
เอวัง เม สังขารา โหตุ ขอให้ความคิดปรุงแต่งเป็นแบบนี้เถิด
เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ อย่าได้คิดปรุงแต่งไปแบบนั้นเลย
วิญญาณัง อะนัตตา ฯ วิญญาณ (ความรู้สึกรับรู้) ไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัญจะ หิทัง ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณเป็นตัวตนแล้วไซร้
อัตตา อะภะวิสสะ,
นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ วิญญาณนี้ก็ย่อมไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ
สังวัตเตยยะ, ย่อมไม่ทำให้เรารู้สึกป่วย-ไม่สบายใจ
ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ, ก็จะได้วิญญาณตามใจปรารถนาว่า
เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ ฯ อย่าให้วิญญาณของเราเป็นอย่างนั้นเลย
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว ก็เพราะเหตุวิญญาณไม่ใช่ตัวตน-ของๆ ตน
วิญญาณัง อะนัตตา,
ตัสฺมา วิญญาณัง อาพาธายะ วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
สังวัตตะติ,
นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ, และไม่ได้วิญญาณเป็นไปตามใจปรารถนา
เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ ว่าขอให้วิญญาณความรับรู้ของเรา
เป็นอย่างนี้เถิด
เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ ฯ อย่าได้วิญญาณรับรู้อย่างนั้นเลย
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย
เธอจะสำคัญข้อความนี้เป็นไฉน
รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ รูปทั้งหลาย เที่ยงหรือไม่เที่ยง
อะนิจจัง ภันเต ฯ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเตฯ เป็นทุกข์พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ทนได้ยาก จัดว่าเป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง, มีความแปรปรวน เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, ควรแล้วหรือที่เราจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า,
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ รูปนี้ ร่างกายนี้เป็นเรา นี้เป็นของ ๆ เรา
เอโส เม อัตตาติ ฯ ตัวเราเป็นอย่างนั้น ตัวเราเป็นอย่างนี้
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่ควรเห็นเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย เธอย่อมสำคัญความข้อนี้
เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ เป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อะนิจจา ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเต ฯ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ทนได้ยาก เป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง, มีความแปรปรวนไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, สมควรแล้วหรือที่เราจะคิดว่า
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ เวทนานี้เป็นเรา เราคือเวทนาอย่างนั้นอย่างนี้
เอโส เม อัตตาติ ฯ หรือเวทนานี้เป็นตัวตนเรา เป็นของๆ เรา
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่สมควรที่จะคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย
เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อะนิจจา ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า.
ทุกขัง ภันเต ฯ เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง, มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, ควรแล้วหรือจะคิดว่า ความจำนี้เป็นเรา
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ เราคือความจำอย่างนั้น อย่างนี้
เอโส เม อัตตาติ ฯ และความจำนี้เป็นตัวตนของเรา
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่ควรที่จะคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความนี้เป็นไฉน
สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ ฯ สังขาร-ความคิดปรุงแต่ง เที่ยงหรือไม่เที่ยง
อะนิจจา ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า.
ทุกขัง ภันเต ฯ เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง, มีความแปรปรวนไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, สมควรแล้วหรือที่จะคิดว่า
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ ความคิดนั้นเป็นเรา เราคือความคิดนั้น
เอโส เม อัตตาติ. ความคิดที่ดีที่ชั่วนั้น เป็นตัวตนของเรา
โน เหตัง ภันเต. ไม่สมควรคิดอย่างนั้น พระเจ้าข้า
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ภิกษุทั้งหลาย
เธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
วิญญาณัง นิจจัง วา วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
อะนิจจัง วาติ ฯ
อะนิจจัง ภันเต ฯ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สุขัง วาติ ฯ หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเตฯ เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง, มีความแปรปรวน เปลี่ยนไปเป็นธรรมดา,
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง, ควรแล้วหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสฺมิ นั่นเป็นเรา เราคือความรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้
เอโส เม อัตตาติ ฯ และความรู้เหล่านี้เป็นตัวตนของเรา
โน เหตัง ภันเต ฯ ไม่สมควรที่จะคิดเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
ตัสมาติหะ ภิกขะเว, เพราะเหตุนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย
ยังกิญจิ รูปัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ทั้งที่เป็นรูปในอดีต ในอนาคต หรือรูปปัจจุบัน
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, ทั้งภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนัง วา ปะณีตัง วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยันทูเร สันติเก วา, อยู่ในที่ใกล้ก็ตาม ในที่ไกลก็ตาม,
สัพพัง รูปัง, เนตัง มะมะ เนโส- รูปทั้งหมด ล้วนแต่ไม่เที่ยง รูปนี้ไม่ใช่ตัวเรา
หะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ รูปไม่เป็นเรา รูปไม่เป็นของๆเรา
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เราไม่ใช่รูปร่างกายนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้นเถิด
ยา กาจิ เวทะนา เวทนา คือความรู้สึก อย่างใดอย่างหนึ่ง
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, ทั้งที่เป็นอดีต ในอนาคต และในปัจจุบันก็ตาม
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, เวทนาอยู่ภายในก็ตาม ที่ภายนอกก็ตาม
โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนา วา ปะณีตา วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยา ทูเร สันติเก วา, อยู่ที่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม
สัพพา เวทะนา, เนตัง มะมะ เวทนาทั้งหมด เธอพึงรู้สึกด้วยปัญญาอันชอบ
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ ตามความจริงอย่างนี้ว่า เวทนานี้ไม่ใช่ของเรา
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เราไม่ใช่เวทนาอย่างนั้นอย่างนี้
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ และเวทนานี้ ก็มิใช่ตัวตนของเรา
ยา กาจิ สัญญา สัญญา ความจำได้ระลึกได้อย่างใดอย่างหนึ่ง
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, ที่มีแล้วในอดีต อนาคต แม้ในปัจจุบันก็ตาม,
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
โอฬาริกา วา สุขุมา วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนา วา ปะณีตา วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยา ทูเร สันติเก วา, ระลึกจำได้หมายรู้ที่อยู่ใกล้ก็ตาม ไกลก็ตาม
สัพพา สัญญา, เนตัง มะมะ สัญญาทั้งหมดนั้น ล้วนแต่ไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติฯ ไม่เป็นตัวตนของเรา เราไม่เป็นสัญญา
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญา-ความจำนี้ ด้วย
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ ปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนั้นเถิด
ยา เกจิ สังขารา, สังขารความคิดปรุงแต่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและในปัจจุบัน
อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา, ความคิดภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
โอฬาริกา วา สุขุมา วา, คิดหยาบก็ตาม คิดละเอียดก็ตาม
หีนา วา ปะณีตา วา, คิดเลวๆ ก็ตาม คิดอย่างประณีตก็ตาม
เย ทูเร สันติเก วา, คิดในเรื่องใกล้ตัวก็ตาม คิดเรื่องไกลก็ตาม
สัพพา สังขารา, เนตัง มะมะ สังขารทั้งหมด
ก็เป็นสักว่าสังขาร ล้วนไม่เที่ยง
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ ความคิดนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่ความคิดนี้
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เธอทั้งหลาย พึงเห็นสังขารด้วยปัญญาอัน
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ ชอบตามความเป็นจริงแล้วอย่างนั้นเถิด
ยังกิญจิ วิญญาณัง ความรับรู้ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และในปัจจุบัน
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา, ภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนัง วา ปะณีตัง วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยันทูเร สันติเก วา, ไกลก็ตาม ใกล้ก็ตาม
สัพพัง วิญญาณัง, เนตัง มะมะ วิญญาณทั้งหมดไม่เที่ยงนี้ ไม่ใช่ตัวเรา
เนโสหะมัสฺมิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ นั่นไช่ของๆเรา เราไม่ใช่ความรู้สึกเหล่านี้
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณด้วยปัญญาอัน
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ ชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้นเถิด
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยะสาวกผู้ได้สดับฟัง
สุตฺวา อะริยะสาวะโก, และพิจารณาตามรู้และเห็นอยู่ อย่างนี้แล้ว
รูปัสมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ร่างกายทั้งหลาย
เวทะนายะปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา ความรู้สึกต่างๆ
สัญญายะปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในสัญญา ความจำต่างๆ
สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร การปรุงแต่งต่างๆ
วิญญาณัสมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ การรับรู้ต่างๆ
นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
วิราคา วิมุจจะติ ฯ เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น
วิมุตตัสฺมิง วิมุตตะมีติ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
ญาณัง โหติ, ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว
ขีณา ชาติ, รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว หมดสิ้นความเกิดแล้ว
วุสิตัง พรัหมะจะริยัง, พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์หมดจด อยู่จบแล้ว
กะตัง กะระณียัง, นาปะรัง กิจที่ควรทำได้กระทำสำเร็จแล้ว กิจอื่น
อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ เพื่อความเป็นผู้หมดจดจากกิเลส ไม่มีอีกแล้ว
อิทะมะโวจะ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส อนัตตลักขณสูตร
อัตตะมะนา ปัจจะวัคคิยา ภิกขู นี้จบลง ภิกษุปัญจวคีย์ ต่างก็มีใจยินดี ชื่นชม
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ ในพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยา- ก็ในขณะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังตรัส
กะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน, เทศนาพระภาษิตนี้อยู่ จิตของพระภิกษุปัญจว
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง -คีย์เหล่านั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง
อะนุปาทายะ, อาสะเวหิ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ละปล่อยวางอุปาทาน
จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แล ฯ


อาทิตตะปะริยายะสุตตัง
02/02/15
อาทิตตะปะริยายะสุตตัง
( เรียงแบบสวดบาลี ไม่ได้เรียงแบบสวดมนต์แปลไทย)
หันทะ มะยัง อาทิตตะปะริยายะสุตตัง ภะณามะ เส ฯ

เอวัมเม สุตัง ฯ ข้าพเจ้า (พระอานนท์)
ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
คะยายัง วิหาระติ คะยาสีเส, เสด็จประทับ ณ ตำบลคยาสีสะใกล้แม่น้ำคยา
สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ ฯ พร้อมด้วยภิกษุ ๑,๐๐๓ รูป
ตัตฺระ โข ภะคะวา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ภิกขู อามันเตสิ ฯ ทั้งหลายให้สดับเนื้อความพระพุทธภาษิตนี้ว่า
สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง ฯ ก็อะไรเล่า ที่ชื่อว่าเป็นของร้อน
จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง, ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นของร้อน
รูปา อาทิตตา, รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน
จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง. วิญญาณที่เกิดจากตา+รูป เป็นอารมณ์ร้อน
จักขุสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางตา เป็นของร้อน
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา ความรู้สึกเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, การสัมผัสทางตา เป็นตัวปัจจัย แม้อันใด
สุขัง วา ทุกขัง วา จะรู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟคือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไปคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน ฯ
โสตัง อาทิตตัง, หู เป็นของร้อน
สัททา อาทิตตา, เสียง เป็นของร้อน
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง, อารมณ์เกิดขึ้นทางหู+เสียง เป็นของร้อน
โสตะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางหู เป็นของร้อน
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นได้
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยหูสัมผัสเสียงเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา จะรู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตังฯ ร้อนเพราะอะไรเล่า ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟ คือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟ คือโทสะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟ คือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร้ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า นี้เป็นของร้อน ฯ
ฆานัง อาทิตตัง, จมูก เป็นของร้อน
คันธา อาทิตตา, กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง, อารมณ์เกิดขึ้นทางจมูก+กลิ่นเป็นของร้อน
ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางจมูก เป็นของร้อน
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์เกิดขึ้นได้
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไปคือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า เหล่านี้เป็นของร้อน
ชิวหา อาทิตตา, ลิ้นเป็นของร้อน
ระสา อาทิตตา, รสทั้งหลายเป็นของร้อน
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง, การเสวยอารมณ์ทางลิ้นเป็นของร้อน
ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางลิ้นเป็นของร้อน
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา เวทนา ความรู้สึกเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่มุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟคือราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เรากล่าวว่า นี้เป็นของร้อน
กาโย อาทิตโต, กายเป็นของร้อน
โผฏฐัพพา อาทิตตา, สิ่งที่มาถูกต้องกายเป็นของร้อน
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง, การเสวยอารมณ์ทางกายเป็นของร้อน
กายะสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางกายเป็นของร้อน
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟโทสะ ไฟเพราะไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า นี้เป็นของร้อน
มะโน อาทิตโต, ใจเป็นของร้อน
ธัมมา อาทิตตา, อารมณ์ที่เกิดกับใจเป็นของร้อน
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง, การเสวยอารมณ์ทางใจเป็นของร้อน
มะโนสัมผัสโส อาทิตโต, การสัมผัสทางใจ เป็นของร้อน
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อนที่ใจ
เกนะ อาทิตตัง ฯ ร้อนเพราะอะไร ?
อาทิตตัง ราคัคคินา ร้อนเพราะไฟราคะ
โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟโทสะ ไฟเพราะไฟโมหะ
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด แก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ ร้อนเพราะความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คับแค้นใจ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เราจึงกล่าวว่า นี้เป็นของร้อน
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับฟังแล้ว
สุตฺวา อะริยะสาวะโก ฯ, ย่อมเห็นอยู่อย่างนี้
จักขุสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ตา
รูเปสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย รูปทั้งหลาย
จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในการเสวยอารมณ์ทางตา
จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายในการสัมผัส ด้วยตา
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางตา เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
โสตัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย หู
สัทเทสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายใน เสียงทั้งหลาย
โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย อารมณ์ทีเกิดขึ้น ทางหู
โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในการสัมผัส ทางหู
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางหู เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
ฆานัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย จมูก
คันเธสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกลิ่น
ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ทางจมูก
ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัสทางจมูก
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
ชิวหายะปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ลิ้น
ระเสสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน รส
ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางลิ้น
ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางลิ้น
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางลิ้น เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
กายัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ในกาย
โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในสิ่งที่ถูกต้องทางกาย
กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางกาย
กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางกาย
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางกาย เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
มะนัสฺมิงปิ นิพพินทะติ, อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ใจ
ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในธัมมารมณ์ที่เกิดกับใจ
มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย ในการเสวยอารมณ์ ทางใจ
มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในการสัมผัส ทางใจ
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา เวทนาความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้น
อุปฺปัชชะติ เวทะยิตัง, เพราะอาศัยการสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย
สุขัง วา ทุกขัง วา รู้สึกเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
อะทุกขะมะสุขัง วา, หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา คือความรู้สึกนั้นๆ
เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ไม่ยินดี
วิราคา วิมุจจะติ ฯ เพราะสิ้นกำหนัดไม่ยินดี จิตก็หลุดพ้น
วิมุตตัสฺมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง เมื่อจิตหลุดพ้น ญาณก็หยั่งรู้ว่าจิตพ้นแล้ว
โหติ ฯ
ขีณา ชาติ, อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
วุสิตัง พฺรัหฺมะจะริยัง, พรหมจรรย์บริสุทธิ์หมดจด อยู่จบแล้ว
กะตัง กะระณียัง, กิจที่ควรกระทำ ได้กระทำสำเร็จแล้ว
นาปะรัง อิตถัตตายาติ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ก็ไม่มีอีกแล้ว
ปะชานาตีติ ฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมอันเป็น
เหตุให้ใจเร่าร้อน โดยปริยายอันนี้แล้ว
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภิกษุเหล่านั้น ต่างก็มีใจยินดี ชื่นชมใน
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมัสฺมิญจะ ปะนะ ก็เมื่อตรัส เวยยากรณ์ภาษิต ละเอียดพิศดาร
เวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน, ในธรรมอันเป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน ขณะนั่นแล
ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ, ภิกษุหนึ่งพันรูปนั้นก็พ้นจากอุปาทาน
อะนุปาทายะ, ทั้งหลาย
อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ จิตหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง เพราะไม่
ยึดมั่นถือมั่น ดังนี้แล


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก
02/02/15
ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก
ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอม
ซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น
จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับ
อานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว
ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง
ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ
อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว

คำบูชาพระรัตนตรัย โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ

นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้
๑.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา
๒.
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
๔.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ
๕.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
๗.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
๘.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
๙.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
๑๑.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
๑๒.
กุสะลา ธัมมา
อิติปิ โส ภะคะวา
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมายะ
นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
อา ปา มะ จุ ปะ
ที มะ สัง อัง ขุ
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
อิ สวา สุ สุ สวา อิ
กุสะลา ธัมมา
จิตติวิอัตถิ
๑๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา
๑๔.
กุสะลา ธัมมา
นันทะวิวังโก
อิติ สัมมาพุทโธ
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
พรหมมาสัททะ
ปัญจะ สัตตะ
สัตตาปาระมี
อะนุตตะโร
ยะมะกะขะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๕.
ตุสิตา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
ปุ ยะ ปะ กะ
ปุริสะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๖.
นิมมานะระติ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๗.
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
สังขาระขันโธ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
๑๘.
พรหมมา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ
นะโม ธัมมัสสะ
นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๑๙.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
๒๐.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
๒๑.
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
โมกขัง คุยหะกัง
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
๒๒.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม อิติปิโส ภะคะวา
๒๓.
นะโม พุทธัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
๒๔.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
๒๕.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
๒๖.
นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง
๒๗.
นะโม พุทธายะ
มะอะอุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย
นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
อุ อะมะ อาวันทา
นะโม พุทธายะ
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา


พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)



๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป
ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก
ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ
ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา
ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง


บทสวดมหาสมัยสูตร
02/02/15
บทสวดมหาสมัยสูตร
ที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ (พร้อมคำแปล)
เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง
มะหาวะเน มะหะตาภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมะเตหิ ภิกขุสะเตหิ
สัพเพเหวะอะระหันเตหิ. ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ
สันนิปะติตา โหนติภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ. อะถะโข
จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานังเทวานัง เอตะทะโหสิ. อะยังโข ภะคะวา
สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง มะหาวะเนมะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง
ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ
เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะภิกขุสังฆัญจะ
ยันนูนะ มะยัมปิ เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ อุปะสังกะมิตวา
ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะคาถา ภาเสยยามาติ.

อะถะโข ตา เทวะตา เสยยะถาปินามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา
พาหัง ปะสาเรยยะ ปาสาริตัง วา พาหังสัมมิญเชยยะ เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ
เทเวสุ อันตะระหิตา ภะคะวะโต ปุระโตปาตุระหังสุ. อะถะโข ตา
เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ.เอกะมันตัง
ฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ

มะหาสะมะโยปะวะนัสมิง เทวะกายา สะมาคะตา อาคะตัมหะ อิมัง
ธัมมะสะมะยัง ทักขิตาเยวะ อะปะราชิตะสังฆันติ. อะถะโข อะปะรา
เทวะตาภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. ตัตระ ภิกขะโว
สะมาทะหังสุ จิตตังอัตตะโน อุชุกะมะกังสุ สาระถีวะ เนตตานิ คะเหตวา
อินทริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติ.อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต
สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. เฉตวา ขีลัง เฉตวาปะลีฆัง อินทะขีลัง
โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา จักขุมะตา สุทันตาสุสู นาคาติ
อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ.

เย เกจิ พุทธัง สะระณังคะตา เส นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง ปะหายะ
มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติ.

อะถะโข ภะคะวา ภิกขูอามันเตสิ เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุเทวะตา
สันนิปะติตา ตะถาคะตังทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ เยปิ เต ภิกขะเวอะเหสุง
อะตีตะมัทธานัง อะระหันโตสัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานังเอตะปะระมาเยวะ
เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง.เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ.

อะนาคะตะมัทธานังอะระหันโต สัมมาสัมพุทธา, เตสัมปิ ภะคะวันตานัง
เอตะปะระมาเยวะ เทวะตาสันนิปะติตา ภะวิสสันติ. เสยยะถาปิ มัยหัง
เอตะระหิ อาจิกขิสสามิ ภิกขะเวเทวะกายานัง นามานิ.

กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ เทสิสสามิภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ.
ตัง สุณาถะ สาธุกัง มะนะสิกะโรถะ ภาสิสสามีติ.เอวัมภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต
ปัจจัสโสสุง. ภะคะวาเอตะทะโวจะ.

สิโลกะมะนุสกัสสามิ
ยัตถะ ภุมมา ตะทัสสิตาเย สิตา คิริคัพภะรัง
ปะหิตัตตา สะมาหิตา ปุถู สีหาวะสัลลีนา
โลมะหังหาภิสัมภิโน โอทาตะมะนะสา สุทธา
วิปปะสันนะมะนาวิลาภิยโย ปัญจะสะเต ญัตวา
วะเน กาปิละวัตถะเว ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเกสาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะเว เตจะอาตัปปะมะกะรุง
สัตวา พุทธัสสะ สาสะนัง เตสัมปาตุระหุญาณัง
อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง อัปเปเก สะตะมัททักขุง
สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง สะตัง เอเก สะหัสสานัง
อะมะนุสสานะมัททะสุง อัปเปเกนันตะมัททักขุง
ทิสา สัพพา ผุฏา อะหุง ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เตวิชานาถะ ภิกขะโว เย โวหัง กิตตะยิสสามิ
คิราหิอะนุปุพพะโส
สัตตะสะหัสสา วะยักขา
ภุมมา กาปิละวัตถะวาอิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโนโมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ฉะสะหัสสาเหมะวะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
สาตาคิรา ติสะหัสสา
ยักขา นานัตตะวัณณิโนอิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
อิจเจเต โสฬะสะสะหัสสา
ยักขานานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโตยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติงวะนัง.
เวสสามิตตา ปัญจะสะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

กุมภิโรราชะคะหิโก
เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง ภิยโย นังสะตะสะหัสสัง
ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ กุมภิโร ราชะคะหิโก
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
ปุริมัณจะ ทิสัง ราชา
ธะตะรัฏโฐ ปะสาสติ คันธัพพานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนังสะมิติง วะนัง.

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา
วิรุฬโหตัปปะสาสะติ กุมภัณฑานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ปัจฉิมัญจะ ทิสังราชา
วิรูปักโข ปะสาสติ นาคานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนังสะมิติง วะนัง.
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา
กุเวโร ตัปปะสาสะติยักขานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.

ปุริมะทิสังธะตะรัฏโฐ
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง. จัตตาโร เต มะหาราชา
สะมันตา จะตุโร ทิสา ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ
วะเน กาปิละวัตถะเว. เตสัง มายาวิโน ทาสา
ยาคู วัญจะนิกา สะฐา มายา กุเฎณฑุ เวเฏณฑุ
วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ
กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ
เทวะสูโต จะ มาตะลิ จิตตะเสโน จะ คันธัพโฑ
นะโฬราชา ชะโนสะโภ อาคู ปัญจะสิโข เจวะ
ติมพะรู สุริยะวัจฉะสา เอเต จัญเญ จะ ราชาโน
คันธัพพา สะหะ ราชุภิ โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิตัง วินัง.

อะถาคู นาภะสา นาคา
เวสาลา สะหะตัจฉะกา กัมพะลัสสะตะรา อาคู
ปายาคาสะหะ ญาติภิ. ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ
อาคู นาคา ยะสัสสิโนเอราวัณโณ มะหานาโค
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.

เย นาคะราเชสะหะสา หะรันติ ทิพพา ทิชา ปักขิ วิสุทธะจักขู เวหายะสา เต
วะนะมัชฌะปัตตาจิตรา สุปัณณา อิติ เตสะ นามัง อะภะยันตะทา
นาคะราชานะมาสิ สุปัณณะโตเขมะมะกาสิ พุทโธ สัณหาหิ วาจาหิ
อุปะวะหะยันตา นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุพุทธัง.

ชิตา วะชิระหัตเถนะ
สะมุททัง อะสุรา สิตา ภาตะโร วาสะวัสเสเต
อิทธิมันโต ยะสัสสิโน กาละกัญชา มะหาภิสมา
อะสุรา ทานะเวฆะสา เวปะจิตติ สุจิตติ จะ
ปะหาราโท นะมุจี สะหะ สะตัญจะ พะลิปุตตานัง
สัพเพ เวโรจะนามะกา สันนัยหิตวา พะลิง เสนัง
ราหุภัททะมุปาคะมุง สะมะโยทานิ ภัททันเต
ภิกขุนัง สะมิติง วินัง.

อาโป จะ เทวา ปะฐะวี จะ เตโช วาโย ตะทาคะมุง
วะรุณา วารุณา เทวา โสโมจะ ยะสะสา สะหะ
เมตตากะรุณากายิกา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
เวณฑู จะ เทวา สะหะลี จะอะสะมา จะ ทุเว ยะมา จันทัสสูปะนิสาเทวา
จันทะมาคู ปุรักขิตา สุริยัสสูปะนิสา เทวา
สุริยะมาคู ปุรักขิตา นักขัตตานิ ปุรักขิตวา
อาคู มันทะพะลาหะกา วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ
สักโก ปาคะ ปุรินทะโท ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
อะถาคู สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ
อุมมา ปุปผะนิภาสิโน วะรุณา สะหะธัมมา จะ
อัจจุตา จะ อะเนชะกา สุเลยยะรุจิรา อาคูอาคู วาสะวะเนสิโนทะเสเต
ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุงภิกขูนัง สะมิติงวินัง.

สะมานา มะหาสะมานา
มานุสามานุสุตตะมา ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู
อาคูมะโนปะทูสิกา อะถาคู หะระโย เทวา
เย จะโลหิตะวาสิโน ปาระคา มะหาปาระคา
อาคู เทวายะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพนานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

สุกกา กะรุมหา อะรุณา
อาคู เวฆะนะสา สะหะ โอทาตะคัยหา ปาโมกขา
อาคู เทวา วิจักขะณา สะทามัตตา หาระคะชา
มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน ถะนะยัง อาคา ปะชุนโน
โย ทิสา อะภิวัสสะติ ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

เขมิยา ตุสิตา ยามา
กัฏฐะกา จะ ยะสัสสิโน ลัมพิตะกา ลามะเสฏฐา
โชติมานา จะ อาสะวา นิมมานะระติโน อาคู
อะถาคู ปะระนิมมิตา ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.

สัฏเฐเต เทวะนิกายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน นามันวะเยนะ อาคัญฉุง
เย จัญเญ สะทิสา สะหะ ปะวุตถะชาติมักขีลัง
โอฆะติณณะมะนาสะวัง ทักเข โมฆะตะรัง นาคัง
จันทังวะ อะสิตาสิตัง สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ
ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ สันนังกุมาโร ติสโส จะ
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.

สะหัสสะพรัหมะโลกานัง
มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ อุปะปันโน ชุติมันโต
ภิสมากาโย ยะสัสสิ โส. ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู
ปัจเจกะวะสะวัตติโน เตสัญจะ มัชธะโต อาคา
หาริโต ปะริวาริโต. เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต
สินเท เทเว สะพรัหมะเก มาระเสนา อะภิกกามิ
ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง เอถะ คัณหะถะ พันธะถะ
ราเคนะ พันธมัตถุ โว สะมันตา ปะริวาเรถะ
มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง. อิติ ตัตถะ มะหาเสโน
กัณหะเสนัง อะเปสะยิ ปาณินา ตะละมาหัจจะ
สะรัง กัตวานะ เภระวัง. ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ
ถะนะยันโต สะวิชชุโก ตะทา โส ปัจจุมาวัตติ
สังกุทโธ อะสะยังวะเส. ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วิวักขิตวานะ จักจุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต มาระเสนา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะโว.

เต จะ อาตัปปะมะกะรุง
สุตวา พุทธัสสะ สาสะนัง วีตะราเคหิ ปักกามุง
เนสัง โลมัมปิ อิญชะยุง. สัพเพ วิชิตะสังคามา
ภะยาตีตา ยะสัสสิโน โมทันติ สะหะ ภูเตหิ
สาวะกา เต ชะเนสุตาติ.
มะหาสะมะยะสุตตัง นิฏฐิตัง.

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค - ๗. มหาสมัยสูตร
[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

มหาสมัยสูตร (แปล)

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกะ ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วน เป็นพระอรหันต์ ก็พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ฯ

ครั้งนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้มีความดำริว่า
พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้แล ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ก็พวก เทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุ สงฆ์ ไฉนหนอ แม้พวกเราก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว พึงกล่าวคาถาเฉพาะองค์ละคาถา ในสำนักพระผู้มีพระภาค

ลำดับนั้น เทวดา พวกนั้น หายไป ณ เทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏเบื้องพระพักตร์พระผู้ มี พระภาค เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดออกเข้า ฉะนั้น เทวดาพวกนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่า


การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ หมู่เทวดามาประชุมกันแล้วพวกเรา พากันมาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อได้เห็นหมู่ท่านผู้ชนะมาร ฯ

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่าภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น มั่นคง กระทำจิตของตนๆ ให้ ตรง บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมรักษาอินทรีย์ เหมือนสารถีถือบังเหียนขับม้า ฉะนั้น ฯ

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก ถอน กิเลสดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว หมดจด ปราศ จากมลทิน เที่ยวไป ท่านเป็นหมู่นาคหนุ่ม อันพระผู้มีพระภาค ผู้มีจักษุทรงฝึกดีแล้ว ฯ

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะ เขาจัก ไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้บริบูรณ์ ฯ

ชื่อของหมู่เทวดา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเทวดาในโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา ตถาคตและภิกษุสงฆ์ พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละได้ประชุมกัน เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้มีแล้วในอดีตกาล เหมือนที่ ประชุมกันเพื่อทัศนาเราในบัดนี้ พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละ
จักประชุมกันเพื่อ ทัศนาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมีในอนาคตกาล เหมือนที่ประชุมกัน
เพื่อทัศนาเราในบัดนี้ เราจักบอกนามพวกเทวดา เราจักระบุนามพวกเทวดา เราจักแสดงนาม พวกเทวดา พวกเธอจงฟังเรื่องนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระคาถานี้ว่า

เราจักร้อยกรองโศลก ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พวกภิกษุก็ อาศัยที่นั้น ภิกษุพวกใดอาศัยซอกเขา ส่งตนไปแล้ว มีจิตตั้งมั่น ภิกษุพวกนั้น เป็นอันมาก เร้นอยู่ เหมือนราชสีห์ ครอบงำความขนพองสยองเกล้าเสียได้ มีใจผุดผ่อง เป็นผู้ หมดจด ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว พระศาสดาทรงทราบภิกษุประมาณ ๕๐๐ เศษ ที่อยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์

แต่นั้นจึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนา ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น ภิกษุเหล่านั้นสดับรับสั่งของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ กระทำความเพียร ญาณเป็นเครื่องเห็นพวกอมนุษย์ ได้ปรากฏแก่ ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวก ได้เห็นอมนุษย์ร้อยหนึ่ง บางพวก ได้เห็นอมนุษย์พันหนึ่ง บางพวกได้เห็นอมนุษย์เจ็ดหมื่น บาง พวกได้เห็นอมนุษย์หนึ่งแสน บางพวกได้เห็นไม่มีที่สุด อมนุษย์ได้แผ่ไปทั่วทิศ พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงใคร่ครวญ
ทราบเหตุนั้นสิ้นแล้ว แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีใน พระศาสนาตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น เราจักบอกพวกเธอด้วยวาจา ตามลำดับ ยักษ์เจ็ดพันเป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่ในพระนคร กบิลพัสดุ์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์หกพันอยู่ที่เขาเหมวตามี รัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์สามพันอยู่ที่เขา สาตาคีรี มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
ยักษ์เหล่านั้นรวม เป็นหนึ่งหมื่นหกพัน มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพมีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์ ห้าร้อยอยู่ที่เขาเวสสามิตตะ มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนครราชคฤห์ เขาเวปุลละ เป็นที่อยู่ของยักษ์นั้น ยักษ์แสนเศษแวดล้อมยักษ์ชื่อกุมภีระ นั้น ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนครราชคฤห์แม้นั้น ก็ได้มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

ท้าวธตรัฏฐอยู่ด้านทิศบูรพา ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท มีกำลังมากมีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าววิรุฬหก อยู่ด้านทิศทักษิณ ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินทมีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าววิรูปักษ์อยู่ด้านทิศปัจจิม ปก ครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกนาค เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

ท้าวกุเวร อยู่ด้านทิศอุดร ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวก ยักษ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มากมีนามว่าอินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวธตรัฏฐเป็นใหญ่ทิศ บูรพา ท้าววิรุฬหก เป็นใหญ่ทิศทักษิณ ท้าววิรูปักษ์เป็นใหญ่ ทิศปัจจิม ท้าวกุเวรเป็นใหญ่ทิศอุดร ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองได้ยืนอยู่แล้วในป่าเขตพระ นครกบิลพัสดุ์ ฯ
ท้าวโลกบาลทั้ง ๔
พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีมายา ล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ มา ด้วยกัน มีชื่อคือกุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑ วิฏ ๑ วิฏฏะ ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ และท้าวเทวราชทั้งหลายผู้มีนาม ว่าปนาทะ ๑ โอป มัญญะ ๑ เทพสารถีมีนามว่า มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ผู้คนธรรพ์ ๑ นโฬราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา เทพธิดา ๑ มาทั้งนั้น ราชาและคนธรรพ์พวกนั้น และพวกอื่น กับเทวราชทั้งหลายยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุอนึ่งเหล่านาคท ี่อยู่ใน สระชื่อนภสะบ้าง อยู่ในเมืองเวสาลีบ้าง พร้อมด้วยนาคบริษัทเหล่าตัจฉกะ กัมพลนาค และอัสสตรนาคก็มา นาคผู้อยู่ในท่า ชื่อปายาคะ กับญาติ ก็มา นาคผู้อยู่ใน แม่น้ำยมุนา เกิดในสกุลธตรัฏฐ ผู้มียศ ก็มาเอราวัณเทพบุตรผู้เป็นช้างใหญ่ แม้นั้นก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

ปักษีทวิชาติผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ นำนาคราชไปได้ โดยพลันนั้น มาโดยทางอากาศถึงท่ามกลางป่า ชื่อของปักษีนั้นว่า จิตรสุบรรณ ในเวลานั้น นาคราชทั้งหลาย ไม่ได้มีความ กลัวพระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำให้ปลอดภัยจากครุฑ นาคกับ ครุฑเจรจากัน ด้วยวาจาอันไพเราะ กระทำพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะ พวกอสูรอาศัยสมุทรอยู่ อันท้าววชิรหันถ์รบชนะแล้ว เป็นพี่น้องของท้าววาสพ มีฤทธิ์ มียศ เหล่านี้คือพวก กาลกัญชอสูร มีกายใหญ่น่ากลัวก็มา พวกทานเวฆสอสูรก็มา เวปจิตติอสูรสุจิตติอสูร ปหาราทอสูร และนมุจีพระยามารก็มาด้วยกัน บุตรของพลิอสูรหนึ่งร้อย มีชื่อว่าไพโรจน์ทั้งหมดผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง เข้าไปใกล้อสุรินทราหู แล้วกล่าว ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัยที่จะประชุมกัน ดังนี้แล้ว เข้าไปยังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

เทวนิกาย
ในเวลานั้น เทวดาทั้งหลาย ชื่ออาโป ชื่อปฐวี ชื่อเตโช ชื่อวาโย ได้พากันมาแล้ว เทวดา ชื่อวรุณะ ชื่อวารุณะ ชื่อโสมะ ชื่อยสสะ ก็มาด้วยกัน เทวดาผู้บังเกิดในหมู่เทวดาด้วยเมตตาและกรุณาฌาน เป็นผู้มียศ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ เทวดา ชื่อเวณฑู ชื่อสหลี ชื่ออสมา ชื่อยมะ ทั้งสองพวก ก็มา เทวดาผู้อาศัยพระจันทร์ กระทำพระจันทร์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา

เทวดาผู้อาศัยพระอาทิตย์ กระทำพระอาทิตย์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา เทวดากระทำนักษัตรไว้ใน เบื้องหน้าก็มา มันทพลาหกเทวดาก็มา แม้ท้าวสักกปุรินททวาสวะ ซึ่งประเสริฐกว่าสุเทวดาทั้งหลายก็เสด็จมา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพมีรัศมี ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ อนึ่งเทวดาชื่อสหภูผู้รุ่งเรืองดุจเปลวไฟก็มา เทวดาชื่ออริฏฐกะ ชื่อโรชะ มีรัศมีดังสีดอกผักตบก็มา เทวดาชื่อวรุณะ ชื่อสหธรรมชื่ออัจจุตะ ชื่ออเนชกะ ชื่อสุเลยยะ ชื่อรุจิระก็มา เทวดา ชื่อวาสวเนสีก็มา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมด ล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมีมียศ ยินดี มุ่ง มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดาชื่อสมานะ ชื่อ มหาสมานะ ชื่อมานุสะ ชื่อมานุสุตตมะ ชื่อขิฑฑาปทูสิกะ ก็มา เทวดาชื่อมโนปทูสิกะก็มา อนึ่ง เทวดาชื่อหริ เทวดาชื่อโลหิต วาสี ชื่อปารคะ ชื่อมหาปารคะ ผู้มียศ ก็มา
หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวกทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดา ชื่อสุกกะ ชื่อกรุมหะ ชื่ออรุณะ ชื่อเวฆนสะก็มาด้วยกันเทวดาชื่อโอทาตคัยหะ ผู้เป็นหัวหน้า เทวดาชื่อวิจักขณะ ก็มา เทวดาชื่อสทามัตตะ ชื่อหารคชะ และชื่อมิสสกะ ผู้มียศ ก็มา ปชุนนเทวบุตร ซึ่งคำรามให้ฝนตกทั่วทิศก็มา

หมู่เทวดา๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุเทวดาชื่อเขมิย ะ เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นยามะ และเทวดาชื่อกัฏฐกะ มียศ เทวดาชื่อลัมพิตกะ ชื่อลามเสฏฐะ ชื่อโชตินามะ ชื่ออาสา และเทวดาชั้นนิมมานรดีก็มา อนึ่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตะก็มา

หมู่เทวดา ๑๐เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ หมู่เทวดา ๖๐เหล่านี้ ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มาแล้วโดยกำหนดชื่อ และ เทวดาเหล่าอื่นผู้เช่นกัน มาพร้อมกันด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจัก เห็นพระนาคผู้ปราศจากชาติ ไม่มีกิเลสดุจตะปู มีโอฆะอัน ข้ามแล้ว ไม่มีอาสวะข้ามพ้นโอฆะ ผู้ล่วงความยึดถือได้แล้ว ดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น. ฯ
พรหมนิกาย
สุพรหมและปรมัตตพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้มี ฤทธิ์ ก็มาด้วย สนังกุมารพรหม และติสสพรหมแม้นั้น ก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวมหาพรหมย่อมปกครอง พรหมโลกพันหนึ่ง ท้าวมหาพรหมนั้นบังเกิดแล้วในพรหมโลก มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา

พรหม๑๐ พวก ผู้เป็น อิสระในพวกพรหมพันหนึ่ง มีอำนาจเป็นไปเฉพาะองค์ละอย่างก็มา มหาพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้ว มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น มารเสนา ได้เห็นพวกเทวดา พร้อมทั้ง พระอินทร์ พระพรหมทั้งหมดนั้น ผู้มุ่งมา ก็มาด้วย แล้วกล่าวว่าท่านจงดูความเขลาของมาร พระยามารกล่าวว่า พวกท่านจงมาจับ เทวดาเหล่านี้ผูกไว้ ความผูกด้วยราคะ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงล้อมไว้โดยรอบ อย่าปล่อยใครๆ ไป พระยามารบัง คับเสนามารในที่ประชุมนั้นดังนี้แล้ว เอาฝ่ามือตบแผ่นดิน กระทำเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆยังฝนให้ตก คำรามอยู่ พร้อมทั้ง ฟ้าแลบ ฉะนั้น เวลานั้น พระยามารนั้นไม่อาจยังใครให้เป็นไป ในอำนาจได้ โกรธจัด กลับไปแล้ว พระศาสดาผู้มีพระจักษุทร พิจารณาทราบเหตุนั้นทั้งหมด แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ ยินดีในพระศาสนาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารเสนามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา
ภิกษุเหล่านั้นสดับพระดำรัสสอนของพระ พุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความเพียร มารและเสนามารหลีกไป จากภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่ยังแม้ขนของท่านให้ไหว (พระยามารกล่าวสรรเสริญว่า) พวกสาวกของพระองค์ทั้งหมดชนะ สงครามแล้ว ล่วงความกลัวได้แล้ว มียศปรากฏในหมู่ชนบันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้า ผู้เกิดแล้วในพระศาสนา ดังนี้แล. ฯ

จบมหาสมัยสูตร ที่ ๗


พระคาถาชินบัญชร
02/02/15
พระคาถาชินบัญชร
คาถาบูชาสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ
...................

พระคาถาชินบัญชร
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้นก่อนเจริญภาวนาชินบัญชรตั้งนะโม 3 จบก่อน แล้วระลึกถึง
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง
สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล
จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร

หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ
ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเก

เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโว

กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุต
ตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะ
กัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลัง
กาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ
ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ
ชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.
...............................................


พระคาถาชินบัญชร (แปล)

คำแปลชินบัญชร

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

มี 28 พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น.

ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก.

พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่หูซ้าย

มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ๋

พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

พระขันธปริตร พระโมรปริตรและพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล

ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.


เมตตาพรหมวิหาร
02/02/15
เมตตาพรหมวิหาร
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?
(1) สุขัง สุปะติ (2) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (3) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (4) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
(5) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (6) เทวะตา รักขันติ (7) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (8) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
(9) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (10) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (11) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(1) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ

เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.

เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่แปล)

ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีฯ ณ โอกาสนั้นและรพผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฯ พระผู้มีพระภาคได้ประทานพระดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย (คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะรับ) อานิสงส์ 11 ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนต้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้ว ทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม (ด้วยวสี 5 ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ อานิสงส์ 11 ประการ (ของเมตตาเจโตวิมุติ) คืออะไรบ้าง? (อานิสงส์ 11 ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ คือ)
(1) นอนหลับเป็นสุข
(2) ตื่นเป็นสุข
(3) ไม่ฝันร้าย
(4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
(5) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
(6) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
(7) ไฟ ยาพิษ หรือ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา
(8) จิตเป็นสมาธิเร็ว
(9) ผิวหน้าผ่องใส
(10) ไม่หลงตาย
(๑๑) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ หวังได้แน่นอนที่จะได้รับ อานิสงส์ 11 ประการของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนส้องเสพ ทำให้ชำนาญ แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม ด้วยวสี 5 ประการดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มีอยู่
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปเจาะจง บุคคล มีอยู่
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศที่มีอยู่ฯ
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง?

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มี 5 อย่าง
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มี 7 อย่าง
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศมี 10 อย่างฯ

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) 5 อย่างมีอะไรบ้าง?
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) 5 อย่าง คือ

(1) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(2) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(4) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(5) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) 7 อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) 7 อย่าง คือ)

(1) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ 10 อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ 10 อย่าง คือ)
(1) ประเภทที่ 1

(1) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(2) ประเภทที่ 2

(1) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(3) ประเภทที่ 3

(1) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(4) ประเภทที่ 4

(1) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(5) ประเภทที่ 5

(1) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(6) ประเภทที่ 6

(1) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(7) ประเภทที่ 7

(1) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(8) ประเภทที่ 8

(1) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(9) ประเภทที่ 9

(1) ขอปุถุชนขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(10) ประเภทที่ 10

(1) ขอเทวดาขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอผู้มีเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(11) ประเภทที่ 11

(1) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อก


พาหุง มหากา
02/02/15
พาหุง มหากา
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
มหาการุณิโก
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)


อาการวัตตาสูตร
02/02/15
อาการวัตตาสูตร
เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งแห่งพระคาถาอาการวัตตาสูตร ก่อนสวดพระอาการวัตตาสูตร ให้ขึ้นบทนี้ก่อน เพื่อความสมบูรณ์

อิติปิโส ภะคะวา กัมมัฏฐานัง สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะโลกา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโปธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เตโชธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วาโยธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสะธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โลกะธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุ สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา จาตุมหาราชิกา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตาวะติงสา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยามา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระตี เทวา สัมมาวิชสะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะริสัชชา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มหาพรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาภัสสะรา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตะสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุภะกิณหะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะสัญญิสัตตา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวหัปผะลา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะวิหา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะตัปปา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสี พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะกะนิฏฐะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะพรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญา ยะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติมัคโค สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติผะโล สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคโค สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิผะโล สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิมัคโค สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิผะโล สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะมัคโค สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะโล สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา นิพพานัง ปรระมัง สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมเมสัพพะพุทธานัง สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมโพธิมุตตะนัง สัมมาวิชจะระนะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา ตัณหังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เมธังกะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะระนังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทีปังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกญฑัญโญ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มังคะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เรวะโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสภิโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะโนมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นาระโท นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุมุตตะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุเมโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุชาโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปิยะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัตถะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ธัมมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิทธัตโถ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ติสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิปัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิขี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวสสะภู นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กะกุสันโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกนาคะมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กัสสะโป นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โคตะโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพพุคคะโต อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ วิชชาจะระนะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
โส อิมัง โลกัง สะเทวะวัง สะมาระกัง สะพรัมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โส ภะคะวา จักขุภูโต ญาณะภูโต ธัมมะภูโต ตัสสะทา ตัสสะทา ปะวัตตา อัสสะ ชะเนนตา อะมะตัสสะ ทาตา ธัมมะสามิ ธัมมะราชา ธังมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละ ปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ สาธุ โข ปะนะ ตะถารูปา

จากนั้นให้อัญเชิญพระธรรมหัวใจอาการวัตตาสูตร แล้วต่อด้วยอาการวัตตาสูตร



อาการวัตตาสูตร
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)

(คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า

    พระพุทธคุณวรรคที่1

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

    อภินิหารวรรคที่2

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์

    คัพภวุฏฐานวรรคที่3

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ

    อภิสัมโพธิวรรคที่4

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง

    มะหาปัญญาวรรคที่5

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส

    ปาระมิวรรคที่6

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้

    ทสบารมีวรรคที่7

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต

    วิชชาวรรคที่8

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า

    ปริญญาณวรรคที่9

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่ พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ

    โพธิปักขิยะวรรคที่10

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล

    ทศพลญาณวรรคที่11

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์ พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้

    กายพลวรรคที่12

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ

    ถามพลวรรคที่13

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้

    จริยาวรรคที่14

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์ พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี

    ลักขณวรรคที่15

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป

    คตัฏฐานวรรคที่16

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์

    ปเวณิวรรคที่17

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อยลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป


นมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ
02/02/15
นมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ
(นำ) หันทะมะยัง สะระภัญเญนะ พุทธะ มังคะละ คาถาโย ภะณามะ เส ฯ
(รับ) สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณทัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคะเณยเย จะ กัสสโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะ ปัจฉิเมปิ จะ
อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร
อิสาเณปิ จะ ราหุโล อิเมโข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ
ปะติฏฐิตา วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ
จะ ปูชิตา เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี
ภะวันตุโน อิจเจวะมัจจันตะ นะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย ฯ


คาถาบูชาดวงชะตา
02/02/15
คาถาบูชาดวงชะตา
นะโม เม สัพพะเทวานัง
สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง
สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ
สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง
วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ
ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง
โสโร ราหูเกตุ จะ มะหาลาภัง
สัพพะ ภะยัง วินาสสันติ
สัพพะทุกขัง วินาสสันติ
สัพพะโรคัง วินาสสันติ
ลักขะณา อะหัง วันทามิ สัพพะทา
สัพเพเทวา มัง ปาละยันตุ สัพพะทา
เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ
นะโม เม สัพพะเทวานัง
สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง
สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ
สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง
วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ
ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง
โสโร ราหูเกตุ จะ มะหาลาภัง
สัพพะ ภะยัง วินาสสันติ
สัพพะทุกขัง วินาสสันติ
สัพพะโรคัง วินาสสันติ
ลักขะณา อะหัง วันทามิ สัพพะทา
สัพเพเทวา มัง ปาละยันตุ สัพพะทา
เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ


อุณหิสสะวิชชะยะคาถา
02/02/15
อุณหิสสะวิชชะยะคาถา
อัตถิ อุณ์หิสสะ วิชะโย                ธัมโม โลเก อะนุตตะโร
สัพพะสัตตะหิตัตถายะ                ตัง ต์วัง คัณหาหิ เทวะเต
ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ                อะมะนุสเสหิ ปาวะเก
พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต                อะกาละมะระเณนะ วา
สัพพัส์มา มะระณา มุตโต....                ฐะเปต์วา กาละมาริตัง
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ                โหตุ เทโว สุขี สะทา
สุทธะสีลัง สะมาทายะ                ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ                โหตุ เทโว สุขี สะทา
ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง                ธาระณัง วาจะนัง คะรุง
ปะเรสัง เทสะนัง สุต์วา ....                ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ


จุลชัยยะมงคลคาถา
02/02/15
จุลชัยยะมงคลคาถา
นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา
สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
สะมุทา ภูตุง คังกา จะ สะพรัหมา ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุเต

ชัยยะ ชัยยะ ธ รณี ธ รณี อุทะธิ อุทะธิ นะ ทิ นะ ที
ชัยยะ ชัยยะ คะคน ละตน ละนิสัย นิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพล น ระชี
ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระ โสมภี นาเคน ทะนาคี ปิ ศาจ จะ ภู ตะกาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา

ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณโถ

ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุ ชง สีหะ เพียคฑะ ทีปา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี

ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา

ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข

ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา

ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพ พัง

ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจ กะพุทธะสา วัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุโร หะโร หะริน เทวา

ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬ หะโก วิรู ปักโข จัน ทิมา ระวิ

อินโท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ
อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก
อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย
อิสิ โน สา วะกา สัพ พา ชัย ยะ ราโม ภะวัน ตุเต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะ กัง
เอเต นะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
เอเตนะ พุทธะ เต เชนะ โหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง


ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน



ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก กะยานัง นันทิ วัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมัง คะเล
อะปะรา ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร
อะภิเสเก สัพ พะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโม ทะติ
สุนักขัตตัง สุมัง คะลัง สุปะภาตัง สุหุฏ ฐิตัง

สุกขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ


เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา สะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ
สุณันตุ โภนโต เยเทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา
ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
รักขันตุ สัพพะสัต ตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพ พะทา
กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง

อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สะมันตัง
คำแปล

บทสวดพรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้า เหนือหมู่มารทั้งปวง
ทั้งล่วงพ้นอำนาจท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ และเป็นชัยชนะเหนือเทวดาทุกๆ ชั้น
ทั้งเป็นชัยชนะอมนุษย์ ยักษ์ ภูติผีปีศาจ อาวุธทั้งหลายก็ทำอันตรายไม่ได้
ทั้งชัยชนะพญานาคราช ทั้งพระจันทร์ พระอาทิตย์ พระอินทร์ พระพรหม
ทั้งลม และไฟ ก็ทำอันตรายไม่ได้
ขอเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ๑๘ พระองค์ จงมารักษา
ทั้งพระฤาษี พระสาวก พระธรรม พระสงฆ์ จงมาอวยชัย
ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระรัตนตรัย
ในครั้งนั้น มารผู้ชั่วช้าได้พ่ายแพ้ต่อพระรัศมีของพระพุทธเจ้า
ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
พระพรหม พระอินทร์ เทวดาทั้งหลาย ผู้มีเดชานุภาพมาก
ทั้งหมู่พญานาค หมู่พญาครุฑผู้มีศักดายิ่งใหญ่
ต่างชื่นชมชอบใจในชัยชนะของพระพุทธเจ้า ต่อหมู่มาร ณ โพธิบัลลังก์
เป็นชัยชนะที่เป็นอุดมมงคล ทั้งเป็นฤกษ์ดียามดี
และขณะดีที่ได้ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ขององค์สม เด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอความสวัสดีมีชัย จงมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งคุณพระรัตนตรัย
ขอให้ท่านจงได้รับประโยชน์และความสุข
ทั้งเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ขอให้มีอายุยืนยาว
ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ได้ดังใจประสงค์
และปราศจากโรคภัยทั้งหลายทั้งปวง ทั้งห่างไกลความทุกข์
ขอให้ประสบสุขทั้งกายและใจ


คาถามงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ
02/02/15
คาถามงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ
อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว
อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ
อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว
อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ
อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว
อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ
อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว
อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ


โพธิบาท
02/02/15
โพธิบาท
บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูรพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

หมายเหตุ เที่ยวต่อไปเปลี่ยนจาก บูรพารัสมิง เป็น
อาคะเนยรัสมิง - ทักษิณรัสมิง - หรดีรัสมิง
ปัจจิมรัสมิง - พายัพรัสมิง - อุดรรัสมิง
อิสาณรัสมิง - ปฐวีรัสมิง - อากาศรัสมิง
.................................................................
คาถาโพธิบาท ( คาถาป้องกันภัยสิบทิศ )
คาถาโพธิบาทคือ พระคาถาป้องกันภัยโดยการสวดระลึกถึง
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณไปในทิศต่างๆ
ขออานุภาพของพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณขจัด โรคภัย ทุกข์ และเคราะห์ทั้งหลาย
บางแห่งมีเรียกว่า คาถาป้องกันภัยสิบทิศ และบางแห่งเรียกว่าคาถา สะเดาะเคราะห์ ก็มี
เป็นพระคาถาป้องกันภยันตรายต่างๆ เวลาออกเดินทางไกล หรืออยู่ภายในบ้าน


อิติปิโส รัตนมาลา
02/02/15
อิติปิโส รัตนมาลา
พระอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘
(นำ) หันทะ มะยัง อะนุสสะระณะ ปาฐะ คาถาโย ภะณา มะเส ฯ
พระพุทธคุณ ๕๖
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
๑. อิ. อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง
อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง
๒. ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง
๓. ปิ. ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม
ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง
๔. โส. โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก
โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง
๕. ภะ. ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา
ภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง
๖. คะ. คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง
คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง
๗. วา. วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง
วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง
๘. อะ. อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน
อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง
๙. ระ. ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน
รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง
๑๐. หัง. หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง
หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง
๑๑. สัม. สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง
สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง
๑๒. มา. มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต
มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง
๑๓. สัม. สัญจะยัง ปาระมี สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน
สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง
๑๔. พุท. พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง
พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง
๑๕. โธ. โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง
โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง
๑๖. วิช. วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตะวา ธัมมะเทสะนัง
วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง
๑๗. ชา. ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต
ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง
๑๘. จะ. จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง
จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง
๑๙. ระ. ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา
ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง
๒๐. ณะ. นะมิโตเยวะ พรหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา
นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง
๒๑. สัม. สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต
สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง
๒๒.ปัน. ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก
ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง
๒๓. โน. โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหัง
๒๔. สุ. สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน
สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง
๒๕. คะ. คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง
คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง
๒๖. โต. โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง
๒๗. โล. โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร
โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง
๒๘. กะ. กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน
กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถาสัณหัง นะมามิหัง
๒๙. วิ. วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว
วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง
๓๐. ทู. ทูเส สัตเต ปะหาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาสะติ
ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง
๓๑. อะ. อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม
อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง
๓๒. นุต. นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง
นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง
๓๓. ตะ. ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง
ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง
๓๔. โร. โรเสนโต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ
โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง
๓๕. ปุ. ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปาระมี
ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง
๓๖. ริ. ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ
ริตตัง กัมมัง นะ กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง
๓๗. สะ. สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน
สะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง
๓๘. ทัม. ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตะวา สะเทวะกัง
ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทริยัง นะมามิหัง
๓๙. มะ. มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ
มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทธัง นะมามิหัง
๔๐. สา. สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง
สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง
๔๑. ระ. รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง
รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง ระณะหันตัง นะมามิหัง
๔๒. ถิ. ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก
ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง
๔๓. สัต. สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สันตะนิพพานะปาปะกัง
สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง
๔๔. ถา. ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ
ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง
๔๕. เท. เทนโต โย สัคคะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง
เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง
๔๖. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง
วันทิตัง เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง
๔๗. มะ. มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา
มะนุสสะเทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง
๔๘. นุส. นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง
นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง
๔๙. สา. สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง
สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง
๕๐. นัง. นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ
นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง
๕๑. พุท. พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง
พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง
๕๒. โธ. โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน
โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง
๕๓. ภะ. ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก
ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง
๕๔. คะ. คะหิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง
คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง
๕๕. วา. วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง
วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง
๕๖. ติ. ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต
ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง
ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
พระธรรมคุณ ๓๘
สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหีติ.
๑. สวาก. สวาคะตันตัง สิวัง รัมมัง สวานะยัง ธัมมะเทสิตัง
สวาหุเนยยัง ปุญญะเขตตัง สวาสะภันตัง นะมามิหัง
๒. ขา. ขาทันโต โย สัพพะปาปัง ขายิโต โย จะ มาธุโร
ขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง
๓. โต. โตเสนโต สัพพะสัตตานัง โตเสติ ธัมมะเทสะนัง
โตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง
๔. ภะ. ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห อนุตตะโร
ภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง
๕. คะ. คัจฉันโต รัมมะเก สิเว คะมาปิโต สะเทวะเก
คัจฉันโต พรหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง
๖. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง
วันตัง พาละมิจฉาทีนัง วันตะคันถัง นะมามิหัง
๗. ตา. ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง ตาเรสิ โอริมังติรัง
ตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง
๘. ธัม. ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง
ธะเรติ อะมังตัง ฐานัง ธะเรนตันตัง นะมามิหัง
๙. โม. โมหัญเญ ทะมันโต สัตเต โมหะชิเต อะการะยิ
โมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง
๑๐. สัน. สัพพะสัตตะตะโมนุโท สัพพะโสกะวินาสะโก
สัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง
๑๑. ทิฏ. ทิฏเฐ ธัมเม อะนุปปัตโต ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต
ทิฏฐี ทวาสัฏฐิ ฉินทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง
๑๒. ฐิ. ฐิติสีละสะมาจาเร ฐิติเตระสะธุตังคะเก
ฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง
๑๓. โก. โกกานัง ราคัง ปีเฬติ โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ
โกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง
๑๔. อะ. อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ
อัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตัง วะ นะมามิหัง
๑๕. กา. กาเรนโต โย สิวัง รัชชัง กาเรติ ธัมมะจาริเย
กาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง
๑๖. ลิ. ลิโต โย สัพพะทุกขานิ ลิขิโต ปะฏิกัตตะเย
ลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง
๑๗. โก. โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ
โก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง
๑๘. เอ. เอสะติ พุทธะวะจะนัง เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง
เอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะตันนัง นะมามิหัง
๑๙. หิ. หิเน ฐาเน นะ ชายันเต หิเน โถเมติ สุคคะติง
หิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง
๒๐. ปัส. ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก
ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง
๒๑. สิ. สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง
๒๒. โก. โก โส อัคคะปุญโญ พุทโธ โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ
โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง
๒๓. โอ. โอภะโต สัพพะกิเลสัง โอภัญชิโต สัพพาสะวัง
โอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง
๒๔. ปะ. ปัญญา ปะสัฏฐา โลกัสมิง ปัญญา นิพเพธะคามินี
ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง
๒๕. นะ. นะรานะระหิตัง ธัมมัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง
นะรานัง กามะปังเกหิ นะมิตันตัง นะมามิหัง
๒๖. ยิ. ยิชชะเต สัพพะสัตตานัง ยิชชะเต เทวะพรหมุนา
ยิชชิสสะเต จะ ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง
๒๗. โก. โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง โกธะโกธัญจะ นาสะติ
โกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง
๒๘. ปัจ. ปะปัญจาภิระตา ปะชา ปะชะหิตา ปาปะกา จะโย
ปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง
๒๙. จัต. จะริตวา พรหมะจะริยัง จัตตาสะโว วิสุชฌะติ
จะชาเปนตัง วะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง
๓๐. ตัง. ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ สัพพะวีริยัง
ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง
๓๑. เว. เวรานิปิ นะ พันธันติ เวรัง เตสูปะสัมมะติ
เวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง
๓๒. ทิ. ทีฆายุโก พะหุปุญโญ ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล
ทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง
๓๓. ตัพ. ตะโต ทุกขา ปะมุญจันโต ตะโต โมเจติ ปาณิโน
ตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโต โมกขัง นะมามิหัง
๓๔. โพ. โพธิง วิชชา อุปาคะมิ โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ
โพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง
๓๕. วิญ. วิระติ สัพพะทุกขัสมา วิริเยเนวะ ทุลละภา
วิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง
๓๖. ญู. ญูตัญญาเณหิ สัมปันนัง ญูตะโยคะสะมัปปิตัง
ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง
๓๗. หี. หีสันติ สัพพะโทสานิ หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ
หีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง
๓๘. ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง
อัฏฐัตติงสะ ธัมมะคาถา ธัมมะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
พระสังฆคุณ ๑๔
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ
๑. สุ. สุทธะสีเลนะ สัมปันโน สุฏฐ โย ปะฏิปันนะโก
สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง
๒. ปะ. ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร
ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง
๓. ฏิ. ติตถะกะระชิโต สังโฆ ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน
ติตถิโย พุทธวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง
๔. ปัน. ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร ปัญญะวา จะ อะวังกะโต
ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง
๕. โน. โน เจติ กุสะลัง กัมมัง โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โนนะตัง พุชฌะติ ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง
๖. ภะ. ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง
ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง
๗. คะ. คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ
คะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นามาะมิหัง
๘. วะ. วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง วัณเณติ สีละสัมปะทัง
วัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง
๙. โต. โตเสนโต เทวะมะนุสเส โตเสนโต ธัมมะเทสะยิ
โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง
๑๐. สา. สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน สาสันโต สิวะคามินิง
สาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง
๑๑. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง
วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง
๑๒. กะ. กะโรนโต สีละสะมาธิง กะโรนโต สาระมัตตะโน
กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง
๑๓. สัง. สังสาเร สังสะรันตานัง สังสาระโต วิมุจจิ โส
สังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง
๑๔. โฆ. โฆระทุกขักขะยัง กัตวา โฆสาเปติ สุรัง นะรัง
โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง
จะตุททะสะ สังฆะคาถา สังฆะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
ฉัปปัญญาสะ พุทธะคุณา ธัมมะคุณา อัฏฐะติงสะติ
สังฆคุณา จะ จุททะสะ อัฏฐตตะระสะเต อิเม
ทิเน ทิเน สะระเตปิ โสตถี โหนติ นิรันตะรันติ.
จบพระคาถาอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘


กรวดน้ำอิมินา แปล
02/02/15
กรวดน้ำอิมินา แปล
(หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส)
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจะริยูปะการา จะ
มาตาปิตา จะ ญาตะกา
สุริโย จันทิมา ราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ
พ์รัห์มะมารา จะ อินทา จะตุ-
โลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัญจะ ติวิธัง เทนตุ
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
อิมินา อุททิเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทาเยวะ
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
อุชุจิตตัง สะติปัญญา
สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง
กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาเวนะ
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ
ความหมายบทกรวดน้ำ (อิมินา)
ในวรรคที่๑ เป็นการสวดไปให้แก่บุพการีชน คนมีอุปการะทั้งหลาย เช่น อุปัชฌาย์ อาจารย์ พ่อแม่ เป็นต้น รวมถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราชา พระพรหม พระอินทร์ ท้าวจตุโลกบาล เทวดาทั้งหลาย พระยม ญาติสนิท มิตรสหาย และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ให้ได้รับส่วนบุญกุศลโดยทั่วกัน ดังความที่ท่านได้ประพันธ์เอาไว้ว่า
ด้วยบุญนี้ อุทิศนี้
อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สูรย์จันทร์ แลราชา
ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหม มาร และอินทราช
ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยมราช มนุษย์มิตร
ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
ขอให้ เป็นสุขศานติ์
ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน
บุญผอง ที่ข้าทำ
จงช่วยอำ นวยศุภผล
ให้สุข สามอย่างล้น
ให้ลุถึง นิพพานพลันฯ
ในวรรคที่๒ เป็นการสวดไปให้แก่ตนเอง ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบกุศล ให้บรรลุทันทีซึ่งการตัดตัณหาอุปทาน ธรรมอันชั่วในสันดาน ขอจงพินาศไปหมดตราบเท่าถึงนิพพานสิ้นกาลทุกเมื่อ แม้หากยังไม่บรรลุคุณวิเศษใดๆ ก็ขอให้เป็นผู้มีจิตซื่อตรงดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรแก่กล้า สามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหายไปได้ ดังความที่ท่านประพันธ์ต่อจากวรรคที่๑ ว่า
ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ
แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์
เราพลันได้ ซึ่งการตัด
ตัวตัณหา อุปาทาน
สิ่งชั่ว ในดวงใจ
กว่าเราจะ ถึงนิพพาน
มลายสิ้น จากสันดาน
ทุกๆภพ ที่เราเกิด
มีจิตตรง และสติ
ทั้งปัญญา อันประเสริฐ
พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ
เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย
โอกาส อย่าพึงมี
แก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย
เป็นช่อง ประทุษร้าย
ทำลายล้าง ความเพียรจม
พระพุทธผู้ บวรนาถ
พระธรรมที่ พึ่งอุดม
พระปัจเจกกะพุทธสม
ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง
ด้วยอานุภาพนั้น
ขอหมู่มาร อย่างได้ช่อง
ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง
อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญฯ


มงคลจักรวาฬใหญ่
02/02/15
มงคลจักรวาฬใหญ่
บทสวด
สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ
สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ
อะสีตยาพยัญชะนานุภาเวนะ
อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ
ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ
เกตุมาลานุภาเวนะ
ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ
ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ
ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ
สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ
พุทธานุภาเวนะ
ธัมมานุภาเวนะ
สังฆานุภาเวนะ
เตชานุภาเวนะ
อิทธานุภาเวนะ
พะลานุภาเวนะ
เญยยะธัมมานุภาเวนะ
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ
นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ
อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ
อัฎฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ
ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ
จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ
ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ
สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ
เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ
สัพพะปะริตตานุภาเวนะ
ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ
ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาวินัสสันตุ
สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ
สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ
ฑีฆายุตา ตุยหัง โหตุ
สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทาฯ
อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะ
กา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุฯ
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเวฯ
คำแปล
ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง
ผู้มีบุญญาธิการอันกำหนดมิได้ ด้วยพระฤทธิ์อันใหญ่ และพระคุณอันใหญ่
สำเร็จด้วยพระสิริ พระปัญญาเป็นเครื่องตั้งมั่น พระปัญญาเป็นเครื่องรู้ พระเดชและพระชัย ผู้สามารถห้ามสรรพอันตราย
ด้วยอานุภาพแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ด้วยอานุภาพแห่งมงคล ๑๐๘ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเกตุมาลา
ด้วยอานุภาพแห่งพระบารมี ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระอุปปารมี ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระปรมัตถปารมี ๑๐ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆรัตนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเดช ด้วยอานุภาพแห่งพระฤทธิ์ ด้วยอานุภาพแห่งพระกำลัง ด้วยอานุภาพแห่งพระเญยยธรรม
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน ด้วยอานุภาพแห่งโลกุตตรธรรม ๙ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรค ๘ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่พระสมาบัติ ๘ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระอภิญญา ๖ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณในสัจจะ ๔
ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณมีกำลัง ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตา พระกรุณา พระมุทิตา พระอุเบกขา แห่งพระปริตรทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งอันระลึกถึงพระรัตนตรัย
แม้เหล่าโรค โศก อุปัทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส ทั้งปวง ของท่าน จงสิ้นสูญไป แม้เหล่าอันตรายทั้งปวง จงสิ้นสูญไป
สรรพดำริทั้งหลายของท่านจงสำเร็จด้วยดี ความเป็นผู้มีอายุยืนจงมีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความเป็นอยู่สิ้น ๑๐๐ ปี ทุกเมื่อ
เทพเจ้าทั้งหลาย ผู้คุ้มครองสถิตย์อยู่ในอากาศและบรรพตไพรสณฑ์ ภูมิสถาน
แม่น้ำคงคามหาสมุทร จงตามรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อ เทอญฯ


คิริมานันทะสุตตะปาโฐ
02/02/15
คิริมานันทะสุตตะปาโฐ
พระสูตรเพื่อการวิปัสสนา โดยการพิจารณา สัญญา ต่าง ๆ 10 ประการ เพื่อให้เข้าใจความจริง
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม เตนะ โข ปะนะ
สะมะเยนะ อายัสมา คิริมานันโท อาพาธิโก โหติ ทุกขิโต
พาฬหะคิลาโน อะถะโข อายัสมา อานันโท เยนะ ภะคะวา
เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง
นิสีทิ เอกะมันตัง นิสินโน โข อายัสมา อานันโท ภะคะวันตัง
เอตะทะโวจะ ฯ
อายัสมา ภันเต คิริมานันโท อาพาธิโก ทุกขิโต พาฬหะคิลาโน
สาธุ ภันเต ภะคะวา เยนายัสมา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมะตุ
อะนุกัมปัง อุปาทายาติ ฯ สะเจ โข ตวัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ
ภิกขุโน อุปะสังกะมิตวา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข
ปะเนตัง วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน ทะสะ สัญญา
สุตวา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยะ ฯ กะตะมา ทะสะ ฯ
1. อะนิจจะสัญญา
2. อะนัตตะสัญญา
3. อะสุภะสัญญา
4. อาทีนะวะสัญญา
5. ปะหานะสัญญา
6. วิราคะสัญญา
7. นิโรธะสัญญา
8. สัพพะโลเกอะนะภิระตะสัญญา
9. สัพพะสังขาเรสุอะนิจจะสัญญา
10. อานาปานัสสะติ ฯ

1. กะตะมา จานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ
รูปัง อะนิจจัง
เวทะนา อะนิจจา
สัญญา อะนิจจา
สังขารา อะนิจจา
วิญญาณัง อะนิจจันติ ฯ อิติ อิเมสุ ปัญจะสุ
อุปาทานักขันเธสุ อะนิจจานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ
อะนิจจะสัญญา ฯ
2. กะตะมา จานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ
1. จักขุง อะนัตตา
2. รูปา อะนัตตา
3. โสตัง อะนัตตา
4. สัททา อะนัตตา
5. ฆานัง อะนัตตา
6. คันธา อะนัตตา
7. ชิวหา อะนัตตา
8. ระสา อะนัตตา
9. กาโย อะนัตตา
10. โผฏฐัพพา อะนัตตา
11. มะโนอะนัตตา
12. ธัมมา อะนัตตาติ ฯ
อิติ อิเมสุ ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ อะนัตตานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ
3. กะตะมา จานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อิมะเมวะ กายัง อุทธัง ปาทะตะลา อะโธ เกสะมัตถะกา
ตะจะปะริยันตัง ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ อัตถิ
อิมัสมิง กาเย เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง นะหารู
อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง
ปัปผาสัง อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ
โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา ละสิกา
มุตตันติ ฯ อิติ อิมัสมิง กาเย อะสุภานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง
วุจจะตานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ
4. กะตะมา จานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ พะหุทุกโข โข อะยัง กาโย พะหุอาทีนะโวติ ฯ อิติ
อิมัสมิง กาเย วิวิธา อาพาธา อุปปัชชันติ ฯ เสยยะถีทัง ฯ จักขุโรโค
โสตะโรโค ฆานะโรโค ชิวหาโรโค กายะโรโค สีสะโรโค กัณณะโรโค
มุขะโรโค ทันตะโรโค กาโส สาโส ปินาโส ฑะโห ชะโร กุจฉิโรโค
มุจฉา ปักขันทิกา สุลา วิสูจิกา กุฏฐัง คัณโฑ กิลาโส โสโส
อะปะมาโร ทันทุ กัณฑุ กัจฉุ ระขะสา วิตัจฉิก โลหิตัง ปิตตัง
มะธุเมโห อังสา ปิฬะกา ภะคัณฑะลา ฯ ปิตตะสะมุฏฐานา อาพาธา
เสมหะสะมุฏฐานา อาพาธา วาตะสะมุฏฐานา อาพาธา สันนิปาติกา
อาพาธา อุตุปะริณามะชา อาพาธา วิสะมะปะระหาระชา อาพาธา
โอปักกะมิกา อาพาธา กัมมะวิปากะชา อาพาธา สีตัง อุณหัง ชิฆัจฉา
ปิปาสา อุจจาโร ปัสสาโวติ ฯ อิติ อิมัสมิง กาเย อาทีนะวานุปัสสี
วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ
5. กะตะมา จานันทะ ปะหานะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อุปปันนัง กามะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พยันตีกะโรติ
อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง พยาปาทะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง วิหิงสาวิตักกัง
นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ
อุปปันนุปปันเน ปาปะเก อะกุสะเล ธัมเม นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ
ปะหานะสัญญา ฯ
6. กะตะมา จานันทะ วิราคะสัญญา อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง สัพพะสังขา
ระสะมะโก สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย วิราโค นิพพานันติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ วิาคะสัญญา ฯ
7. กะตะมา จานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง
สัพพะสังขาระสะมาโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย นิโรโธ

นิพพานันติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ
8. กะตะมา จานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ เย โลเก อุปายุปาทานา เจตะโส อะธิฏฐานาภินิเวสา-
นุสะยา เต ปะชะหันโต วิระมะติ นะ อุปาทิยันโต อะยัง
วุจจะตานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิะระตะสัญญา ฯ
9. กะตะมา จานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ สัพพะสังขาเรหิ อัฏฏิยะติ หะรายะติ ชิคุจฉะติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
10. กะตะมา จานันทะ อานาปานัสสติ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา นิสีทะติ
ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา ฯ โส สะโต วะ
อัสสะสะติ สะโต ปัสสะสะติ ฯ
ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามิติ สิกขะติ
สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะลิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะยัง วุจจะตานันทะ อานาปานัสสะติ ฯ
สะเจ โข ตวัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน
อุปะสังกะมิตวา อิมา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข ปะเนตัง
วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน อิมา ทะสะ สัญญา สุตวา
โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยาติ ฯ
อะถะโข อายัสมา อานันโท ภะคะวะโต สันติเก อิมา ทะสะ
สัญญา อุคคะเหตวา เยนายัสมา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิตวา อายัสมะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา อะภาสิ ฯ
อะถะโข อายัสมะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา
สุตวา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปัสสัมภิ ฯ วุฏฐะหิ จายัสมา
คิริมานันโท ตัมหา อาพาธา ตะถาปะหีโน จะ ปะนายัสมะโต
คิริมานันทัสสะ โส อาพาโธ อะโหสีติ ฯ
คำแปลคิริมานนทสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็น
ไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา๑๐ ประการ
แก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟัง
สัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ประการเป็นไฉน คือ
อนิจจสัญญา ๑
อนัตตสัญญา ๑
อสุภสัญญา ๑
อาทีนวสัญญา ๑
ปหานสัญญา ๑
วิราคสัญญา ๑
นิโรธสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑
สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑
อานาปานัสสติ ๑ ฯ

1. ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง
สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ
2. ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
1. จักษุเป็นอนัตตา
2. รูปเป็นอนัตตา
3. หูเป็นอนัตตา
4. เสียงเป็นอนัตตา
5. จมูกเป็นอนัตตา
6. กลิ่นเป็นอนัตตา
7. ลิ้นเป็นอนัตตา
8. รสเป็นอนัตตา
9. กายเป็นอนัตตา
10. โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา
11. ใจเป็นอนัตตา
12. ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ
3. ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณา
เห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลดหนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตาเปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ
4. ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่ากายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก
เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย
โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปากโรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึมโรคในท้องโรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคสมองฝ่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม  โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต
อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความ
เพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ
5. ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไม่ยินดี
ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาท
วิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดีย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความ
ไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป
ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้วดูกรอานนท์
นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ
6. ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้
เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ
7. ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาติ
นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้น
ไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์
นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ
8. ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ละอุบาย และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต ย่อม งดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ฯ
9. ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินั
นี้ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุ
อนิจจสัญญาฯ
10. ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่า
ก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง(ลมหายใจ) หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่าจักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก
ย่อมศึกษาว่าจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่าจักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา)หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่าจักระงับจิตตสังขารหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ
ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่คิริมานนทภิกษุไซร้
ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลันเพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็น
ฐานะที่จะมีได้ ฯ
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระ
คิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา
๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐


บทสวดถวายพระพรมหาราชา
02/02/15
บทสวดถวายพระพรมหาราชา
ภูมิพโล มหาราชา.........................นวโม จกฺกิวํสิโก
รฏฺฐปฺปสาสเน พฺยตฺโต....................นีติจาริตฺตโกวิโท
สมฺพุทฺธมามโก อคฺโค....................สาสนสฺสูปถมฺภโก
ธมฺมิโก ทสธมฺเมหิ........................รชฺชํ กาเรติ สพฺพทา
สวีริโย สมุสฺสาโห.........................ทีฆทสฺสี วิจกฺขโณ
ทยฺยานํ วุฑฺฒิเปกฺโข โส.................สนฺติมคฺนิโยชโก
เตสํ ทุกฺขปเนตา จ.......................สทา สุโขปสํหโร
สพฺพตฺถ สพฺพทยฺยานํ......................อติปฺปิโย มโรหโร
สพฺเพเปเต ปิยายนฺโต.....................ปิยปุตฺเต ปิตาริว
สพฺพทยฺยานมตฺถาย........................ฐาเนสุ จรมตฺตนา
สมฺมาอาชีวโยคสฺส........................วิธึ วิเนติ โยนิโส
ยา เจสา โลกนาเถน.....................ภาสิตา สมชีวิตา
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา.....................อนุยุญฺชติ ตํ สทา
ทยฺยานํ รฏฺฐปาลีนํ.......................เอตญฺเจวานุสาสติ
ภิกฺขูนํ สิกฺขกามานํ......................ปิฏกตฺตยสิกฺขนํ
สุพฺพตํ สิกฺขุสงฺฆญฺจ......................ภิยฺโญโส อุปถมฺภติ
อิทาเนโส มหาราชา.....................ทยฺยานํ รฏฺฐวฑฺฒโน
สฏฺฐิวสฺสานิ ธมฺเมน.....................รชฺชํ กาเรติ โสตฺถินา
อีทิเส มงฺคเล กาเล.....................เทมสฺส ชยมงฺคลํ
รตนตฺตยานุภาเวน.......................รตนตฺตยเตชสา
จิรญฺชีวตุ ทีฆายุ.........................ทยฺยานํ ธมฺมขตฺติโย
วณฺณวา พลสมฺปนฺโน...................นิรามโย จ นิพฺภโย
อิจฺฉตํ ปตฺถิตํ ยํ ยํ......................ตํ ตํ ตสฺส สมิชฺฌตุ
สทา ปสฺสตุ ภทฺรานิ....................จิรํ รชฺเช ปติฏฺฐตูติ ฯ
สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง.....แต่ง
มหาเถระสมาคมตรวจแก้
คำแปล
พระคาถาถวายพระพรชัยมงคล
แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
********************************
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรม
ราชจักรีวงศ์ ทรงพระปรีชาสามารถในการบริหารประเทศ ขนบธรรมเนียม
ราชประเพณี ทรงเป็นพุทธมามกะเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นพระธรรมมิกมหาราชเจ้า
เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรมเสมอมา พระองค์ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ
มีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงพระปรีชาสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง
ทรงมุ่งหวังความเจริญรุ่งเรืองแก่พสกนิกรชาวไทย แนะนำแนวทางสมานฉันท์
ทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ เป็นที่เคารพเทิดทูนของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า
พระองค์ทรงห่วงใยพสกนิกรประดุจบิดาเอื้ออาทรต่อบุตรผู้เป็นที่รัก
ฉะนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่าง ๆ
เพื่อประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางพระองค์เป็นแบบอย่าง
และได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า สมชีวิตา
แก่พสกนิกรและรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
พระองค์ทรงพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงแก่คณะสงฆ์ไทย และยกย่องเชิดชูพระสงฆ์
ผู้ประพฤติดีปฏบัติชอบไว้ในสมณฐานันดรศักดิ์ตามสมควรแก่ฐานานุรูป
บัดนี้ จวบมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า
ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
*อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรชัยมงคล*
ด้วยเดชานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์ ปราศจากโรคาพาธ และภัยพิบัติอุปัทวันตราย ทั้งสิ้น
ทรงมีพระราชประสงค์สิ่งใดๆ ขอสิ่งนั้นๆ จงพลันสำเร็จ ขอพระองค์ทรงพบสิ่งที่ดีงาม
ของจงดำรงมั่นในมไหศวรรยราชสมบัติ ตลอดจิรัฏฐิติกาลเทอญ.


คำอธิฐาน
“ขอผลบุญทั้งหมดนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ แต่ถ้าหากข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพาน ที่นี้ ขอคำว่า “ไม่สำเร็จ ไม่มีทรัพย์ ไม่มีสุข” จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้า”
บทสวดมนต์