เรื่องราวในบรรพนี้มีชื่อเรียกว่า สตรีบรรพ ซึ่งก็ตรงกับเนื้อหาส่วนใหญ่ที่สตรีเป็นผู้ได้รับทุกข์โศกจากสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรต้องรับเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้น

เมื่อสงครามยุติลงพวกปาณฑพได้พบกับท้าวธฤตราษฎร์และพระนางคานธี ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเการพที่หลงเหลืออยู่เพียงสองคนก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และลืมความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นแต่หนหลังจนหมดสิ้น

หลังจากนั้นบรรดาสตรีจากราชสำนักก็เดินทางออกจากกรุงหัสตินาปุระ ไปยังสมรภูมิรบพร้อมๆกันในการเดินทางไปยังสมรภูมิรบนั้น พระนางคานธีซึ่งเป็นแม่ของพวกพี่น้องเการพทั้งหนึ่งร้อยคน ซึ่งผูกผ้าปิดตามองไม่เห็นอะไรได้ฟังคำอธิบายถึงภาพอันเลวร้ายที่ลูกชายทั้งหมดนอนตายกลางสนามรบโดยมีสุนัขจิ้งจอก และสัตว์กินเนื้ออื่นๆ มาแทะศพจนแหลกเหลว บรรดาลูกสะใภ้ของพระนางคานธารีต่างก็ร้องไห้ระงมกับศพของสามีแต่ละคน สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความเสียใจให้กับพระนางคานธารีอย่างมากและถึงจุดๆหนึ่ง พระนางคานธารีก็หันมาทางกฤษณะพร้อมกับโทษว่ากฤษณะเป็นต้นตอของเรื่อง และโทษว่ากฤษณะไม่พยายามยุติความเลวร้ายที่เกิดขึ้นทั้งๆที่สามารถทำได้ พร้อมกับสาปแช่งกฤษณะว่านับจากนี้ไปเป็นเวลาสามสิบหกปีกฤษณะกับบรรดาญาติพวกตระกูลยาทพจะต้องรบราฆ่าฟันกันเอง และสำหรับตัวกฤษณะนั้นพระนางคานธารี สาปให้ต้องรับกรรมด้วยการซัดเซพเนจรเข้าไปในป่าและจบชีวิตลงในป่าคนเดียวอย่างโดเดี่ยว

เมื่อทุกคนคลายความเศร้าโศกตัดใจลงได้ การทำพิธีศพให้กับทุกคนก็ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ส่วนคนที่รอดตายจากสงครามก็พักผ่อนและล้างบาปกรรมของตัวเองด้วยการบำเพ็ญโยคะอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะเวลาหนึ่ง

นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญมหากาพย์มหาภารตะบางท่านให้ความเห็นว่า เรื่องราวของมหากาพย์มหาภารตะที่เล่าขานในอดีตน่าจะจบลงที่บรรพนี้คือบรรพที่ 11 แต่ที่งอกหรือยืดยาวออไปอีก 7 บรรพนั้น เชื่อว่าน่าจะเป็นการแต่งเสริมเพิ่มเข้าเมื่อเวลาผ่านไป จริงเท็จเป็นประการใดเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันเอาเอง
มหาภารตะ ตอนที่ 11
เรื่องราวในบรรพที่ 12 อันมีชื่อว่า สานติบรรพ ก็เพราะเหตุที่บัดนี้สงครามยุติลงแล้วสันติภาพได้บังเกิดขึ้นแล้วนั่นเอง ส่วนเรื่องที่ดำเนินต่อไปนั้น เป็นการต่อเรื่องโดยพระนางกุนตีได้เปิดเผยความเป็นมาที่แท้จริงของกรรณะให้กับพี่น้องปาณฑพได้ทราบ ผลก็คือทำให้พวกปาณฑพเสียใจเป็นอันมากที่ต้องมาฆ่าพี่ของตัวเอง

ยุธิษญิระประกาศถอนตัวไม่ขอข้องเกี่ยวกับความเป็นไปในโลก จะขอเข้าไปลี้ภัยบำเพ็ญพรตในป่าเพือไถ่บาปกรรม แต่ว่าไดรับการทัดทานจนในที่สุดต้องจนด้วยเหตุผลและขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาแห่งแคว้นกุรุ หลังจากนั้นกฤษณะก็ได้นัดแนะพวกพี่น้องปาณฑพทั้งห้าคนเดินทางไปยังสมรภูมิรบเพื่อไปแสดงความเคารพท้าวภีมะที่ยังนอนรอความตายอยู่ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญก็คือ เพื่อขอคำแนะนำในการทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม

หลังจากนั้นภีษมะก็แสดงแนวความคิดเป็นบทสนทนาอันยาวยืด แต่ก็พอจะแยกแยะออกได้เป็นสามท่อนหลักๆ

ท่อนแรกว่าด้วยหน้าที่ของพระราชา ซึ่งมีรายละเอียดพูดถึงวรรณะ 4 ที่แบ่งคนตามชาติกำเนิดและการใช้ชีวิตที่เรียกว่า อาศรม 4 หน้าที่ของคนในวรรณะกษัตริย์ การปกครองบ้านเมือง การทำสงคราม และข้อพึงปฏิบัติโดยทั่วไปของคนที่จะเป็นผู้ปกครอง

ท่อนที่สองว่าด้วยข้อปฏิบัติในยามเผชิญหายนะอันใหญ่หลวงหลักๆ ก็คือพราหมณ์ต้องได้รับการปกป้องอย่างถึงที่สุด การเป็นพัธมิตรกับผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ตัณหาและอวิชชาเป็นสิ่งที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยง คุณธรรมที่ล้ำเลิศที่สุดก็คือการควบคุมตัวเอง การถกเถียงถึงเป้าหมายของชีวิตสี่ประการ โดยแยกแยะให้เห็นว่า ท้าววิฑูรนั้นให้ความสำคัญกับธรรมะหรือหน้าที่มากที่สุด ส่วนอรชุนนั้นให้ความสำคัญกับอรรถะ หรือทรัพย์สมบัติมากเป็นพิเศษ ในขณะที่ภีษมะนั้นให้ความสำคัญกับ กามะ ซึ่งเป็นเรื่องการตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ ในขณะที่ยุธิษฐิระให้ความสำคัญกับ โมกษะหรือการหลุดพ้นเป็นอิสระมากที่สุด

ท่อนที่สามว่าด้วยเรื่องของการหลุดพ้นเป็นอิสระ การจะหลุดพ้นได้เงื่อนไขก็คือการบำเพญโยคะ ซึ่งเป็นไปเพื่อดับตัณหาอันเป็นกำเนิดของชัวิตและความตายในโลกนี้ กำเนิดของความดีความชั่ว กฎเกณฑ์ในการใช้ชีวิตประจำวัน การปฏิบัติโยคะ ความยิ่งใหญ่ของพระวิษณุการบำเพ็ญเพื่อให้เข้าถึงอาตมัน หลักการอหิงสา หลักปฏิบัติในการครองเรือนเป็นคฤหัสถ์ การใช้ชีวิตเพื่อบรรลุธรรมหรือสันยาสี หลักปรัชญสางขยะและโยคะ
มหาภารตะ ตอนที่ 12
 
มหาภารตะ ตอนที่ 13
เรื่องราวในบรรพที่ 13 ซึ่งมีชื่อเรียกว่า อนุศาสนบรรพ เป็นตอนที่ว่าด้วยคำสั่งสอนของท้าวภีษมะต่อจากบรรพที่ 12 ซึ่งภีษมะได้สาธยายถึงเรื่องต่างๆ ครอบคลุมในหลายหัวข้อไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กฎแห่งกรรม การให้ยกย่องพรามหมณ์ การแต่งงานและการสืบทอดทายาท พิธีศพการอดอาหารและการบริจาค รวมถึงการยกย่องพระกฤษณะ

หลังจากให้แง่คิดที่จะนำไปใช้ปฏิบัติแล้ว ท้าวภีษมะก็ประกาศว่าถึงเวลาที่ตนพร้อมจะตายแล้วท่ามกลางผู้คนจำนวนมากที่ให้ความเคารพยกย่อง ในที่สุดวิญญาณของท้าวภีษมะก็หลุดลอยขึ้นสู่สวรรค์ และการทำพิธีศพให้ภีษมะเป็นตอนจบของบรรพที่ 13 นี้

นักปราชญ์ผู้รู้เรื่องมหากาพย์มหาภารตะตั้งข้อสังเกตว่าเนื้อหาในบรรพที่ 12 และบรรพที่ 13  นั้นน่าจะเป็นการแทรกเข้ามาโดยพวกพราหมณ์ และให้ข้อคิดว่าการเข้ามาเชื่อมโยงกับเรืองหลักในมหากาพย์มหาภารตะนั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ตั้งใจ เพราะข้อความที่พูดถึงการอบรมสั่งสอนนั้นเป็นเรื่องที่บอกต่อๆมากันในหมู่พวกพราหมณ์ แม้ว่าเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นการยกย่องบูชาพระวิษณุหรือวาสุเทพและกฤษณะในฐานะพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด แต่ก็มีเนื้อหาบางส่วนที่เป็นการยกบูชาพระศิวะว่าเป็นพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดหรือมหาเทพแทรกไว้เป็นเรื่องเป็นราวด้วยเช่นกัน

เรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในบรรพที่ 12 และบรรพที่ 13 ซึ่งเป็นการสนทนาหรือน่าจะบอกว่าเป็นการสาธยายของท้าวภีษมะให้กับท้าวยุธษฐิระซึ่งเป็นผู้ปุจฉาขึ้นมานั้น นักปราชญ์ถือว่าเป็นรากฐานหรือแนวคิดในการบริหารจัดการบ้านเมืองของอินเดีย จะเรียกว่าเป็นหลักรัฐศาสตร์โบราณก็พูดได้ เพียงแต่แก่นกลางเป็นเรื่องของกษัตริย์ เพราะฉะนั้นบางคนจึงเรียกเนื้อหาทั้งหมดนี้ว่าเป็น “ราชธรรม”ในเวลาต่อมา
เรื่องราวในบรรพที่ 14 หรือที่มีชื่อเรียกว่า อัศวเมธิกบรรพ เนื้อหาหลักพูดถึงการประกอบพิธีสำคัญเพื่อประกาศเดชานุภาพของพระราชา คือ พิธีอัศวเมธด้ยเหตุนี้จึงใช้ชื่อเรียกดังกล่าว

เมื่อยุธิษฐิระขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหลังสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรจบสิ้น ยุธิษฐิระได้รับคำแนะนำให้ทำพิธีอัศวเมธ กฤษณะได้แสดงธรรมคาถาที่เคยแสดงเอาไว้ในตอนที่ว่า ภควคีตาแบบย่นย่อซ้ำอีกวาระหนึ่ง ตามคำร้องขอของอรชุนซึ่งได้ฟังคนเดียวเพื่อให้โอกาสได้รับทราบหลักธรรมที่สำคัญดังกล่าวด้วย ธรรมคาถาย่นย่อที่ว่า ซึ่งเรียกกันว่า อนุคีตานั้นแบ่งออกเป็นสามส่วนสำคัญๆ คือ คำสอนที่สิทธะบอกไว้ให้กับพาหมณ์ คำสั่งสอนของพราหมณ์ที่มีให้กับภริยา และคำสอนของครูพราหมณ์ที่มีให้ต่อลูกศิษย์

ทางด้านพระนางอุตตะระภริยาหม้ายของเจ้าชายอภิมันยุ ได้ให้กำเนิดบุตรชายแต่เสียชีวิตตั้งแต่เกิด เดือดร้อนถึงกฤษณะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ชุบชวิตให้ เจ้าชายพระองค์น้อยนี้มีชื่อว่าปริกษิต เพื่อสืบวงศ์ของพวกปาณฑพมิให้ขาดตอน

สำหรับพิธีอัศวเมธนั้นเริ่มต้นด้วยการปล่อยม้าไปยังดินแดนต่างๆ โดยมีอรชุนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำทัพตามม้าพิธีที่ปล่อยออกไปและสามารถเอาชนะบรรดาแว่นแคว้นต่างๆ ที่ม้าเดินทางไปถึงได้หมด หลังจากปล่อยม้าท่องไปยังดินแดนต่างๆ เป็นเวลาหนึ่งปี อรชุนก็เดินทางกลับราชสำนักกรุงหัสตินาปุระพร้อมม้าพิธีดังกล่าว เพื่อทำพิธีบูชายัญโดยมีบรรดาพระราชาแว่นแคว้นทั้งหมดมาร่วมด้วย ผลแห่งพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวเท่ากับบาปและมลทินทั้งหลายทั้งปวงที่พวกปาณฑพก่อขึ้นเป็นอันว่าได้ชำระสะสางเป็นที่เรียบร้อย

ความน่าสนใจในบรรพนี้ก็คือส่วนท้ายซึ่งอรรถาธิบายถึงคุณค่าของการเสียสละ โดยระบุว่าสาระสำคัญไม่ใช่เรื่องของทำทานหรือบริจาค แต่เป็นเรื่องของการสลัดสิ่งที่ไม่ดีงามที่มีอยู่ภายในใจของผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นสำคัญ
มหาภารตะ ตอนที่ 14
เรื่องราวในบรรพที่ 15 หรือที่มีชื่อเรียกว่า อาศรมวาสิกบรรพ เนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงการครองชีวิตในช่วงสุดท้ายของท้าวธฤตราษฎร์ ซึ่งเป็นการครองชีวิตตามหลักอาศรม 4 จึงมีชื่อเรื่องตามนั้น

เรื่องราวในบรรพนี้พูดถึงช่วงเวลาหลังจากยุธิษฐิระ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิไปได้ประมาณสิบห้าปี ห้างธฤตราษฎร์และพระนางคานธารี ซึ่งอยู่ในราชสำนักกับหลานๆ พวกปาณฑพ ก็ตัดสินใจไปบำเพ็ญพรตใช้ชีวิตบั้นปลายในป่า โดยมีพระนางกุนตี ท้าววิฑูร สัญชัยร่วมตามเสด็จไปด้วย แม้จะอยู่ป่าตัดขาดจากโลกภายนอกแต่พวกปาณฑพก็ไปเยี่ยมเยียนบ้างเป็นครั้งคราว

ในที่สุดท้าววิฑูรก็เสียชีวิตและวิญญาณของท้าววิฑูร ซึ่งเป็นธรรมเทพที่มาจุติในโลกมนุษย์ก็เข้าไปหลอมรวมอยู่กับท้าวยุธษฐิระซึ่งเป็นธรรมเทพในโลกมนุษย์เช่นกัน

ในช่วงบั้นปลายของชีวิตท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารีและพระนางกุนตีได้รับพรพิเศษจากฤาษีวยาส ทำให้ได้มีโอกาสเห็นบรรพบุรุษที่อยู่ในเทวโลก และหลังจากนั้นอีกสองปี หลังการพบปะกันครั้งสุดท้ายกับพวกปาณฑพที่ไปเยี่ยม ก็มีข่าวจากในป่ามาแจ้งยังราชสำนักกรุงหัสตินาปุระให้ท้าวยุธษญิระได้ทราบว่า บัดนี้ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี และพระนางกุนตีต่างเสียชีวิตไปพร้อมๆ กัน เพราะเกิดไฟไหม้ป่าในอาณาบริเวณที่ตั้งอาศรมบำเพ็ญพรตไปเรียบร้ยแล้ว
มหาภารตะ ตอนที่ 15
รื่องราวในบรรพที่ 16 หรือมีชื่อเรียกว่า เมาสลบรรพ คำว่าเมาสละแปลว่ากระบองเนื้อหาเล่าถึงการทำร้ายประหัตประหารกันเองในหมู่พวกยาทพซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของพระกฤษณะตามคำสาปของพระนางคานธี จึงเรียกบรรพนี้เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกัน เป็นบรรพสั้นๆ เนื้อกาไม่มีอะไรมากนัก

คำสาปของพระนางคานธารีเป็นจริงตามลั่นวาจาเอาไว้ เพราะบรรดาพี่น้องยาทพแห่งแคว้นทหวารกาของพระกฤษณะต่างก็ทำศึกสงครามฆ่ากันเองจนตายหมดสิ้น พลรามซึ่งเป็นพี่ชายของกฤษณะก็ตายในสงครามในหมู่พี่น้องกันเองด้วย

สำหรับพระกฤษณะนั้นแม้จะไม่ตายในระหว่างการสู้รบกันเอง แต่ก็ตายด้วยน้ำมือของพรานที่ไปล่าสัตว์เพราะสำคัญผิดคิดว่า พระกฤษณะทีนอนอยู่ใต้ต้นไม้ในป่าเป็นสัตว์ที่ตัวเองกำลังล่าอยู่
มหาภารตะ ตอนที่ 16
เรื่องราวในบรรพที่ 17 หรือ มหาปรัสถานิกถานบรรพ ว่าด้วยเรื่องของการเดินทางอันยิ่งใหญ่ซึ่งแปลมาจากคำว่า มหาปรสถานนั่นเอง

เมื่อได้เวลาอันสมควรพวกพี่น้องปาณฑพทั้งห้าก็เลิกยุ่งเกี่ยวกับความเป็นไปทางโลก ท้าวยุธษฐิระสละราชสมบัติยกให้หลานชายของอรชุน คือ เจ้าชายปริกษิตลูกของเจ้าชายอภิมันยุและเจ้าอุตตระ ซึ่งเป็นเชื้อสายพวกปาณฑพเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตรอดอยู่ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชแคว้นกุรุสืบต่อไป

บหมาที่ร่วมเดินทางไปด้วยอีกหนึ่งตัว และในที่สุดหมาที่ร่วมเดินทางไปก็ปรากฏตัวจริงให้เห็น นั่นคือธรรมเทพหรือเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมนั่นเอง

ในขณะที่พระอินทร์ด้ให้สัญญากับยุธิษฐิระเดินทางไปสวรรค์ โดยยังไม่ตายเหมือนกับคนทั่วไปว่าจะได้ไปร่วมสมทบกับพี่น้องปาณฑพคนอื่นๆ และพระนางเทราปทีในสวรรค์ในที่สุด
มหาภารตะ ตอนที่ 17
เรื่องราวในบรรพที่ 18 ซึ่งเป็นบรรพสุดท้ายคือตอนจบของมหากาพย์มหาภารตะมีชื่อเรียกว่า สวรรค์โรหณิกบรรพ ซึ่งแปลว่าบทที่ว่าด้วยการขึ้นไปสู่สวรรค์

ยุธษฐิระที่เดินทางเพื่อไปสู่สรวงสวรรค์ สามารถบรรลุถึงสวรรค์ได้ในที่สุด ที่นั่นยุธิษฐิร้ต้องแปลกใจเป็นอันมากเมื่อเห็นทุรโยธน์นั่งอยู่บนบัลลังก์ แต่กลับไม่เห็นพี่น้องปาณฑพและพระนางเทราปที ยุธิษฐิระถามว่าพวกนั้นไปไหนกัน และได้รับการชี้นำให้เดินทางไปสู่ปรโลกและได้เห็นภาพของพี่น้องปาณฑพ และพระนางเทราปทีต้องตกนรกรับผลกรรมด้วยความทุกข์ทรมานเป็นอันมาก

ยุธิษฐิระตัดสินใจที่จะอยู่ในนรกร่วมกับพี่น้องของตนไม่ยอมอยู่บนสวรรค์ มาถึงจุดนี้พระอินทร์ก็ปรากฏตัว และบอกให้ยุธิษฐิระทราบว่าภาพที่เห็นทั้งหมดนั้นเป็นเพียงมายาภาพหลอนเพื่อทดสอบความตั้งใจจริงของยุธิษฐิระเท่านั้น พร้อมกับนำตัวยุธิษฐิระขึ้นสู่สวรรค์ ที่นั่นยุธิษฐิระได้พบกับพีน้องปาณฑพที่เหลืออีกสี่คนและพระนางเทราปที และจบลงด้วยการเปิดเผยความจริงว่าพระนางเทราปทีแท้ที่จริงแล้ว เป็นอวตารของพระลักษมีพระชายาของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ส่วนบรรดาวีรบุรุษในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรแต่ละคนนั้นแท้ที่จริงแล้ว เป็นเทพองค์ใดที่จุติลงไปเกิด

เรื่องราวโดยย่นย่อแต่พิสดารพอควรของเรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะก็จบลงแต่เพียงเท่านี้
มหาภารตะ ตอนที่ 18
WYSIWYG Web Builder
หนึ่งมงคล
มหาภารตะ ตอนที่ 11- 18
โทร 097-157-4659, 061-414-5946
เก็บเรื่องมาเล่า