นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ) แบบที่ 1
อุกาสะ อัจจะโย โน ภันเต อัชชะขะมามิ ยะถาพาเล ยะถามุฬเห ยะถาอะกุสะเล เย มะยัง กะรัมหา เอวัง ภันเต มะยัง อัจจะโย โน ปะฎิคคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามิ เถเรปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะกะตัง สัพพัง อะปะราทังขะมามิภันเต
ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอขมาโทษ ต่อพระรัตนตรัย ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้สบประมาทพลาดพลั้ง ต่อพระพุทธ ต่อพระธรรม ต่อพระสงฆ์ สมัยเป็นคนพาลคนหลง อกุศลเข้าสิงจิต ให้ทำความผิดต่อพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผิดต่อคุณครูอาจารย์ ผิดต่อหลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงน้า หลวงอา หลวงพี่ทั้งหลาย ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อย่ามีเวร เกิดชาติหนึ่งภพใด ขอให้ได้สร้างแต่กรรมดี สร้างบารมีของตน ให้พ้นภัยพาล ลุล่วงบ่วงมาร ในชาติปัจจุบันกาลนี้เทอญฯ
(บางที่กล่าวบทสวดนี้ว่า : อุกาสะ อุกาสะ อัจจะโยโนภันเต อัจจักคะมา ยะถาพาเล ยะถามูลเห ยะถาอะกุสะเล เยมะยัง กะรัมหา เอวัง ภัณเต มะยัง อัจจะโยโน ปะฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามะฯ )
แบบที่ 2
วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระองค์จงประทานอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ข้าแต่พระธรรมอันเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรมเพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระธรรมจงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระสงฆ์เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระสงฆ์จงให้อภัยโทษแก่้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
แบบที่ 3
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ (ถ้าหลายคนว่า.....ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ.... , ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ ) หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดลดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ
แบบที่ 4
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง, ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม,
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ. ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระธรรมในกาลต่อไป
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
เป็นการรำลึกถึงพระพุทธคุณเบื้องต้นก่อนสวดมนต์ บูชาพระ หรือทำพิธีการต่าง ๆ
หมายเหตุ คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี
เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
(แต่ถ้าแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
(เฉพาะแบบธรรมยุต-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ)
ปุพพภาคนมการ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พุทธาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวา โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง
สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง
มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง
ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ (กราบ)
ธัมมาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ (กราบ)
สังฆาภิถุติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ (กราบ แล้วนั่งราบ)
รตนัตตยัปปณามคาถา
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย
มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัญญิโต
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง
วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง
มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
สังเวคปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
เสยยะถีทัง
รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ
สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ
เยสังปะริญญายะ ธะระมาโน โส ภะคะวา
เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ
อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา
สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา
รูปัง อะนัตตา เวทะนา อะนัตตา สัญญา อะนัตตา
สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา
สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง
ภะคะวันตัง สะระณังคะตา
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
สา สา โน ปะฏิปัตติ
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
*จบทำวัตรเช้า แต่อาจต่อด้วยคาถากรวดน้ำตอนเช้าดังนี้ (มีข้อสังเกตุว่ามีหลายสำนวนด้วยกันและจะไม่เหมือนกัน)
สัพพปัตติทานคาถา (กรวดน้ำระลึกพระคุณ)
(ผู้นำสวดเริ่มว่า หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส)
ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม
เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกะ
เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย
ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐิ วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน
สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง เต ภุมมา จะตุโยนิกา
ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง
เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะ เหตุนา
สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา (จบแล้วกล่าวเพิ่มว่า)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
คะรุอุปัชฌายะอาจาริยะคุณัง อะหัง วันทามิ (กราบ)
คำสวด หรือบทสวดทำวัตรเช้า
หมายเหตุ คำบาลีในวงเล็บใช้สำหรับผู้สวดภาวนาที่เป็นสตรี
เริ่มด้วยการบูชาพระรัตนตรัยว่า
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
.(เฉพาะแบบธรรมยุติ-ผู้สวดนำกล่าวผู้เดียวว่า ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง สะสัทธัมมัง สะสาวะกะสังฆัง อะภิปูชะยามะ)
ปุพพภาคนมการ
(แบบธรรมยุตผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะทานิ มะยันตัง ภะคะวันตัง วาจายะ อภิคายิตุง ปุพพะภาคะ นะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส)
(แบบมหานิกายผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบแล้วกราบ 3 ครั้ง)
พุทธานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง
เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
พุทธาภิคีติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต
โพเธสิ โย สุชะนะตังกะมะลังวะ สูโร
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ปะฐะมานุสสติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะระยา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
(หมอบกราบแล้วสวดดังนี้ หนึ่งครั้ง)
กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะพุทเธ
ธัมมานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
ธัมมาภิคีติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
ธัมมัง เมวันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
(หมอบกราบแล้วสวดดังนี้ หนึ่งครั้ง)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม
สังฆานุสสติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อายุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
สังฆาภิคีติ
(ผู้สวดนำเริ่มว่า หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
(หมอบกราบแล้วสวดดังนี้ หนึ่งครั้ง)
กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
คำสวด หรือบทสวดทำวัตรเย็น
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบทุกมือ ขี่ช้าง
ครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
คำแปล อนึ่ง พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือขันติความอดทน
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือ ความมีพระทัยเมตตา
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
คำแปล พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิ-มาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งมีครรภ์ เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
คำแปล พระจอมมุนีผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างคือปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมาย ในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราชชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธี บอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะนั้น
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยาคือทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
คำแปล บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล 8 คาถาเหล่านี้ทุก ๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นคือ พระนิพพานอันบรมสุขแล ฯ
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงเจ้าพระคุณสมเด็จและตั้งคำอธิษฐานว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
1.ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
แปล พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
2.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา
แปล มี 28 พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
3.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
แปล ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
4.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
แปล พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
5.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเล
แปล พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
6.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
แปล มุนีผู้ประเสริฐคือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
7.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
แปล พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
8.ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ
แปล พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
9.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
แปล ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
10.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะ
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
แปล พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
11.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
แปล พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
12.ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุ ปัททะวา
แปล อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
13.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
แปล ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
14.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ ต มะหาปุริสาสะภา
แปล ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
15.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
แปล ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงและตั้งคำอธิษฐานว่า ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ยามานัง เทวานัง
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรหมะปุโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปุโร หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง มะหาพรหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อาภัสสะระ เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อสัญญะสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อสัญญะสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสสะมินติ . อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสสะมินติ
ธัมมะจักรนี้ถ้าท่านใดได้สวดจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นกิจการงาน แขนงไหนที่ทำอยู่จะมีความเจริญก้าวหน้า เพราะว่าธัมมะจักรเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโปรดนักบวชปัญจวคีย์ และยังเป็นวงล้อที่หมุนเป็นครั้งแรกของพระพุทธศาสนา จึงนับว่าเป็นการลำบากที่ผู้คนทั้งหลายจะได้สวด และยังจะเป็นการเปลื้องทุกข์ภัยต่างๆ นานาได้อีกด้วย สิ่งร้ายจะกลายเป็นดีและยังทำให้มีอายุยืน มีความสุขกาย สุขใจ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย
สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิ มะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ
สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ
อะสีตยานุพยัญชะนานุภาเวนะ อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ
เกตุมาลานุภาเวนะ ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะปะระมัตถะปาระมิตา
นุภาะเวนะ สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ พุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ เตชานุภาเวนะ
อิทธานุภาเวนะ พะลานุภาเวนะ เญยยะธัมมานุภาเวนะ จะตุราสีติสะหัสสะ ธัมมักขันธานุภาเวนะ
นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ
ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ
สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ สัพพะปะริตตานุภาเวนะ
ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา วินัสสันตุ
สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ
ทีฆายุตา ตุยหัง โหตุ สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทา ฯ
อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะกา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุ ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะ มังคะลัง รักขันตุ สัพพะ เทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ
บทนำ (สวดเจ็ดตำนาน )
สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ
เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา
ปะริตตัง ภะณันตุ
บทนำ (สวดสิบสองตำนาน)
สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา
บทชุมนุมเทวดา ( ใช้เหมือนกันทั้งเจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน)
สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ
จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ
คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ
วัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา
ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะ จะนัง
สาธะโว เม สุณันตุ
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
อะหัง สุขิโต โหมิ
อะหัง นิททุกโข โหมิ
อะหัง อะเวโร โหมิ
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
สัพพัง อะปะระธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเย นะ กะตัง
สัพพัง อะปะระธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากเข้าเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดีขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย
หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมาขออนุณาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบาน ที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้องจงเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆ โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้น ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลก และทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ
หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาต และคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชน ของเจ้ากรรมนายเวร ขอให้พ้นนรกภูมิ พบแสงสว่างทั้งทางโลก และทางธรรม เทอญ
ก่อนสวดตั้งนะโม 3 จบ
(บทนำ) หันทะ มะยัง อุททิสะนาธิฏฐานะ คาถาโย ภะณามะ เส ฯ
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจะริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
พ์รัห์มะมารา จะ อินทา จะตุ- โลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัญจะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทาเยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ
ความหมายบทกรวดน้ำ (อิมินา)
ในวรรคที่1 เป็นการสวดไปให้แก่บุพการีชน คนมีอุปการะทั้งหลาย เช่น อุปัชฌาย์ อาจารย์ พ่อแม่ เป็นต้น รวมถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราชา พระพรหม พระอินทร์ ท้าวจตุโลกบาล เทวดาทั้งหลาย พระยม ญาติสนิท มิตรสหาย และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ให้ได้รับส่วนบุญกุศลโดยทั่วกัน ดังความที่ท่านได้ประพันธ์เอาไว้ว่า
ด้วยบุญนี้ อุทิศนี้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สูรย์จันทร์ แลราชา ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหม มาร และอินทราช ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยมราช มนุษย์มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
ขอให้ เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน
บุญผอง ที่ข้าทำ จงช่วยอำ นวยศุภผล
ให้สุข สามอย่างล้น ให้ลุถึง นิพพานพลันฯ
ในวรรคที่ 2 เป็นการสวดไปให้แก่ตนเอง ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบกุศล ให้บรรลุทันทีซึ่งการตัดตัณหาอุปทาน ธรรมอันชั่วในสันดาน ขอจงพินาศไปหมดตราบเท่าถึงนิพพานสิ้นกาลทุกเมื่อ แม้หากยังไม่บรรลุคุณวิเศษใดๆ ก็ขอให้เป็นผู้มีจิตซื่อตรงดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรแก่กล้า สามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหายไปได้ ดังความที่ท่านประพันธ์ต่อจากวรรคที่ 1 ว่า
ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์
เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน
สิ่งชั่ว ในดวงใจ กว่าเราจะ ถึงนิพพาน
มลายสิ้น จากสันดาน ทุกๆภพ ที่เราเกิด
มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญา อันประเสริฐ
พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย
โอกาส อย่าพึงมี แก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย
เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง ความเพียรจม
พระพุทธผู้ บวรนาถ พระธรรมที่ พึ่งอุดม
พระปัจเจกกะพุทธสม ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง
ด้วยอานุภาพนั้น ขอหมู่มาร อย่างได้ช่อง
ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญฯ
ก่อนอื่นให้จุดธูป 1 ดอก แล้วอธิษฐานดังนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อ...) ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ทำวันนี้ แก่ท่านทั้งหลายจงมารับเอาเถิด จากนั้นก็เอาธูปปักลงไปที่ดิน แล้วรินน้ำลงไปที่โคนธูป พร้อมท่องคาถากรวดน้ำตามไปด้วย ท่องไปจนกว่าจะจบในระหว่างที่ท่องคาถากรวดน้ำ ๆ หมดก่อนไม่เป็นไร ให้ท่องคาถากรวดน้ำไปจนกว่าจะจบบท (ท่องนะโม 3 จบ แล้วท่องคาถากรวดน้ำดังนี้)
อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ
โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง
ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปแด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพานที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารทั้งหลาย เหล่านี้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
อิมานิ มะยัง ภันเต
วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ
ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
อิมานิ มะยัง ภันเต ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
เมื่อเสร็จพิธีทำบุญและพระสงฆ์กล่าวรับแล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของเราโดยว่าดังนี้
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนายบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล 5 ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน
อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง
โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยโภชนะข้าวสาลี พร้อมด้วยแกงกับและน้ำอันประเสริฐนี้แด่พระพุทธเจ้า
อิทัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ
ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้สิ้นอาสวะกิเลส
อิทัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ
ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สวรรค์สมบัติ ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค์สิ่งใด ขอจงสมความปรารถนา ทุกประการ อันว่าโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจนค่นแค้น และคำว่า "ไม่มี" ขออย่าให้ข้าพเจ้าประสบพบเลย
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ
โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง
กะฐินะ ทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ
อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ
(อารธนาศีลห้า)
ทุติยัมปิ ...
ตะติยัมปิ ...
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และเมื่อรับแล้ว ขอจงกรานใช้กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
อิมานิ มะยัง ภันเต
ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง
ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
แผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทกรุณา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
จงพ้นจากทุกข์เถิด
บทมุทิตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ
จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด
บทอุเบกขา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
กัมมัสสะกา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา
เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ
กระทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
เสสัง มังคะลัง ยาจามิฯ
ข้าพเจ้าขอคืนเศษอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้าขอภัตต์ที่เหลือที่เป็นมงคลด้วยเถิด
ตั้งนะโม ๓ จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิติปิจะสุคะโต โลกะนาโถ อะระหัง ปัตโต นะนิพพะนังสิวัง ระวังมะอะอุ สุขัง ปิยังมะมะฯ
สวด 5 จบ เสกเป่าใส่น้ำดื่ม และรดประพรมตัวเพื่อ ปัดเป่าอุบาทว์ และสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ให้ออกจากตัวจากชีวิต
สวด 1 จบ เป่าลมออกไปขอให้แคล้วคลาด รอดพ้นจากอาถรรพ์จัญไรและคุณไสยทั้งปวง
นะเคลื่อน โมคลาย พุทหาย ธาแก้ ยะสูญหายบัดนี้ ฯ
ถ้าภาวนากลับ(ย้อนกลับ) จะขับไล่ผีออก
ยันทุนนิมัตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมัตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโท ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธรรมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมัตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ใช้ภาวนาตอนเช้าตรู่กับน้ำลูบหน้าเพื่อแก้ฝ้นร้าย จะทำให้ ฝันร้ายกลายเป็นดี
นะโมพุทธายะ
นะรา นะระ รัตตัง ญานัง
นะรา นะระ รัตตัง หิตัง
นะรา นะระ รัตตังเขมัง วิปัสสิตัง นะมามิหัง
ใช้สวดภาวนากับน้ำแล้วนำมาดื่มและอาบ ถ้าหากรู้สึกว่าร่างกายจิดใจไม่เป็นปรกติ กระวนกระวายซึ่งอาจจะถูกของ
อิติปิโส ภะคะวา เวสสุวัณโณ นะโมพุทธายะ นะขับ โมไล่ พุทไป ธาจาก ยะสูญหายบัดนี้ พุทธังขับ ธัมมังขับ สังฆังขับ พุทธอิฏฐิ สะมุหะคะติ สะมุหะคะตา สะมุหะเสมา สะมุหะเนยยะ สะมุหะคะโต ปถวี เตโช อาโป ธาตุ สวาหะ สวาหาย ฯ
ให้ทำน้ำมนต์รดคนที่ถูกผีเข้า หรือถูกของ ก็จะหาย พระ วิเศษดีนักแล
ตั้งนะโม ๓ จบ สวดมนต์ไหว้พระรัตนตรัยก่อน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
นะโมเม สุขคะโต นะโมเม โสปัตติ นะโมสุคะโต โหติ อะสัญญัตตา จะ
สัมภะวา ปัจจุปันนา ปัญจะพุทธา เสติ นะโมสุคะโต จะ อะนาคะตา
นะมามิหัง สัพเพ เทวา ยักขา เปตา ภูตา ปะริตา ปะโรคะตา อัคคะเน วา
ชาเมตะยะมัง มะนุสสานัง สัพเพ โกทะวิทา วินาสสันติ ทะสา ตันจะ ปิยัง
มุกขัง มุกคะปัตโต เอหิ สะเนโท สะเนทา สะเนหา นะเนโห จะ สัพเพ
ชะนะมาเร ปะระชายา ชายะ มะหาโภโค มะหาโทโส พายะสะเต กัมเมนะ วินาสสันติ
หากรู้ว่าของเข้าตัว จงใช้คาถาบทนี้ถอนออก และสามารถขับของให้ผู้อื่นได้ ตั้งนะโม 3 จบ บูชาพระรัตนตรัย 3 จบก่อนภาวนาคาถานี้
สมุหะเนยยะ สมุหะคะติ สมุหะคะตา พัทธะเสมายัง เอวัง เอหิ นะเคลื่อน โมถอน พุทคลอน ธาถอน ยะหลุด ลอยเลื่อน เคลื่อนด้วย นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ พุทธัง ปัจจกขามิ ธัมมัง ปัจจักขามิ สังฆัง ปัจจักขามิ เอกาเสติ ปะสิทธิ เม เอหิ คัจฉะมุมหิ เปหิ เปหิ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ
คาถาถอนโบสถ์ ถอนเสมา ถอนศาล ถอนของ ทั้งหลายได้ทั้งปวง
นะโมพุทธายะ นะ มะ พะ ทะ
พระคาถาลงหวาย นี้ให้ลงหวายปราบผีดีนัก
สะ สิ มิ ระฯ
สวด 5 จบ เสกเป่าลมออกไป อธิษฐานจิตสะกดคนให้ต้องมนต์งงงันมิอาจปฏิเสธหรือทำร้าย เราได้เลย
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติ จิตตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ ป้องกันภัยภิบัติทั้งปวง
สวด 5 จบเป็นประจำ เพื่อให้ปลอดภัยรอดพ้นจากเภทภัยทั้งหลาย ใช้ช่วยคนที่อยู่ในภาวะใกล้ตายหรือป่วยหนักที่ยังไม่สิ้นอายุขัย
Drag and Drop Website Builder