พระประวัติของพระบรมศาสดา

สกุลกำเนิดและปฐมวัย
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระนางสิริมายา ราชธิดาของกษัตริย์โกลิยวงค์ผู้ครองกรุงเทวทหะ พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงประสูติพระโอรส เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ (ปัจจุบัน คือ ตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล)
หลังจากประสูติ
อสีตดาบส เป็นมหาฤษีอยู่ ณ เชิงเขาหิมพานต์เป็นที่เคารพของราชสกุลได้รับ ทราบข่าวการประสูตรของพระกุมารจึงเดินทางมาเยี่ยม และได้ทำนายว่า ถ้าพระกุมารอยู่ครองฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ๕ วันหลังประสูติพระเจ้าสุทโธทนะพร้อมทั้งพระนางสิริมหามายา พระประยูรญาติได้จัดพิธีขนานพระนามพระราชกุมารว่า สิทธัตถะ โดยเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาเลี้ยง แล้วได้คัดเลือกเอาพราหมณ์ชั้นยอด ๘ คนให้เป็นผู้ทำนายลักษณะพระกุมาร เมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาก็เสด็จทิวงคต พระเจ้าสุทโธทนะ จึงมอบให้พระนางประชาบดีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระนางสิริมหามายาเป็นผู้เลี้ยงดู เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุ 8 พรรษาได้ทรงศึกษาในสำนักครูวิศวะมิตร พระองค์ทรงศึกษาได้อย่างรวดเร็ว มีความจำดีเลิศ และทรงพระปรีชาสามารถในการกีฬา ขี่ม้า ฟันดาบ และยิงธนู
อภิเศกสมรส
วัยหนุ่ม พระราชบิดาไม่ต้องการให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวช พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นองค์จักรพรรดิ จึงใช้ควาพยายามทุกวิถีทางเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ให้ประทับใน ๓ ฤดู และทรงสู่ขอพระนางโสธราพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งกรุงเทวทหะ อยู่ในตระกูลโกลิยวงค์ให้อภิเษกด้วย เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติจนพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระนางยโสาธาราก็ประสูติพระโอรส ทรงพระนามว่าราหุล
ออกบรรพชา
เสด็จออกบรรพชา เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติอย่างเหลือล้น พระองค์ก็ยังคงตริตรองถึงชีวิตคน ฝักใฝ่พระทัยคิดค้นหาวิธีทางดับทุกข์ที่มนุษย์เรามีมากมาย พระองค์คิดว่า ถ้ายังอยู่ในเพศฆราวาส พระองค์คงหาทางแก้ทุกข์ อันเกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตายไม่ได้แน่ พระองค์จึงตัดสินใจเสด็จออกบวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ สู่แม่น้ำอโนมา ณ ที่นี้พระองค์ทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตและมอบหมายเครื่องประดับและม้ากัณฐกะให้นายฉันนะนำกลับไปยังกรุงกบิลพัสดุ์
เข้าศึกษาในสำนักดาบส
การแสวงหาธรรม ระยะแรกหลังจากทรงออกบวชแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส ที่กรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธเมื่อสำเร็จการศึกษาจากสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางในการหลุดพ้นจากทุกข์ตามที่พระองค์ได้ทรงมุ่งหวังไว้พระองค์จึงลาอาฬารดาบสและอุททกดาบสเดินทางไปแถบแม่น้ำคยา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแห่งกรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธ
บำเพ็ญทุกรกิริยา
การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เองแทนที่จะทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์แล้วพระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำ เนรัญชรานั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ค้นหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ได้ พระองค์ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง จะได้มีกำลังในการคิดค้นพบวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์มาคอยปรนนิบัติรับใช้ด้วยความหวังว่า พระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการถ่ายทอดบ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษล้มเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งมหาบุรุษไปทั้งหมดเป็นผลทำให้พระมหาบุรุษได้อยู่ตามลำพังในที่สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง ปัญจวัคคีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทางกายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร
ตรัสรู้
ตรัสรู้ ตอนเช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นไทรด้วยอาการสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายทอดข้าวมธุปายาสแล้วเสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตอนเย็นวันนั้นเองพระองค์ได้กลับมายังต้นโพธิ์ที่ประทับ พบคนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะ คนหาบหญ้าได้ถวายหญ้าให้พระองค์ปูลาด ณ ใต้ต้นโพธิ์ แล้วขึ้นประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตาม ถ้ายังไม่พบธรรมวิเศษแล้วจะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ พระองค์เริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต และในที่สุดทรงชนะความลังเลพระทัย ทรงบรรลุความสำเร็จ เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็พ้นจากกิเลสทั้งปวง พระองค์ก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ปีระกาธรรมสูงส่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ประกาศพระศาสนาครั้งแรก
การแสดงปฐมเทศนา วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ (เดือน ๘) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปหาปัญจวัคคีย์  พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ธรรมจักกัปวัตนสูตร ในขณะที่ทรงแสดงธรรมนั้น ท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือ พระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสัมมสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพุทธศาสนา
การประกาศพระพุทธศาสนา
เมื่อพระองค์ มีสาวกเป็นพระอรหันต์ ๖๐ องค์ และก็ได้ออกพรรษาแล้ว ทรงพิจารณาเห็นสมควรว่าจะออกไปประกาศศาสนา ให้เป็นที่แพร่หลายได้แล้ว พระองค์จึงเรียกประชุมสาวกทั้งหมดแล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้อนจากบ่วงทั้งปวงทั้งชนิดที่เป็นทิพย์ และชนิดที่เป็นของมนุษย์แล้ว แม้ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เราทั้งหลายจงพากันจาริกไปยังชนบททั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชนเถิด อย่าไปรวมกันทางเดียวถึงสองรูปเลย จงแสดงธรรมให้งามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ เถิด จงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสเบาบางนั้นมีอยู่ เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรม ย่อมจะเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้ถึง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมคงจักมีอยู่ แม้ตัวเราก็จะไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรมเช่นกัน " พระองค์ทรงส่งสาวกออกประกาศศาสนาพร้อมกันทีเดียว ๖๐ องค์ ไป ๖๐ สาย คือ ไปกันทุกสารทิศทีเดียว แม้พระองค์เองก็ไปเหมือนกัน ไม่ใช่แต่สาวกอย่างเดียวเท่านั้น นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของบุคคลที่จะเป็นผู้นำทีเดียว
สาวกทั้ง ๖๐ องค์เมื่อได้รับพุทธบัญชาเช่นนั้นก็แยกย้ายกันไปประกาศศาสนาตามจังหวัด อำเภอ และตำบลต่างๆ ทำให้กุลบุตรในดินแดนถิ่นฐานต่าง ๆ เหล่านั้น หันมาสนใจมากเลื่อมใสมากขึ้น บางคนขอบวช แต่สาวกเหล่านั้นยังให้บวชเองไม่ได้  จึงต้องพากุลบุตรเหล่านั้นมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์บวชให้ทำให้ได้รับความลำบากในการเดินทางมาก ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้สาวกเหล่านั้นอุปสมบทกุลบุตรได้โดยโกนผมและหนวดเคราเสียก่อน แล้วจึงให้นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด นั่งคุกเข่าพนมมือกราบภิกษุแล้วเปล่งว่าจาว่า "ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ" รวม ๓ ครั้ง การอุปสมบทนี้เรียกว่า "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ อุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาณตนเป็นผู้ถึงสรณคมน์
ตั้งแต่พรรษาที่ ๑ ที่พระองค์ได้สาวกเป็นพระอรหันต์จำนวน ๖๐ องค์แล้วพระองค์ก็ได้อาศัยพระมหากรุณาคุณทำการประกาศเผยแผ่คำสอน จนได้สาวกเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นพุทธบริษัท ๔ ขึ้น อย่างแพร่หลายและมั่นคง การประกาศศาสนาของพระองค์ได้ดำเนินการไปอย่างเข้มแข็ง โดยการจาริกไปยังหมู่บ้านชนบทน้อยใหญ่ในแคว้นต่างๆ ทั่วชมพูทวีปตลอดเวลาอีก ๔๔ พรรษาคือ พรรษาที่ ๒ - ๔๕ ดังนี้
พรรษาที่ ๒ เสด็จไปยังเสนานิคมในตำบลอุรุเวลา ในระหว่างทางได้สาวกกลุ่ม ภัททวคคีย์ ๓๐ คน และที่ตำบลอุรุเวลาได้ ชฎิล ๓ พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และ คยากัสสปะ กับศิษย์ ๑,๐๐๐ คน เทศนาอาทิตตปริยายสูตร ที่คยาสีสะเสด็จไปยังราชคฤห์แห่งแควว้นมคธ กษัตริย์เสนิยะพิมพิสาร ทรงถวายสวนเวฬุวัน แด่คณะสงฆ์ ได้สารีบุตร และโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก ๒ เดือนต่อมาเสด็จไปยังกบิลพัสดุ์ ทรงพำนักที่ นิโครธาราม ได้สาวกมากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ เทวทัต และพระญาติอื่นๆ อนาถปิณฑิกะเศรษฐี อาราธนาไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ถวายสวนเชตวันแต่คณะสงฆ์ ทรงจำรรษาที่นี่
พรรษาที่ ๓ นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ ๔ ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ
พรรษาที่ ๕ โปรดพระราชบิดาจนได้บรรลุอรหัตตผล ทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำ โรหิณี ทรงบรรพชาอุปสมบทพระนางปชาบดีโคตมี และคณะเป็นภิกษุณี
พรรษาที่ ๖ ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ในกรุงสาวัตถีย์ ทรงจำพรรษาบนภูเขามังกลุบรรพต
พรรษาที่ ๗ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาเสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม
พรรษาที่ ๘ ทรงเทศนาในแคว้นภัคคะ ทรงจำพรรษาในสวนเภสกลาวัน
พรรษาที่ ๙ ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี
พรรษาที่ ๑๐ คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีแตกแยกกันอย่างรุนแรง ทรงตกเตือนไม่เชื่อฟัง จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่า ปาลิเลยยกะ มีช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา
พรรษาที่ ๑๑ เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ เอกนาลา
พรรษาที่ ๑๒ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา เกิดความอดอยากรุนแรง
พรรษาที่ ๑๓ ทรงเทศนาและจำพรรษาบน ภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๑๔ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ราหุลขอบรรพชาอุปสมบท
พรรษาที่ ๑๕ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ สุปปพุทธะถูกแผ่นินสูบเพราะขัดขวางทางโคจร
พรรษาที่ ๑๖ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่ อาลวี
พรรษาที่ ๑๗ เสด็จไปยังกรุงสวัตถี กลับมายังอาลวีและทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
พรรษาที่ ๑๘ เสด็จไปยัง อาลวี ทรงจำพรรษาบน ภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๑๙ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่บน ภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๒๐ โจร องคุลีมาลย์ กลับใจเป็นสาวก ทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์ รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ ทรงเริ่มบัญญัติวินัย
พรรษาที่ ๒๑ - ๔๔ ทรงยึดเอาเชตวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่และเป็นที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่าง ๆ โดยรอบ
พรรษาที่ ๔๕ และสุดท้าย พระเทวทัต คิดปลงพระชนม์ กลิ้งก้อนหินจนเป็นเหตุให้พระบาทห้อโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวก
ทรงปรินิพาน
การเสด็จปรินิพพาน หลังจากพระพุทธเจ้าแสดงปัจฉิมโอวาท ซึ่งวันนั้นตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) ในยามสุดท้ายของวันนั้น ณ ป่าไม้สาละ(สาลวันอุทยาน) ของกษัตริย์มัลละ กรุงกุสินารา พระองค์ได้ประทับใต้ต้นสาละคู่ หลังจากตรัสโอวาทให้แก่พระอริยสงฆ์แล้ว พระองค์มิได้ตรัสอะไรอีกแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยพระอาการสงบ ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์นักที่วันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าตรงกัน คือ วันเพ็ญเดือน ๖
พุทธปรัชญา: โลกทัศน์เกี่ยวกับโลกและชีวิตของพระพุทธศาสนา
หลักการพระพุทธศาสนา 

พุทธปรัชญา: โลกทัศน์เกี่ยวกับโลกและชีวิตของพระพุทธศาสนา

“พุทธปรัชญา” ได้แก่ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการของปรัชญา จากนิยามความหมายนี้ทำให้มองเห็นขอบเขตของพุทธปรัชญาว่าจำกัดอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่รวมไปถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เว้นเสียแต่ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จะเกี่ยวโยงกับศาสนธรรม จึงจะศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลเชิงปรัชญาด้วยเท่านั้น



ลักษณะของพุทธปรัชญา

หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้ทรงแสดงหลักธรรมให้เห็นถึงความเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผล หลักจริยธรรมที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยทรงวางหลักง่าย ๆ ของการดำเนินชีวิตเอาไว้ ซึ่งพอจะประมวลลักษณะเด่น ๆ ของพุทธปรัชญาได้ดังนี้

- หลีกเลี่ยงที่จะโต้แย้งทางปรัชญา เช่นปัญหาทางอภิปรัชญาที่เรียกว่า อัพยากตปัญหา เป็นต้น  มีจุดเริ่มต้นแบบทุนิยม (ทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้น)

- และจบลงที่สุนิยม มีลักษณะเป็นสัจจนิยมฯ กรรม คือ การกระทำด้วยตนเอง

- เป็นแบบปฏิบัตินิยม คือ  อริยสัจ ๔ มรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา  ปฏิจจสมุปบาท (กฎสากลในธรรมชาติ) เป็นต้น



พุทธปรัชญาปฏิเสธแนวคิดของปรัชญาอินเดียระบบเก่า

พุทธศาสนาให้ใช้หลักกาลามสูตร ปฏิเสธการสร้างโลกของพระพรหม มอว่าสรรพสิ่งเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ไม่เห็นด้วยกับการอาบน้ำล้างบาปและยัญพลีกรรม ไม่ยอมรับระบบวรรณะคนจะดีชั่วเพราะกรรม มิใช่ชาติตระกูล ไม่ยอมรับทางสุดโด่งทั้งสองส่วน ทรงแสดงทางสายกลาง หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาที่โดดเด่น เช่น

- ไตรลักษณ์ ทรงแสดงว่า สรรพสิ่ง ย่อมมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามหลักแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และมิใช่ตัวตนเสมอกัน ไม่มียกเว้น

- อริยสัจ ๔ ทรงแสดงว่าปัญหาทุกข์ของชีวิตทุกอย่างเกิดจากสาเหตุคือความอยาก (ตัณหา) ด้วยประการต่าง ๆ แล้วทรงแสดงว่า ความดับสนิทแห่งความทุกข์ทั้งมวล (นิโรธ) ต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ ๘ ประการ

- ปฏิจจสมุปบาท หรือทฤษฎีสาเหตุสัมพันธ์ ว่า การเกิดกับดับของสิ่งต่าง ๆ เป็นไปตามหลักปัจจยาการคือเหตุปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้นแบบลูกโซ่ ในลักษณะเป็นวงจรหาเบื้องต้นและเบื้องปลายหรือที่สุดไม่พบ ผลที่เกิดจากสาเหตุอันหนึ่ง ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดสิ่งอื่นอีกต่อไป เรื่อยไป ไม่มีสิ้นสุด

- กฎแห่งกรรม ทรงแสดงว่ากรรมคือการกระทำของมนุษย์มีแรงผลักดันมาจากกิเลสเป็นเหตุแล้วให้เกิดผล (วิบาก) ของการกระทำนั้น แล้วผลก็จะกลายเป็นเหตุให้ทำกรรมต่อไปอีก จนกว่าจะตัดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งการทำกรรมได้ วงจรแห่งกฎแห่งกรรมก็จะสิ้นสุดลง เข้าสู่ความสิ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร คือ พระนิพพาน หรือ เข้าสู่อรหันตภูมิ การกระทำจึงจะเป็นแต่เพียงกิริยาไม่มีผล (วิบาก) ที่เป็นทุกข์อีกต่อไป

- อนัตตา จากการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นตามหลักแห่งปัจจยาการ จึงไม่มีอะไรเป็นตัวตนที่แท้จริงที่จะยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวเราของเรา เป็นตัวเขาของเขา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่ตนปรารถนาได้ จึงไร้ตัวตน ไม่มีอาตมัน และวิญญาณอมตะดังที่ลัทธิเทวนิยมทั่วไปเชื่อถือกันอยู่



ความแตกต่างระหว่างพุทธปรัชญากับปรัชญาทั่วไป

ปรัชญาเป็นระบบแนวคิดใหญ่ ที่ครอบคลุมและเป็นแม่ของศาสตร์บรรดามีอีกหลายศาสตร์ เมื่อมองจากแง่นี้ พุทธปรัชญาจึงเป็นส่วนหนึ่งของปวงปรัชญา  ส่วนแนวคิดที่สอง ก็บอกว่า หากพิจารณาถึงเนื้อหาปรัชญาแล้ว จะพบว่า มีเนื้อหาปรากฏอยู่ในพุทธปรัชญาครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรัชญาทางตะวันตก  จากมุมมองทั้งสองนี้ จะเห็นว่า พุทธปรัชญากับปรัชญา มีเหมือนความเหมือนกันในฐานะเป็นระบบความคิดเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ โลก และจักรวาล  และหากจะมีความแตกต่างกันก็ตรงที่พุทธปรัชญา มีเนื้อหาที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับมนุษย์ โลก และจักรวาลดังกล่าว  เป็นการเฉพาะ  ซึ่งเนื้อหาดังกล่าว อาจจะมีทั้งส่วนเหมือนและส่วนต่างจากระบบปรัชญาอื่น ๆ บ้างก็ได้แต่จะอย่างไรก็ตาม พุทธปรัชญาและปรัชญาอื่น ๆ ต่างมีความสนใจมุ่งศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับมนุษย์ โลก และจักรวาลเช่นเดียวกัน

การใช้คำว่า “พุทธปรัชญา” จึงเป็นการใช้เรียกวิธีการศึกษาพระพุทธศาสนาในเชิงปรัชญา ที่ไม่ได้ใช้ศรัทธาความเชื่อเป็นตัวตั้ง หากแต่ใช้ความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เน้นการวิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์ ตั้งถามเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างกระจ่างชัด ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง คำว่า พุทธปรัชญา จะใช้ในบริบทแห่งการศึกษาปรัชญา ซึ่งเป็นการจัดพุทธปรัชญาเป็นระบบหนึ่งตามแนวคิดแรก

พุทธปรัชญาเป็นระบบปรัชญาอีกระบบหนึ่งในบรรดาปวงปรัชญาทั้งหลาย เหตุผลอยู่ตรงที่นิยามความหมายและลักษณะของความเป็นปรัชญา กล่าวคือ มีผู้ให้นิยามความหมายคล้ายกันว่า คำว่า ปรัชญา นั้นเป็นศัพท์ในภาษาสันสกฤษ ที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย มีความหมายว่า รอบรู้ รู้ทั่ว มีนัยแสดงให้เห็นถึงความเป็นผล คือ ความรู้รอบ คำว่าปรัชญาดังกล่าวนี้ ได้นำมาใช้เป็นคำแปลของศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Philosophy ซึ่งมีความหมายว่า รักในความรู้ หรือรักที่จะเรียนรู้ จึงมีนัยแสดงให้เห็นถึงความเป็นเหตุ นั่นหมายความว่า philosohpy นั้น เน้นที่เหตุ คือ วิธิการ กระบวนการในการแสวงหาความรู้

จะเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากความหมายตามศัพท์ของคำว่า ปรัชญา และ philosophy ดังกล่าวแล้ว ทั้งสองคำจะมีความหมายไม่ตรงกันทีเดียวนัก  แต่อย่างไรก็ตาม ในบริบทการศึกษาด้านปรัชญา ก็มีความเข้าใจถึงประเด็นนี้ดี

ความเป็นปรัชญาที่แท้จริง อยู่ที่ความสงสัยใคร่รู้ในสรรพสิ่งรอบตัวมนุษย์ แล้วไม่หยุดอยู่แค่ความสงสัยเท่านั้น หากแต่มุ่งแสวงหา ค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนสงสัยนั้น กล่าวให้ชัดขึ้น ก็คือ หากเห็นว่า เรื่องใดเป็นปัญหา แล้วสงสัยว่าทำไมจึงเกิดปัญหานั้นขึ้น และจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร จากนั้น จึงเข้าสู่กระบวนการแสวงหาคำตอบนั้น ๆ

ที่นับพุทธปรัชญาเป็นปรัชญาระบบหนึ่ง ก็ด้วยเหตุผลที่ว่านี้ เพราะจุดเริ่มต้นแห่งพุทธปรัชญาอยู่ที่ความสงสัยในความจริงของชีวิตที่เกิดขึ้นแก่เจ้าชายสิทธัตถะในขณะยังมิได้เสด็จออกผนวช กล่าวคือ ทรงเล็งเห็นถึง ความแก่ ความเจ็บ และความตายเป็นปัญหาของชีวิตมนุษย์ และได้ตั้งคำถามกับพระองค์ว่า จะหลุดพ้นจากความแก่ ความเจ็บและความตายนี้ได้อย่างไรหรือไม่ จากนั้น จึงทรงอุทิศเวลาและชีวิตเพื่อแสวงหาคำตอบที่ว่านี้จนได้คำตอบ ทั้งยังทรงค้นพบมรรคาสู่ความหลุดพ้นจากสภาวะดังกล่าวนั้นด้วย  พุทธปรัชญาจึงก่อกำเนิดขึ้น และได้รับการนำสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน

โดยนัยนี้ พุทธปรัชญาจึงเป็นปรัชญาระบบหนึ่งที่เกิดขึ้นเพราะสงสัยใคร่รู้ของเจ้าชายสิทธัตถะดังกล่าวข้างต้น



ความแตกต่างระหว่างพุทธปรัชญากับพุทธศาสนา

ทั้งพุทธปรัชญากับพุทธศาสนานั้น ต่างกันตรงที่ (๑) เป้าหมาย (๒) วิธีการ  (๓) บริบท แห่งการศึกษาพุทธศาสนาหรือการใช้คำทั้งสองนี้ในบริบทไหน

อย่างไรก็ตาม คำสำคัญที่เป็นนัยชี้บ่งถึงความแตกต่างกัน คือ คำว่า ปรัชญาและศาสนา  ดังนั้น หากจะมีความแตกต่างกันก็อยู่ที่ความหมายและลักษณะของทั้งสองคำเป็นสำคัญ

ความหมายของปรัชญา ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น แต่ยังมีลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ลักษณะของปรัชญาจะไม่ผูกขาดการนำไปใช้หรือนำไปปฏิบัติ มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ตายตัวว่า จะต้องนำความรู้ที่ค้นหาได้จากเรื่องที่สงสัยนั้น ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้เลือกว่า จะนำไปใช้หรือไม่ก็ได้ เรียกว่า ให้อิสระในการเลือกบริโภคความคิด ลักษณะทั่วไปของปรัชญาจะเป็นประมาณนี้ โดยเฉพาะปรัชญาแบบตะวันตก

ส่วนคำว่า ศาสนา หมายถึง ความสั่งสอน หรือ ชุดความรู้ชุดหนึ่ง หรือจะเรียกให้ตรงศัพท์คือ หลักความเชื่อในความรู้ชุดหนึ่ง ซึ่งศาสดาของแต่ละศาสนาค้นพบและนำมาสั่งสอน  ศาสนาจะผูกโยงอยู่กับความเชื่อ จุดเริ่มต้นของความเป็นศาสนาคือ ความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่มีปัญญาความรู้ หรือความเชื่อที่ไม่มีปัญหาก็ตาม นักศาสนาหลายคนเสนอว่า จงเชื่อแล้วจะเกิดความรู้  ดังนั้น ศาสนาจึงมีลักษณะการผูดขาดว่าจะต้องนำความรู้ที่ได้นั้นไปปฏิบัติในชีวิตจริง และต้องปฏิบัติอย่างจริงจังถึงจะได้ลิ้มรสแห่งสิ่งที่ศาสนาสอน

ดังนั้น หากมีเป้าหมายเพื่อต้องการเรียนรู้เพราะสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่เกี่ยวกับความเชื่อ ไม่มีศรัทธาในพุทธศาสนาแต่อย่างใด ก็จะเป็นการศึกษาแบบพุทธปรัชญา  และในการศึกษาแบบพุทธปรัชญา ก็จะมีวิธีการที่ต่างออกไปคือ เน้นที่การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ตั้งประเด็นเพื่ออภิปรายด้วยเหตุผล ให้กระจ่าง จากนั้น อาจไม่ได้นำไปปฏิบัติแต่อย่างใด หรืออาจนำใช้ก็ได้  หากศึกษาแบบศาสนา อาจไม่เปิดโอกาสให้ถามอะไรมาก



ลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนากับพุทธปรัชญา


แม้ว่าพุทธศาสนากับพุทธปรัชญาจะมีบ่อเกิดมาแหล่งเดียวกันคือ ประสบการณ์ของชีวิตมนุษย์ก็ตาม แต่มีลักษณะพิเศษเฉพาะอย่างตามธรรมชาติของประสบการณ์ วิธีการ และจุดหมายของแต่ละวิชา ซึ่งอาจยกมาเปรียบเทียบให้เห็นเป็นประเด็นได้ดังนี้


๑. พุทธศาสนามุ่งแสวงหาความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวิถีทางและอิทธิพลของตนที่มีต่อชีวิตและสังคมรวมทั้งการตีความหลักคำสอนต่าง ๆ พยายามตอบปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวกับชีวิต โดยการยึดหลักเอาศรัทธาเป็นหลักเป็นพื้นฐาน,ส่วนพุทธปรัชญามุ่งแสวงหาการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อพยายามเข้าใจตนเองและโลกโดยอาศัยเหตุผลเป็นหลักการและจุดยืนในการมองปัญหาต่าง ๆ


๒.พุทธปรัชญามุ่งแสวงหากฎทั่วไป ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของมนุษย์โดยทั่วไป, ส่วนปรัชญาไม่ได้มุ่งแสวงหากฎทั่วไปเหมือนวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา เป็นการแสวงหาความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานอ้นมีลักษณะเป็นนามธรรม สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิต ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามกาลเวลาและสถานที่


๓. พุทธศาสนาไม่ได้ใช้เหตุผลอย่างเดียวมาอธิบายประสบการณ์ของชีวิต แต่อาศัยความงาม อารมณ์ และความรู้ความศรัทธามาเป็นองค์ประกอบ เพื่อที่จะเข้าใจในหลักธรรมของศาสนา ส่วนพุทธปรัชญามิได้แสวงหาความชื่นชมและความงามในตัวของมันเองในการตรวจสอบ ทบทวน ไตร่ตรอง วิจารณ์ปัญหาต่าง ๆ อาจจะเกิดมีความชื่นชมและความงามควบคู่ไปด้วย


๔. พุทธศาสนามุ่งหมายที่จะต้อง”พิสูจน์” ความจริง อันเป็นคำตอบปัญหาเรื่องชีวิต ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตนในแต่ละศาสนาบางอย่างอาจจะสอดคล้องลงรอยกันกับวิธีการ กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในทุกกรณี เพราะพุทธศาสนาเป็นเรื่องความเชื่อต่อสิ่งนอกเหนือกฎเกณฑ์เหนือธรรมชาติ, แต่พุทธปรัชญาพยายามหลีกเลี่ยงการพิสูจน์ตามแบบวิทยาศาสตร์ คงมุ่งแต่ค้นคว้าหาคำตอบ คือปัญหาที่เกิดขึ้นอันอาจเป็นเพียงคำอธิบายเบื้องต้น ซึ่งอาจได้รับการพิสูจน์โดยกาลเวลาอยู่แล้ว


๕. พุทธศาสนายึดมั่นในเรื่องคุณค่า และข้อเท็จจริง ถือว่ามีมาในศาสนาเพราะทำให้การปฏิบัติตามหลักมีความหมาย แต่พุทธปรัชญามีปัญหาเรื่องคุณค่าและข้อเท็จจริงแสดงบทบาทแตกต่างกันกล่าวคือ พุทธอภิปรัชญาเกี่ยวข้องกับความจริงสูงสุด พุทธญาณวิทยาเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้ ส่วนพุทธจริยศาสตร์เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องของคุณค่า และแต่ละประเภทของปรัชญาจะเน้นบทบาทของคุณค่าไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม หากเราถือหลักการอันเป็นสากลโดยทั่วไปซึ่งเป็นธรรมชาติของระบบแนวคิดในโลกทางตะวันออกแล้ว เราก็ต้องยอมรับว่า ศาสนากับปรัชญาไม่ว่าจะเป็นศาสนาอะไร ไม่อาจแยกออกจากกันโดยเด็ดขาดได้ ทั้งศาสนาและปรัชญาต่างมีข้อเหมือนกันคือ “เป็นผลผลิตของประสบการณ์ชีวิต”



………………………………………..

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย พระมหา ทวี มหาปญฺโญ (ละลง)
พระมหา ทวี มหาปญฺโญ (ละลง)


คำบูชาพระรัตนตรัย

         อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
           
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
        พุทธัง ภควันตัง อะภิวาเทมิ.
           
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

(กราบ)

        สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
          
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;
        ธัมมัง นะนัสสามิ.
           
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.

(กราบ)

        สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
           
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;
        สังฆัง นะมามิ.
           
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.

(กราบ)
คำทำวัตรเช้า
02/02/15
คำทำวัตรเช้า
คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)
พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว,
ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพภาคนมการ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต,
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(กล่าว ๓ ครั้ง)

พุทธาภิถุติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด

โย โส ตะถาคะโต
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิท
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง, สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง
ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว,
ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ,์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัล๎ยาณัง
ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัล๎ยาณัง
ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง
ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง,
พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระพุทธคุณ)

ธัมมาภิถุติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระธรรมเถิด

โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

สังฆาภิถุติ
หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระสงฆ์เถิด

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ*
* สี่คู่คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล,
อนาคามิมรรค อนาคามิผล, อรหัตตมรรค อรหัตตผล.
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า
(กราบระลึกพระสังฆคุณ)

รตนัตตยัปปณามคาถา
(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ
สังเวคะวัตถุปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัยและบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเลเป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา,มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,
ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้, ขออุปัทวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย,
จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น

สังเวคปริกิตตนปาฐะ

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก
และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
รูปูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
เวทะนูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย, เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
อนึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย,
ส่วนมากมีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง
รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา
เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา
สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา
สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง
วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา
รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา
เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา
สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา
สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา
วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน, ดังนี้
เต (ตา) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า มะยัง โอติณณามหะ
พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา
โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ
โดยความแก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณา
เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตา
เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้

สำหรับ พระภิกษุ - สามเณรสวด

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้น
สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รห๎มะจะริยัง จะรามะ
ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พ๎รห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น, จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ

สำหรับอุบาสก, อุบาสิกา

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณังคะตา
เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,
แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ
ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง, ยะถาสะติ, ยะถาพะลัง
มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ
ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ


คำทำวัตรเย็น
02/02/15
คำทำวัตรเย็น

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม, อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)
พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว,
ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพภาคนมการ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต,
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(กล่าว ๓ ครั้ง)

พุทธานุสสติ
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า:-
อิติปิ โส ภะคะวา,
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ.
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์, ดังนี้

พุทธาภิคีติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด

พุทธ๎ะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้าจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.(๒)
บทขอให้งดโทษนี้ มิได้เป็นการล้างบาป, เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง; และคำว่าโทษในที่นี้
มิได้หมายถึงกรรม : หมายถึงโทษเพียงเล็กน้อยซึ่งเป็น“ส่วนตัว” ระหว่างกัน ที่พึงอโหสิกันได้.
การขอขมาชนิดนี้สำเร็จผลได้ ในเมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริงๆ, และเป็นเพียงศีลธรรม และสิ่งที่ควรประพฤติ.

ธัมมานุสสติ
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี*ติ. *ศัพท์ที่มีคำว่า - หี ทุกแห่งให้ออกเสียงว่า - ฮี
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน, ดังนี้.

ธัมมาภิคีติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระธรรมเถิด

ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ, คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรคผลปริยัติและนิพพาน
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า
ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม
ธัมโม ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป

สังฆานุสสติ
(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระสงฆ์เถิด

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ*
* สี่คู่คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค อนาคามิผล, อรหัตตมรรค อรหัตตผล.
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

สังฆาภิคีติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐแปดจำพวก
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิตอันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้นอันบวร
วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณัง สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า
สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์
สังโฆ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป


นะมะการะสิทธิคาถา
02/02/15
นะมะการะสิทธิคาถา
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
___________________

ใช้แทนสัมพุทเธ

โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฏโฐ สามัง วะ พุทโธ
สุคะโต วิมุตโต มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต ปาเปสิ
เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง ฯ พุทธัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ ตันเตชะสา เต ชะยะ
สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ ทัสเสสิ โลกัสสะ
วิสุทธิมัคคัง นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี สาตาวะโห สันติกะโร
สุจิณโณ ฯ ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ โมหัปปะทาลัง
อุปะสันตะทาหัง ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัมพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
สัทธัมมะเสนา สุ คะตานุโค โย โลกัสสะ ปาปูปะกิเล
สะเชตา สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ สวากขาตะธัมมัง
วิทิตัง กะโรติ ฯ สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
พุทธานุพุทธัง สะมะสีละทิฏฐิง ตันเตชะสา เต ชะยะ
สิทธิ โหตุ สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ
__________________

ขึ้นสวดมนต์สิบสองตำนาน

สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว
สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ ฯ สะมันตา จักกะวาเฬสุ
อัตรา คัจฉันตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ
สัคคะโมกขะทัง ฯ
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข
วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน
เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม
ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง
สาธะโว เม สุณันตุ ฯ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัส สะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล
อะยัมภะทันตา ฯ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
( ว่า ๓ หน )

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง
คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสา
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ
หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ
อะเสสะโต ฯ สัมพุทเธ ปัญจะปัญญาสัญจะจะตุวีสะติ สะหัส
สะเก ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ
หันตวา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ
อะเสสะโตฯ สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง สังฆัญจะ
อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ
อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

( ถ้าไม่สวด สัมพุทเธ จะสวด นะมะการะสิทธิคาถา
ซึ่งอยู่หน้าต้นแทนก็ได้ )
______________________


นะโมการะอัฏฐะกะ

นะโม อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ มะเหสิโน นะโม
อุตตะมะธัมมัสสะ สวากขาตัสเสวะ เตนิธะ นะโม มะหาสังฆัสสาปิ
วิสุทธะสีละทิฏฐิโน นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ
สาธุกัง นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ตัสสะวัตถุตตะยัสสะปิ นะโม
การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา นะโม การานุภาเวนะ
สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ
เตชะวา ฯ
( นะโมการะอัฏฐะกะนี้สวดในสมัยที่ควร )
_____________________



เริ่มมังคะละสุตตัง

เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ
โลกันตะเร วา ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุณะคะณะคะหะณัพยาวะฏา
สัพพะกาลัง เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะ กะมะเย เมรุราเช
วะสันโต สันโต สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมมัคคัง ฯ
สัพเพสุจักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน ยัง อัมเหหิ กะตัง
ปุญญัง สัพพะสัมปัตติ สาธะกัง สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา
สะมัคคา สาสะเน ระตา ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ
วิเสสะโต สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ
สัพพะทา สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน อะนีฆา
สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ
ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง จักกะ
วาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง กาลัง โกลาหะลัง
ชาตัง ยาวะ พรัหมเวสะนา ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ
สัพพะปาปะวินาสะนัง ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตา
สังขิยา นะรา เอวะมาทิคุณูเปตัง มังตะลันตัมภะณามะ เห ฯ
____________________

มังคะละสุตตัง

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ
อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา
อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิฯ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา
จะ ปูชะนียานัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ปะฏิรูปะเทสะ
วาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ
เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย
จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ
กัมมันตา เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ
ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิเอตัม
มังคะละมุตตะมัง ฯ อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ
สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา กาเลนะ
ธัมมัสสะวะนัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ ขันตี จะ โสวะจัสสะตา
สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัม
มังคะละมุตตะมัง ฯ ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ
ทัสสะนัง นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง
วิระชัง เขมัง เอตัม มังคะละมุตตะมัง ฯ เอตาทิสานิ กัตวานะ
สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง
มังคะละมุตตะมันติ ฯ
________________________



เริ่มระตะนะสุตตัง

ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะปาระมิโย
ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโยติ
สะมะติงสะ ปาระมิโย ปูเรตวา ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส
จะริยา ปัจฉิมมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง
ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง
สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง นะวะ
โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา
ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา
อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา
โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาฌัมปะฏคคัณหันติ
ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร โรคามะนุสสะ ทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง
ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
__________________________

ระตะนะสุตตัง

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ
อันตะลิกเข สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ
สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง ตัส์มา หิ ภูตา นิสาเมถะ
สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ทิวา จะ
รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัส์มา หิ เน รักขะถะ
อัปปะมัตตา ฯ ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สะเคสุ
วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
โหตุ ฯ ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สัก์ยะมุนี
สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม
ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยีสุจิงสะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง
ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย ปุคคะลา
อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต
ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ
มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง
วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ
ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยะถินทะขีโล ปะถะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะ
กัมปิโย ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ
อะเวจจะ ปัสสะติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ เย อะริยะสัจจานิ
วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เต
โหติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
โหตุ ฯ สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา
ชะหิตา ภะวันตุ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง
วาปิ ยะทัตถิกิญจิ จะตูหะปาเยหิ จะวิปปะมุตโต ฉะจาภิฐานานิ
อะภัพโพ กาตุง อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ
ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะภัพโพ โส
ตัสสะ ปะฏิฐฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ
วุตตา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัส์มิง คิมเห ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง
อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ อิทัมปิ พุทเธ
ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ วะโร
วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง
อะเทสะยิ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ
สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีระพีชา
อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป อิ
ทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวา
อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง พุทธัง
นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ สะมา คะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ
ปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ ยานีธะ ภูตานิ
สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง
เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
___________________



เริ่มกะระณียะเมตตะสุตตัง

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ
สุตโต ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง
อะภิสะเมจจะ สักโก อุชู จะ สุหุชู สุวะโจ จัสสะ
มุทุ อะนะติมานี สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ
จะ สัลละหุกะวุตติ สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะ
คัพโภ กุเลสุ อะนะ นุคิทโ ธ นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา เย เกจิ ปาณะภู
ตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ทีฆา วา เย
มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา ทิฏฐา วา
เย จะ อัทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ภูตา วา สัมภะ
เวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา นะ ปะโร ปะรัง
นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา
ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ มาตา
ยะถานิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข เอวัมปิ
สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง เมตตัญจะ
สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ
จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรังอะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง
นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง
สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญ
จะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ
วิเนยยะ เคธัง นะหิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
___________________



เริ่มขันธะปะริตตัง

สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนา
เสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ
สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ
ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
___________________

ขันธะปะริตตัง

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะระเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม จะตุปปะ
เทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง อะปา
ทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโท
หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท สัพเพ สัตตา สัพเพ
ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
มา กิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ
ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ
อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระภู มูสิกา กะตา
เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง
นะโม ภะคะวะโต นะโม สันตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
___________________



ฉัททันตะปะริตตัง

วะธิสสะเมนันติ ปะรามะสันโต กาสาวะมัททักขิ ธะชัง
อิสีนัง ทุกเขนะ ผุฏฐัสสุทะปาทิ สัญญา อะระหัทธะโช
สัพภิ อะวัชฌะรูโป สัลเลนะ วิทโธ พยะถิโตปิ สันโต
กาสาวะวัตถัมหิ มะนัง นะทุสสะยิ สะเจ อิมัง นาคะวะ
เรนะ สัจจัง มามัง วะเน พาละมิคา อะคัญฉุนติฯ
___________________



เริ่มโมระปะริตตัง

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ
สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา จิรัสสัง วายะมัน
ตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมะมันตันติ อักขาตัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

โมระปะริตตัง

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ
ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง
ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย
พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมฌม เต เม นะโม เต จะ
มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม
วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา
โมโร จะระติ เอสะนาฯ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ
หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ
รัตติง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม
เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง
กัตวา โมโร วา สะมะกัปปะยีติฯ
___________________



เริ่มวัฏฏะกะปะริตตัง

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ
เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ
สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ
มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

วัฏฏะกะปะริตตัง

อัตถิ โลเก สีละถุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา
ธัมมะพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะวัส
สายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา
สันติปาทา อะวัญจะนา มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ
เวทะ ปะฏิกกะมะ สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัช
ชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา
สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ
___________________



เริ่มธะชัคคะสุตตัง

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพู
ปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา คะณะนา นะ
จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

ธะชัคคะสุตตัง

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ
โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต
ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพยุฬ
โห อะโหสิ ฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท
เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา
มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง
อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
โส ปิหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย
ยาถะ ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง
อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ วะรุณัสสะ
หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิส
สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโล
เกยยาถะ อีสานัสสะ หิโว เทวะ ราาชัสสะ ธะชัคคัง
อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติฯ
ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะ
มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา
เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วาโส ปะหิยเยถาปิ โนปิ
ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะเหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท
อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุ ฉัมภี อุตราสี
ปะลายีติฯ อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ
ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง
วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง
สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ
ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ
สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ
กะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะ
ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว
อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา
โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถา
คะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค
วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะ
ลายีติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วตวานะ สุคะโต
อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อะรัญเญ รุกขะมูเล วา
สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง
ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะ
เชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง
สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
___________________



เริ่มอาฏานาฏิยะปะริตตัง

อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ
ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร
ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
___________________

อาฏานาฏิยะปะริตตัง

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส
สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ
เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ
วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง
ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก
ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ
สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง
กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ
ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร
เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ
ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ
สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี
การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ
ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต
ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต
ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ
ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา
มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา
สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา
มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา
สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา
เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา
ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา
มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน
ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ
พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต
สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา
ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง
ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ
ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ
ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง
ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ
นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ
สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ
วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา
โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา
เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ
เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ
เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ
ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา ธัมมะ
ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา
วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง
วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต
ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ
นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ
สุขัง พะลัง ฯ
______________________



เริ่มอังคุลิมาละปะริตตัง

ปะริตตัง ยัมภะณันตัสสะ นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
อุทะกัมปิ วินาเสติ สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง โสตถินา
คัพภะวุฏฐานัง ยัญจะ สาเธติ ตัง ขะเณ เถรัสสังคุลิมา
ลัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

อังคุลิมาละปะริตตัง

ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชา
นามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ
อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง
ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ
คัพภัสสะ ฯ ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ
สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
_________________________



เริ่มโพชฌังคะปะริตตัง

สังสาเร สังสะรันตานัง สัพพะทุกขะวินสะเน
สัตตะ ธัมเม จะ โพชฌังเค มาระเสนัปปะมัททิโน
พุชฌิตวา เยปิเม สัตตา ติภะวามุตตะกุตตะมา อะชาติง
อะชะราพยาธิง อะมะตัง นิพภะยัง คะตา เอวะมาทิคุณู
เปตัง อะเนกะคุณะสังคะหัง โอสะถัญจะ อิมัง มันตัง
โพชฌังคันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

โพชฌังคะปะริตตัง

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิโพชฌังคา จะ ตะถาปะเร สะมาธุเปกขะ
โพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
ภาวิตา พะหุลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ
จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ
สัพพะทา ฯ เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ
กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ เอกะทา
ธัมมะราชาปิ เคลัญเญ นาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
ภะณาเปตวานะ สาทะรัง สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา
วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ
สัพพะทา ฯ ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ
มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
___________________



เริ่มอะภะยะปะริตตัง

ปุญญะลาภัง มะหาเตชัง วัณณะกิตติมะหายะสัง
สัพพะสัตตะหิตัง ชาตัง ตัง สุณันตุ อะเสสะโต
อัตตัปปะระหิตัง ชาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
___________________

อะภะยะปะริตตัง

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง
คะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ
สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ
วินาสะเมนตุ ฯ
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ เทวา นุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา ทานัง
ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา ภาวะนาภิระตา
โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโสฯ
____________________



เริ่มชะยะปะริตตัง

ชะยัง เทวะมะนุสสานัง ชะโย โหตุ ปะราชิโต
มาระเสนา อะภิกกันตา สะมันตาทวาทะสะโยชะนา
ขันติเมตตา อะธิฏฐานา วิทธังเสตวานะ จักขุมา
ภะวาภะเว สังสะรันโต ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ ปะริยา
ปันนาทิโสตถานัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ พุทธะกิจจัง
วิโสเธตวา ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
___________________

ชะยะปะริตตัง

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัช
เชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ชะยันโต โพธิยา มูเล
สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ
ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิวโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนัก
ขัตตัง สุมังคะลัง ปุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุกขะโณ สุมุหุตโต
จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจารีสุปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง
ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทัก
ขิณานิ กัตวานะละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
โส อัตถะลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน อะโรโค
สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ สา อัตถะลัทธา
สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ
สัพเพหิ ญาติภิ เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา
สะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะ
ธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ภะวะตุ
สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆา
นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริต
ตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะ
ภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา
เตสัง อุปัททะเว ฯ นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะ
นิวาระณา ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ

จบสิบสองตำนานบริบูรณ์


ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง
02/02/15
ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง

........ เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง
วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะ
วัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ
นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน
คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง
อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

........ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา
คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ
มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต
สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ
เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะ
สะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

........ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ชาติปิ
ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ
โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว
ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา
นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ
กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ
ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ
อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ
สัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา
อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

........ อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทพปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญ
เญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง
อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ
นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ

........ อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ
สัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะ
สัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะ
ปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

........ อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง
ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ
ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

........ อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะ
ปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ
อาโลโก อุทะปาทิฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะ
คามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุ
ทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะ
ปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา
อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

........ ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัส
สะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว
สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ
พราหมะณิยา ปายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมา
สัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ยะโต จะ โข เม
เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง
ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง
อะโหสิ ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก
สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ
มะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ
ปัจจัญญาสิง ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ปุทะปาทิ
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ
นัพภะโวติ ฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา
ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส
มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง
อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

........ ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา
สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยังบ อิสิปะ
ตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง
อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ
วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ

........ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯจาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง
สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะ
มะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะ
วะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะ
วะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะ
ปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปาริ
สัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปะโรหิตา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโร
หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรัหมา เทวา
สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา
เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวา
นัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสา
เวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริต
ตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภา
นัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะ
มะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ
สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง
สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา
สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง
สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา
สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เอตัมภะ
คะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุต
ตะรรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะ
เณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ
วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

........ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ
พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะ
หัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อะถะโข ภะคะวา
อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ
วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญ
ญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ



คำแปลธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง โดยคุณ Amine post ไว้ที่ webboard

จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี หน้า 97 - 113ซึ่งค่อนข้างจะแปลละเอียดและคาดว่าจะเป็นบทสวดเต็ม มาให้ครับ .. ถ้าคัดลอกผิดไปบ้าง..ขออภัยด้วย..ผู้ใดพบเห็นกรุณาเสนอแก้ด้วยนะครับ ;

บทสวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ

เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )

- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )

- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )

- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )

- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์

- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์

- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

[bตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

* --------- * จบบทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร * --------- *


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก
02/02/15
ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ( คำแปลอยู่ด้านล่าง )

ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอม
ซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น
จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับ
อานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว
ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง
ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง

ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ
อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

๑.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒.
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา

๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒.
กุสะลา ธัมมา
อิติปิ โส ภะคะวา
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมายะ
นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
อา ปา มะ จุ ปะ
ที มะ สัง อัง ขุ
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
อิ สวา สุ สุ สวา อิ
กุสะลา ธัมมา
จิตติวิอัตถิ

๑๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔.
กุสะลา ธัมมา
นันทะวิวังโก
อิติ สัมมาพุทโธ
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
พรหมมาสัททะ
ปัญจะ สัตตะ
สัตตาปาระมี
อะนุตตะโร
ยะมะกะขะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕.
ตุสิตา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
ปุ ยะ ปะ กะ
ปุริสะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖.
นิมมานะระติ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗.
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
สังขาระขันโธ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘.
พรหมมา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ
นะโม ธัมมัสสะ
นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๙.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑.
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
โมกขัง คุยหะกัง
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓.
นะโม พุทธัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖.
นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗.
นะโม พุทธายะ
มะอะอุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย
นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
อุ อะมะ อาวันทา
นะโม พุทธายะ
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา


พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง


คาถาชินบัญชร
02/02/15
     คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

    พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
    ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
    ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
    ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด


    เริ่มสวด นโม 3 จบ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


   เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

            ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง
            จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

            ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
            สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

            สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
            สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

            หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
            โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

            ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
            กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

            เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
            นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว


            กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
            โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

            ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ          อุปาลี นันทะ สีวะลี
            เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา        นะลาเต ติละกา มะมะ.

            เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
            เอเตสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต ชิโนระสา
            ชะลันตา สีละเตเชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

            ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
            ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง

            ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
            อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา

            ชินา นานาวะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะ ลังกะตา
            วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

            อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
            วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

            ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
            สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.

            อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข
            ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว
            ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโฆ
            สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย
            สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.


        คำแปล
        พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
        ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
        อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

        มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

        ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
        องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
        พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
        พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

        พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
        พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

        พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
        พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

        มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
        อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

        พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
        มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

        พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
        พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

        ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
        เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
        รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

        พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
        พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

        พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
        เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

        อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
        ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
        สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

        ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
        เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
        แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
        อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
        เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

        ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
        จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
        ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

        ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
        จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
        ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
        แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ


WYSIWYG Web Builder
หนึ่งมงคล
พุทธศาสนา
โทร 097-157-4659, 061-414-5946
เก็บเรื่องมาเล่า